กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2840
ชื่อเรื่อง: | อยู่กับภาวะทุกข์: ปัญหาจิตสังคมเบื้องต้นที่ปิดกั้นความรู้สึกของการเป็นมารดาในนักเรียนที่ตั้งครรภ์ไม่ได้ตั้งใจ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Living with suffering: The basic social psychological problem to discourage sense of being as a mother of unintended pregnant students |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วรรณี เดียวอิศเรศ กนกนุช ชื่นเลิศสกุล บุญมี ภูด่านงัว มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การเป็นมารดา ครรภ์ในวัยรุ่น ครรภ์ไม่พึงประสงค์ มารดาวัยรุ่น - - จิตวิทยา สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
วันที่เผยแพร่: | 2557 |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายกระบวนการของการเป็นมารดาในนักเรียนที่ตั้งครรภ์ไม่ได้ตั้งใจ นับตั้งแต่รับรู้ว่าตั้งครรภ์จนถึงระยะ 4 เดือนหลังคลอด ด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแบบทฤษฎีพื้นฐาน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก พร้อมกับการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการเปรียบเทียบตลอดเวลาและการให้รหัส จนกระทั่งทฤษฎีพื้นฐานที่ได้มีความอิ่มตัว ตามหลักการเลือกตัวอย่างเชิงทฤษฎี นับจำนวนผู้ให้ข้อมูลทั้งหมดรวม 22 คน ผลการศึกษาแสดงให้เห็นกระบวนการ “ปรับเปลี่ยนตนเองเพื่อเป็นแม่” ของนักเรียนที่ตั้งครรภ์ไม่ได้ตั้งใจ ทั้งนี้ ก่อนกระบวนการดังกล่าวจะเกิดขึ้น ผู้ให้ข้อมูลจะเผชิญการสูญเสียสภาวะเดิมของชีวิตและอยู่กับภาวะทุกข์ เพราะไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงและสูญเสียสภาวะเดิมก่อนตั้งครรภ์ การอยู่กับภาวะทุกข์เป็นปัญหาจิตสังคมเบื้องต้นที่นำไปสู่การปิดกั้นความรู้สึกของการเป็นมารดา ประกอบด้วย 1) ชีวิตเผชิญกับภาวะบีบคั้นทางจิตใจ ได้แก่ ความรู้สึกสูญเสียและความรู้สึกกลัว เผชิญกับภาวะขัดแย้ง สองจิตสองใจ เครียดต่อสิ่งที่ไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ รู้สึกผิดต่อบุคคลสำคัญในชีวิตเพราะทำหน้าที่ลูกบกพร่อง และเผชิญกับความรู้สึกอาย และ 2) ความรู้สึกของการเป็นมารดาถูกปิดกั้น ผลการศึกษาที่ได้ สามารถใช้เป็นแนวทางให้ความช่วยเหลือสนับสนุนเพื่อบรรเทาภาวะบีบคั้นทางจิตใจ พยาบาลสามารถส่งเสริมให้นักเรียนที่ตั้งครรภ์ไม่ได้ตั้งใจเกิดความรู้สึกของการเป็นมารดาโดยเร็วร่วมกับสร้างความมั่นใจในการเข้าสู่สภาวะใหม่ของชีวิตแก่นักเรียนที่กำลังเผชิญสถานการณ์นี้ได้ The purpose of this study was to explain the process of being a mother of unintended pregnant students, from their awareness of pregnant until four month after childbirth. Grounded theory method was used in this study. The gathering data was employed in-depth interviews in accordance and data analysis was done using the constant comparative method and coding, until the grounded theory became saturate with the principles of theoretical sampling from a total of 22 participants. The study revealed the self transformation process “to be a mother” of those students, who become unintended pregnant. However, before the self transformation process “to be a mother” starts, participants expressed that they were forced to live with suffering and confusion state of mind; because they do not want to change, and or to lose their original living state. Living with suffering was emerged as the basic social psychological problem leads to close the sense of being a mother. The participant expressed their suffering included: 1) they lives have been plagued with economic mental strangulation that maybe caused by the feeling of lose, fear, conflicts, ambivalence, stressed, depressed, worry about they future, feel guilty, shameful, brings humiliation to themselves and their family. 2) to keep distance from sense of being a mother. The findings suggest that health care delivery should focusing on elimination of stress among unintended pregnant students is necessary. As well the nurses should encouraged unintended pregnant students, to sense of being a mother quickly and to ensure them with confident move to be new being as a mother. |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2840 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น