กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2839
ชื่อเรื่อง: ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของมารดาต่อความสามารถในการดูแลบุตรที่มีภาวะชักจากไข้สูง
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บงกช นิลอ่อน
ยุนี พงศ์จตุรวิทย์
นุจรี ไชยมงคล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: การชัก
ผู้ป่วยเด็ก - - การดูแล
มารดาและบุตร
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
เด็ก - - การดูแล
วันที่เผยแพร่: 2557
บทคัดย่อ: การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของมารดาต่อความสามารถในการดูแลบุตรที่มีภาวะชักจากไข้สูง กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาของเด็กป่วยที่มีอายุระหว่าง 6 เดือนถึง 5 ปี ซึ่งป่วยด้วยภาวะชักจากไข้สูงที่เข้ารับการรักษาในหอ ผู้ป่วยกุมารเวชกรรม 1 โรงพยาบาลชลบุรี จำนวน 40 ราย เก็บข้อมูลระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2555 ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2556 โดยการสุ่มตัวอย่างแบบจำแนกกลุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 20 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลบุตรที่มีภาวะชักจากไข้สูง และกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย โปรแกรมการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลบุตรที่มีภาวะชักจากไข้สูง แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบสอบถามความสามารถของมารดาในการดูแลบุตรที่มีภาวะชักจากไข้สูง ซึ่งมีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .83 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า มารดาในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการดูแลบุตรที่มีภาวะชักจากไข้สูงหลังสิ้นสุดการทดลองทันทีสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t19 = 39.16, p < .001) และภายหลังสิ้นสุดการทดลอง 1 สัปดาห์ มารดามีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการดูแลบุตรที่มีภาวะชักจากไข้สูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t19 = 42.22, p < .001) และคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการดูแลบุตรที่มีภาวะชักจากไข้สูงของมารดาในกลุ่มทดลองภายหลังสิ้นสุดการทดลองทันที และภายหลังสิ้นสุดการทดลอง 1 สัปดาห์ สูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t38 = 29.48, p < .001 และ t38 = 36.35, p < .001 ตามลำดับ) จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลและบุคลากรด้านสุขภาพควรนำโปรแกรมการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของมารดาไปใช้ในการพยาบาลบุตรป่วยเพื่อช่วยส่งเสริมให้มารดามีความรู้ความเข้าใจ เสริมทักษะในการดูแล และสร้างความมั่นใจในการดูแลบุตรที่มีภาวะชักจากไข้สูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2839
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
29-41.pdf1.26 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น