กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2834
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorบุญญาภา โพธิ์เกษม
dc.contributor.authorนุจรี ไชยมงคล
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:18:56Z
dc.date.available2019-03-25T09:18:56Z
dc.date.issued2557
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2834
dc.description.abstractการวิจัยเชิงหาความสัมพันธ์และทำนายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสุขในการทำงานของอาจารย์พยาบาล ความสัมพันธ์และปัจจัยทำนายความสุขในการทำงานของอาจารย์พยาบาล กลุ่มตัวอย่าง คือ อาจารย์พยาบาลมหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกของประเทศไทย จำนวน 97 ราย คัดเลือก กลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นโดยใช้สัดส่วนเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2556 เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามการรับรู้ต่อการบริหารงานด้านทรัพยากรบุคคล และแบบสอบถามความสุขในการทำงานของอาจารย์พยาบาลมีค่าความเชื่อมั่นของแอลฟ่าครอนบาค เท่ากับ .94 และ .87 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของพอยท์ไบซีเรียลและเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนความสุขในการทำงานโดยภาพรวมเท่ากับ 63.50 (S.D. = 6.48, range = 45-75) ความสุขทางใจเท่ากับ 21.85 (S.D. = 2.55, range = 15-25) ความสุขทางกาย เท่ากับ 20.69 (S.D. = 2.41, range = 15-25) และความสุขทางสังคมเท่ากับ 20.96 (S.D. = 2.53, range = 15-25) การรับรู้ต่อการบริหารงานด้านทรัพยากรบุคคลมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขในการทำงานของอาจารย์พยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .496, p < .001) และการรับรู้ต่อการบริหารงานด้านทรัพยากรบุคคลเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุข ในการทำงานของอาจารย์พยาบาลมากที่สุด ทำนายได้ร้อยละ 24.6 (t = 5.567, p < .001) และอายุ (> 40 ปี)เป็นอีกปัจจัยอีกที่มีอำนาจทำนายร้อยละ 3.5 (t = 2.118, p< .05) และปัจจัยทั้งสองสามารถร่วมกันทำนายความสุขในการทำงานของอาจารย์พยาบาลได้ ร้อยละ 28.1 (F2,95 = 18.167, p < .001) ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า การรับรู้ต่อการบริหารงานด้านทรัพยากรบุคคลส่งผลทางบวกต่อความสุขในการทำงาน ดังนั้น ผู้บริหารควรส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์พยาบาลมีการรับรู้การบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้มากยิ่งขึ้น เพื่อส่งผลให้ทำงานอย่างมีความสุขและอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของอาจารย์พยาบาลให้ดีขึ้นด้วยth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.subjectการทำงานth_TH
dc.subjectการบริหารงานบุคคลth_TH
dc.subjectความสุขth_TH
dc.subjectสาขาสังคมวิทยาth_TH
dc.titleปัจจัยทำนายความสุขในการทำงานของอาจารย์พยาบาลth_TH
dc.title.alternativeFactors predicting happiness in work of nursing faculties
dc.typeบทความวารสารth_TH
dc.issue4
dc.volume22
dc.year2557
dc.description.abstractalternativeThis correlational and predictive research aimed to examine work happiness of nursing faculties and to determine associated and predicting factors of work happiness of nursing faculties. Proportion stratified sampling was used to recruit a sample of 97 nursing faculties working at universities in the eastern region of Thailand. Data were collected from April to May 2013. Research instruments consisted of the demographic information, the perception of administrative human resource management questionnaire and the nursing instructor’s work happiness questionnaire. Their Cronbach’s alpha reliabilities were .94 and .87, respectively. Data were analyzed by using descriptive statistics, point biserial and Pearson’s correlation coefficients, and stepwise multiple regression analysis. Results revealed that the sample had total mean scores of work happiness of 63.50 (SD. = 6.48, range = 45-75). When considering each dimension, mean score of the mind comfortableness was 21.85 (SD. = 2.55, range = 15-25), mean score of the physical pleasure was 20.69 (SD. = 2.41, range = 15-25) and mean score of the social happiness was 20.96 (SD. = 2.53, range = 15-25). There was a positively statistical significant association between perceived administrative human resource management and work happiness (r = .496, p < .001). Perception of administrative human resource management is the best and significant predictor of work happiness of nursing faculties accounted for 24.6% (t= 5.567, p < .001). The next best predictor was age (> 40 year), and increasing accounted for 3.5% (t = 2.118, p < .05). Both predictors accounted 28.1% (F2,95 = 18.167, p < .001) in the prediction of work happiness of nursing instructors. These findings indicate that perception of administrative human resource management would have positive influence on work happiness. As a result, administrators should promote and enhance perception of human resource management for the consequence of work happiness among nursing faculties. In addition, it would have better effectiveness of nursing facultiesen
dc.journalวารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา = Journal of faculty of nursing Burapha University
dc.page13-24.
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
nus22n4p13-24.pdf1.22 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น