กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2841
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorวนิสา หะยีเซะ
dc.contributor.authorธิดารัตน์ หวังสวัสดิ์
dc.contributor.authorนุจรี ไชยมงคล
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:18:57Z
dc.date.available2019-03-25T09:18:57Z
dc.date.issued2557
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2841
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการโอบกอดร่วมกับการอ่านอัลกุรอานต่อการเจริญเติบโตของทารกเกิดก่อนกำหนด และความผูกพันรักใคร่ระหว่างมารดา-ทารก กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง เป็นมารดาและทารกเกิดก่อนกำหนด จำนวน 40 คู่ ที่รับไว้ดูแลในหน่วยอภิบาลทารกแรกเกิดตั้งแต่แรกคลอดในโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ จังหวัดนราธิวาส แบ่งออกเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มควบคุม จำนวน 20 คู่ ได้รับการพยาบาลตามปกติ และกลุ่มทดลอง จำนวน 20 คู่ ได้รับโปรแกรมการทดลองโดยมารดาทำการโอบกอดทารกร่วมกับการอ่านอัลกุรอาน อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ๆ ละ 15-20 นาที เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความผูกพันรักใคร่ระหว่างมารดา-ทารกที่ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิอัลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ .93 และแบบบันทึกการเจริญเติบโตของทารก ประกอบด้วย น้ำหนักตัว ความยาวลำตัว และความยาวรอบศีรษะ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนความผูกพันรักใคร่ ระหว่างมารดา-ทารกสูงกว่าในกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 26.47, p < .001) คะแนนความผูกพันรักใคร่ระหว่างมารดา-ทารกภายในกลุ่มทดลองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 23.97, p < .001) ภายหลังการทดลอง ทารกในกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้นกว่าทารกในกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 4.41, p < .001) อย่างไรก็ดี ค่าเฉลี่ยความยาวลำตัว และความยาวรอบศีรษะของทารกระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่มีความแตกต่างกัน (p > 0.15) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการโอบกอดร่วมกับการอ่านอัลกุรอานของมารดามุสลิมมีประสิทธิภาพ ดังนั้น พยาบาลและผู้มีหน้าที่ในการดูแลสุขภาพมารดาและทารกคลอดก่อนกำหนด ควรนำโปรแกรมนี้ไปใช้ โดยเฉพาะกับครอบครัวชาวมุสลิมเพื่อเป็นการส่งเสริมความผูกพันรักใคร่ระหว่างมารดา-ทารก และช่วยให้ทารกคลอดก่อนกำหนดมีน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้นด้วยth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.subjectการกอดth_TH
dc.subjectกุรอานth_TH
dc.subjectทารกคลอดก่อนกำหนด - - การเจริญเติบโตth_TH
dc.subjectมารดาและทารกth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.titleผลของโปรแกรมการโอบกอดร่วมกับการอ่านอัลกุรอานของมารดามุสลิมต่อการเจริญเติบโตของทารกคลอดก่อนกำหนดและความผูกพันรักใคร่ระหว่างมารดา-ทารกth_TH
dc.title.alternativeEffects of the cuddle program in conjunction with reading Al-Quran of Muslim mothers on growth of preterm infants and mother-infant attachmenten
dc.typeบทความวารสารth_TH
dc.issue2
dc.volume22
dc.year2557
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to determine effects of the cuddle program in conjunction with reading Al-Quran of Muslim mothers on growth of preterm infants and mother-infant attachment. Purposive sampling was used to recruit the sample, which included 40 dyads of mothers and their preterm infants admitted since first-birth to the Neonatal Intensive Care Unit of Princess of the Naradhiwas hospital, Narathiwas province, The sample was divided into two groups of 20 dyads of the control group receiving usual nursing care, and the rest of 20 dyads of the experimental group receiving the intervention program of mothers’ cuddle in conjunction with reading Al-Quran for their infants at least once daily about 10-20 minutes for 4 weeks. Research instruments consisted of the demographic questionnaire, the maternal-infant attachment questionnaire with its Cronbach’s alpha coefficient of .93, and the record form of the infant growth, including body weight, length and head circumference. Data were analyzed by using descriptive statistics and t-test. The results revealed that after the intervention, mean score of mother-infant attachment of the experimental group was significantly higher than those in the control group (t = 26.47, p < .001). Mean score of mother-infant attachment within the experimental group, after receiving the intervention, was significantly higher than before the intervention (t = 23.97, p < .001). After the intervention, body weight of infants in the experimental group was increasing more than infants in the control group (t = 4.41, p < .001). However, body length and head circumference of infants between the experimental and the control groups were not significantly difference (p > .05). These findings suggest that the cuddle program in conjunction with reading Al-Quran of Muslim mothers was effective. Nurses and related health-care personnel, who are responsible for caring of health of mother and preterm infant should obtain this intervention for applying in the practice, especially with the Muslim family, to promote maternal-infant attachment and to increase infant body weighten
dc.journalวารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา = Journal of faculty of nursing Burapha University
dc.page39-51.
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
39-51.pdf1.28 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น