กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2858
ชื่อเรื่อง: | การสร้างเสริมสุขภาพในการควบคุมวัณโรค: กรณีศึกษานวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพผู้ป่วยวัณโรคโรงพยาบาลวังน้ำเย็น |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Health promotion in tuberculosis control: The case study tuberculosis patients health promoting innovation of Wong Nam Yen Hosptial |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สมสมัย รัตนกรีฑากุล สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ นิสากร กรุงไกรเพชร เจนจิรา เจริญการไกร อริสรา ฤทธิ์งาม ชรัญญากร วิริยะ ตระกูลวงศ์ ฦาชา มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การส่งเสริมสุขภาพ วัณโรค - - ผู้ป่วย - - การดูแล วัณโรค สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์กระบวนการดำเนินงานสรา้งเสริมสุขภาพผู้ป่วยวัณโรคซึ่งเป็นโครงการที่บุคลากรโรงพยาบาลวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว พัฒนาขึ้นและได้รับการยกย่องว่าเป็นนวัตกรรมที่ดีระดับประเทศ โดยใช้ยุทธศาสตร์ กฎบัตรการสร้างเสริมสุขภาพออตตาวา (Ot-tawa Charter for Health Promotion) เป้นกรอบการวิเคราะห์ ทำการศึกษากับผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการรวม 27 คน เก็บข้อมูลด้วยการสนทนากลุ่ม สัมภาษณ์แบบเจาะลึก สังเกต การประชุมกลุ่มย่อย การศึกษาจากเอกสาร ภาพถ่ายที่เกี่ยวข้อง การศึกษาข้อมูลในโรงพยาบาล องค์กรชุมชนที่เกี่ยวข้องและที่บ้านผู้ป่วย ตรวจสอบคุณภาพและความถูกต้องของข้อมูลด้วยเทคนิคการใช้ข้อมูลยืนยันจากหลายแหล่ง ทำการวิเคราะห์ ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า นวัตกรรมการดูแลผู้ป่วยวัณโรคในชื่อโครงการ "วัณโรค 4 days เอาอยู่" พัฒนาจากสภาพปัญหาของระบบบริหารผู้ป่วยวัณโรคที่โรงพยาบาลพบ ได้แก่ จำนวนผู้รับบริการที่มากขึ้น การติดเชื้อของบุคลากร และผู้ป่วยที่รับการรักษาพยายามฆ่าตัวตาย ลักษณะนวัตกรรมที่สำคัญ คือ มีการพัฒนาแนวปฏิบัติที่ลดจำนวนวันที่รับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาลเหลือเพียง 4 วัน ในแต่ละวันจะมีแนวปฏิบัติของบุคลากรทีมสุขภาพที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน รวมทั้งใช่เป็นแบบกำกับ และประเมินผลการให้บริการที่เป็นรูปธรรม มีการนำนวัตกรรมหลายอย่างร่วมให้บริการกับผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่น การส่งต่อผู้ป่วยไปยังครอบครัวและชุมชนเพื่อการดูแลต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพ ปรับระบบคิดให้เกิดความรับผิดชอบต่อการควบคุมโรคของผู้ป่วย ครอบครัว อาสาสมัคร บุคลากรสาธารณสุขทั้งในโรงพยาบาล องค์กรปกครองท้องถิ่นและชุมชนประสานงานนำกองทุนต่าง ๆ มาสนับสนุนการใช้และให้บริการอย่างเหมาะสม ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นทำให้อัตราการรักษาหายเพิ่มขึ้น อัตราการป่วยซ้ำ อัตราตายลดลง เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ครอบครัว สมาชิกในชุมชนและบุคลากรผู้ให้บริการ ผลการวิจัยเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบการรักษา ป้องกันและควบคุมดรคติดต่อที่สำคัญ ได้แก่ วัณโรค เอดส์ โรคเรื้อน ที่ต้องการการรักษาอย่างต่อเนื่องเข้มงวด โดยใช้แนวปฏิบัติที่ชัดเจน มีระบบการประสานงาน การสนับสนุนที่มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2858 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น