กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/325
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | ลักษณาพร กรุงไกรเพชร | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T08:47:26Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T08:47:26Z | |
dc.date.issued | 2550 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/325 | |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ การศึกษาเปรียบเทียบผลการมองเห็นและภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดต้อกระจกโดยเครื่องสลาย ต้อกระจกระหว่างผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่ต้องพึ่งอินซูลินและไม่เป็นเบาหวาน วิธีดําเนินการวิจัย ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่ยินยอมเข้าร่วมการวิจัย ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่มารับบริการผ่าตัดต้อกระจกโดย เครื่องสลายต้อกระจก ณ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา จํานวน 100 ราย แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินที่ไม่มีโรคทางตาที่มีผลต่อการมองเห็น จํานวน 50 ราย และกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่เป็นเบาหวานและไม่มีโรคทางตาที่มีผลต่อการมองเห็น จํานวน 50 ราย เบื้องต้น ผลงานวิจัยศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ทุนศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ 2547-2549 2 รวบรวมข้อมูลทั่วไปจากแฟ้มประวัติผู้ป่วย และติดตามบันทึกผลการมองเห็นหลัง และข้อมูล ภาวะแทรกซ้อนภายหลังจากได้รับการผ่าตัดโดยแพทย์คนเดียวกัน วิธีการเตรียมผู้ป่วย การดูแลภายหลัง การผ่าตัดแบบเดียวกัน เป็นระยะเวลา 1 ปี ผลการวิจัย ผู้ป่วยที่มาผ่าตัดต้อกระจกส่วนใหญ่เป็นเพศชายแต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ อายุผู้ป่วย ที่มาผ่าตัดพบมากช่วงอายุ 60-69 ปี อายุเฉลี่ยผู้ป่วยในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานเท่ากับ 65.3 ปี และกลุ่มที่ ไม่เป็นเบาหวานเท่ากับ 65.6ปีไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ระดับน้ําตาลในเลือดเฉลี่ย ในกลุ่มเบาหวาน เท่ากับ 122.0 มก.% และ กลุ่มที่ไม่เป็นเบาหวานเท่ากับ 105.4 มก.% ผลการมองเห็นเพิ่มขึ้นมากกว่า หรือเท่ากับ 2 แถว หลังผ่าตัด 1 ปีพบว่ากลุ่มผู้ป่วยเบาหวานและกลุ่มที่ไม่เป็นเบาหวานมีการมองเห็น เพิ่มขึ้น≥ 2 แถว คิดเป็นร้อยละ 96.0 เท่ากันทั้ง 2 กลุ่ม ผลการมองเห็น≥ 20/40 หลังผ่าตัด 1 ปีพบว่า กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานมีระดับการมองเห็นหลัง ผ่าตัดตั้งแต่ 20/40 คิดเป็นร้อยละ 72.0 และกลุ่มที่ไม่เป็น เบาหวานมีระดับการมองเห็นหลังผ่าตัดตั้งแต่ 20/40 คิดเป็นร้อยละ 80.0 พบว่าไม่มีแตกต่างกันทางสถิติ ภาวะแทรกซ้อนกลุ่มเบาหวานมีจอรับภาพบวม(ร้อยละ 16.0) ถุงหุ้มเลนส์ฉีกขาด(ร้อยละ 2.0) ถุงหุ้มเลนส์ขุ่น (ร้อยละ 2.0) การติดเชื้อในลูกตา (ร้อยละ 2.0) ต้อหินชนิดมุมเปิด (ร้อยละ 2.0) ส่วนกลุ่มที่ไม่เป็นเบาหวานที่พบคือจอรับภาพบวม(ร้อยละ 8.0) ม่านตาอักเสบ (ร้อยละ 4.0) ถุงหุ้มเลนส์ ฉีกขาด(ร้อยละ 4.0) ถุงหุ้มเลนส์ขุ่น (ร้อยละ 2.0) กระจกตาบวม (ร้อยละ 2.0) และการศึกษาภาวะ เบาหวานขึ้นจอประสาทตา พบว่าเบาหวานขึ้นจอประสาทตาเพิ่มขึ้นหลังผ่าตัด (ร้อยละ 8.0) เมื่อทดสอบ ความแตกต่างของสัดส่วนด้วยค่าไคสแคว์พบว่าไม่มีแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสําคัญ.05 จึงกล่าวได้ว่าการผ่าตัดต้อกระจกในผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่ต้องพึ่งอินซูลินและผู้ป่วยไม่เป็น เบาหวานของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา มีประสิทธิภาพไม่แตกต่างกัน แต่กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานมี โอกาสเกิดเบาหวานขึ้นจอประสาทตาชนิดไม่รุนแรงมากขึ้นร้อยละ 8 และมีโอกาสที่มีจุดรับภาพบวมเป็น 2 เท่าของกลุ่มที่ไม่เป็นเบาหวาน แต่ผลการมองเห็นหลังผ่าตัดไม่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนะ 1. ภาวะแทรกซ้อนที่พบในการผ่าตัดชนิดใช้เครื่องสลายต้อกระจกในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานและไม่ เป็นเบาหวาน คือ จอรับภาพบวม ถุงหุ้มเลนส์ฉีกขาด ถุงหุ้มเลนส์ขุ่น การติดเชื้อในลูกตาและ ต้อหิน ชนิดมุมเปิด ดังนั้นเมื่อมีการผ่าตัดควรให้การดูแลเป็นพิเศษ ดังนี้ 1.1 กรณีจอรับภาพบวม มีโอกาสเกิดขึ้นได้สําหรับคนที่เป็นเบาหวาน แต่มีมากขึ้นได้ ถ้ามีการฉีกขาดของถุงหุ้มเลนส์ขณะผ่าตัด ผู้ผ่าตัดต้องระวังไม่ให้เกิดขึ้น 1.2 กรณีถุงหุ้มเลนส์ขาด อาจเกิดจากผู้ผ่าตัดไม่ระมัดระวังหรือผู้ป่วยไม่ร่วมมือ โดยมีการกลอกตาขณะผ่าตัดทําให้การผ่าตัดทําได้ลําบาก