กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2822
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | วณิตา ขวัญสำราญ | |
dc.contributor.author | อารีรัตน์ งามทิพยพันธุ์ | |
dc.contributor.author | นุจรี ไชยมงคล | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T09:18:55Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T09:18:55Z | |
dc.date.issued | 2558 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2822 | |
dc.description.abstract | การวิจัยแบบพรรณนาเชิงเปรียบเทียบครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการได้มีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการดูแลเด็กปากแหว่ง-เพดานโหว่ที่ได้รับการผ่าตัดขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและเปรียบเทียบความแตกต่างของการมีส่วนร่วมและความต้องการมีส่วนร่วมในการดูแลเด็กของผู้ปกครอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ปกครองของเด็กปากแหว่ง-เพดานโหว่ที่ได้รับการผ่าตัดและรับไว้เป็นผู้ป่วยในหอผู้ป่วยศัลยกรรมเด็กโรงพยาบาลชลบุรี คัดเลือกโดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายจำนวน 50 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองที่ได้ดูแลจริง และแบบสอบถามความต้องการการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .87 และ .89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พิสัย และการทดสอบทีแบบสองกลุ่มไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วม และความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการดูแลเด็กปากแหว่ง-เพดานโหว่ที่ได้รับการผ่าตัด ขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลโดยภาพรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -4.29, p< .01) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าผู้ปกครองมีความต้องการที่จะมี ส่วนร่วมดูแลด้านกิจกรรมการพยาบาล และด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารมากกว่าการได้ดูแลจริงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -2.69, p< .01 และ t = -3.18, p< .01 ตามลำดับ) ส่วนด้านกิจกรรมที่ทำเป็นประจำไม่มีความแตกต่างกัน (p> .05) ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า พยาบาลที่ดูแลเด็กปากแหว่ง-เพดานโหว่ที่ได้รับการผ่าตัดขณะอยู่ในโรงพยาบาล ควรต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและส่งเสริมให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการดูแลเด็กได้อย่างเหมาะสมทั้งการมีส่วนร่วม และความต้องการมีส่วนร่วมในการดูแลเด็กโดยเฉพาะด้านกิจกรรมการพยาบาล ด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และด้านการตัดสินใจ | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.subject | การดูแลหลังศัลยกรรม | th_TH |
dc.subject | การมีส่วนร่วมของบิดามารดา | th_TH |
dc.subject | ปากแหว่ง | th_TH |
dc.subject | เพดานโหว่ | th_TH |
dc.subject | เด็ก - - การดูแล | th_TH |
dc.subject | สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ | th_TH |
dc.title | การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการดูแลเด็กปากแหว่ง-เพดานโหว่ ที่ได้รับการผ่าตัดขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล | th_TH |
dc.title.alternative | Parent participation in caring for hospitalized children after Cleft Lip-Cleft Palate repair | en |
dc.type | บทความวารสาร | th_TH |
dc.issue | 2 | |
dc.volume | 23 | |
dc.year | 2558 | |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this comparative descriptive research were to describe parent participation in caring for hospitalized children after clef lip-cleft palate repair and compare the differences between actual and preferred parent participation. Random sample included 50 parents of children after cleft lip-cleft palate repair, who were admitted in a Pediatric surgical ward at Chonburi hospital. Research instruments included a demographic questionnaire, the actual parent participation questionnaire and the preferred parent participation questionnaire, of which their internal consistency reliability were .87 and .89, respectively. Data were analyzed by using frequency, percent, standard deviation, range and pair t-test. Results revealed that overall mean scores of actual participation and preferred participation in parent who cared for hospitalized children after clef lip-cleft palate repair were significantly difference (t = -4.29, p< .01). When considering each subscale, parents had preferred participation of technical care and information sharing more than actual participation, and had actual participation of decision making more than preferred participation (t= -2.69, p< .01, and t = -3.18, p< .01, respectively). There was no significantly difference of routine care between actual and preferred participation (p> .05). These findings suggest that nurses who provide care for hospitalized children after cleft lip-cleft palate repair should be aware of participation of the parents, and enhance appropriateness of the parent participation in caring for the children for both actual and preferred, especially in technical care, information sharing and decision making | en |
dc.journal | วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา = Journal of faculty of nursing Burapha University | |
dc.page | 20-30. | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น