กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3090
ชื่อเรื่อง: | การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) บูรณาการแผนชุมชนสู่การจัดทำแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ. 2558-2560) เทศบาลตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Participatory action research (PAR) : Integrated community plan to three-year development planning (B.E.2558-2560) at Bangpra district municipality, Chonburi province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สมหมาย แจ่มกระจ่าง พีระพงษ์ สุดประเสริฐ ศรีวรรณ ยอดนิล มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การพัฒนาชุมชน - - ไทย - - ศรีราชา (ชลบุรี) การวางแผนพัฒนาระดับตำบล ชุมชน - - การวางแผน - - การมีส่วนร่วมของประชาชน วิจัยเชิงปฏิบัติการ สาขาสังคมวิทยา |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและความต้องการของชุมชน เทศบาลตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 2) เสริมสร้างชุมชนเทศบาลตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ในการพัฒนาทักษะและประสบการณ์ สามารถบูรณาการจัดทำแผนชุมชนสู่การจัดทำแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ. 2558-2560) โดยการมีส่วนร่วมอย่างสมบูรณ์ และมีแนวทางการพัฒนากิจกรรมต่าง ๆ เพื่อสร้างความเข้มแข็งและพึ่งกาตนเองได้อย่างยั่งยืน 3) ให้ประชาชนในชุมชน และบุคลากรเทศบาลตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีทักษะ และประสบการณ์ในการทำงานพัมนาชุมชนร่วมกัน พื้นที่ปฏิบัติการได้แก่ ชุมชนในเขตเทศบาลตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี จำนวน 10 ชุมชน ผลการวิจัย พบว่า ปัญหาในชุมชนมีสามระดับ ได้แก่ ระดับบุคคล ระดับครอบครัวและระดับชุมชน ด้านระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนบางพระ พบว่า ขึ้นอยู่กับการเสริมสร้างระบบธรรมาภิบาล โดยเฉพาะหลักความคุ้มค่า หลักความโปร่งใส และหลักการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงของชุมชน ซึ่งนำไปสู่ความเชื่อมั่น สรา้งความสนใจในกิจการสาธารณะ ส่วนปัจจัยความสำเร็จประกอบด้วยผู้นำท้องถิ่น แกนนำ และคณะกรรมการชุมชน และคณะกรรมการชุมชน การมีส่วนร่วมของชุมชน การมีส่วนร่วมเชิงหนุนเสริมจากเทศบาล ภาครัฐและเอกชนและ การสรา้งเครือข่ายการทำงาน ข้อเสนอแนะจากการวิจัย 1. ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคมต่าง ๆ ให้เข้มแข็งมากขึ้นโดยเฉพาะการสรา้งจิตสำนึกในการพัมนาชุมชน ด้วยการพึ่งตนเอง การจัดการกันเอง เพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน 2. ส่งเสริมการปรับทัศนคติเชิงบวกในการทำงานร่วมกัน ผ่านกระบวนการฝึกอบรมผู้นำ หรือกลวิธีอื่น ๆ |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3090 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
edusocial10n2p200_211.pdf | 168.15 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น