เกิดถุงหุ้มเลนส์ขาดได้ง่ายเนื่องจากถุงหุ้มเลนส์ บางและใสมาก ดังนั้นผู้ผ่าตัดต้องระวังให้มากและผู้ป่วยต้องให้ความร่วมมือขณะผ่าตัด เพราะถ้าเกิดถุง หุ้มเลนส์ขาดแล้วมีโอกาสติดเชื้อในลูกตาหรือใส่เลนส์เทียมไม่ได้ 1.3 กรณีถุงหุ้มเลนส์ขุ่น มีโอกาสเกิดได้อยู่แล้ว แต่ถ้าไม่อยากให้มีโอกาสเกิดมาก ขึ้น ขณะทําผ่าตัดต้องฉีกถุงเลนส์ให้ได้ขนาดพอดีและไม่เหลือเศษเลนส์ค้างอยู่ 1.4 กรณีติดเชื้อในลูกตา เป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง สามารถทําให้ตาบอดได้ ปัจจัยที่ ทําให้เกิดมีทั้งตัวผู้ป่วยและผู้ผ่าตัด โดยก่อนผ่าตัดต้องแน่ใจว่าไม่มีส่วนใดของตาที่จะทําให้ติดเชื้อได้ เป็น ผลงานวิจัยศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ทุนศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ 2547-2549 3 ต้นว่า เปลือกตา เยื่อบุตาและท่อน้ําตาต้องไม่มีการอักเสบ และแพทย์ผู้ผ่าตัดต้องระวังไม่ให้มีถุงหุ้มเลนส์ ขาดขณะผ่าตัด การดูแลและแก้ไขต้องให้ทันท่วงทีผู้ป่วยจะได้ไม่เสียตาข้างนี้ไป 1.5 กรณีต้อหินชนิดมุมเปิด สามารถเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยเบาหวาน ควรระวังในการให้ยา หลังผ่าตัดที่มีสเตียรอยด์เป็นส่วนผสม ควรตรวจความดันลูกตาเป็นระยะ 2. งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบย้อนหลัง (Retrospective) อาจเกิดกลุ่มควบคุมได้ไม่สมบูรณ์ งานวิจัยครั้งต่อไปควรเป็นการวิจัยแบบไปข้างหน้า(Prospective) และควบคุมระดับน้ําตาลในเลือด โดยใช้ระดับน้ําตาลเฉลี่ยในเลือด (HbA1C) 3. ควรทําการศึกษาถึงผลของความแตกต่างในระดับเบาหวานขึ้นจอประสาทตาที่นอกจาก NPDR หรืออาจศึกษาภาวะจอประสาทตาบวมหลังผ่าตัดต้อกระจกให้ละเอียดยิ่งขึ้น การนําไปใช้ประโยชน์ 1.ใช้เป็นข้อมูลในการให้คําแนะนํา ปรึกษาต่อผู้ป่วยก่อนตัดสินใจผ่าตัดต้อกระจก 2. จัดทํา Procedure สําหรับจักษุแพทย์และผู้เกี่ยวข้อง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการลดความเสี่ยง ที่อาจเกิดกับผู้ป่วย | th_TH |
dc.description.sponsorship | ผลงานวิจัยฉบับนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา ประเภทอุดหนุนทั่วไป งบประมาณเงินรายได้ ประจำปี 2550 | en |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | ตา - - ศัลยกรรม | th_TH |
dc.subject | ตา - - โรค | th_TH |
dc.subject | ต้อกระจก - - ภาวะแทรกซ้อน - - วิจัย | th_TH |
dc.subject | ต้อกระจก - - ศัลยกรรม - - วิจัย | th_TH |
dc.title | เปรียบเทียบผลการมองเห็นและภาวะแทรกซ้อนหลังทำผ่าตัดต้อกระจกโดยเครื่องสลายต้อกระจกระหว่างผู้ป่วยเบาหวานและไม่เป็นเบาหวานของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.title.alternative | Comparison of visual acuity outcome and complication after Phacoemulsification between diabetic and non-diabetic patient at Burapha University hospital | en |
dc.type | Research | |
dc.year | 2550 | |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this study were to compare of visual acuity outcome and complication after Phacoemulsification between diabetic and non-diabetic patients at Burapha University Hospital, One hundred cataract patients with Phacoemulsification were enrolled in the study; 50 patients were Diabetic (type II) group and 50 patients were Non-diabetic group. The patients were surgery by one doctor, same pre-operative care, and operative (phacoemulsification) and post-operative care. Assessed visual acuity and complication at 1 year. Results: There were no significant differences in demographic data between the two groups. No significant in visual outcome improve> 2 lines and VA > 20/40 1 year after surgery. The complication rate in diabetic group had CME 16%, rupture PC 2%, PCO 2%; POAG 2% and 2% endophthalmitis. The non-diabetic group had CME 8%, rupture PC 4%, uveitis 4% and 2% corneal edema. Conclusions: Comparison of visual acuity outcome and complication after Phacoemulsification between diabetic and non-diabetic patients had no statistical significant between 2 groups. CME was most common complication in both groups. In diabetic group 16% and 8% in non-diabetic group. Retinopathy progression was seen 8% but visual acuity outcome was no statistical significant difference. | en |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2566_074.pdf | 2.41 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น