กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2821
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับรูปแบบการดูแลโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ในผู้สูงอายุ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | A systematic review of type 2 diabetic care intervention among elderly people |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กาญจนา พิบูลย์ วัลลภ ใจดี เกษม ใช้คล่องกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา |
คำสำคัญ: | การทบทวนอย่างเป็นระบบ (วิจัยทางการแพทย์) เบาหวาน - - ผู้ป่วย - - การดูแล สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ เบาหวานในผู้สูงอายุ |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
บทคัดย่อ: | การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบการดูแลโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และประสิทธิผลของรูปแบบการดูแลโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของผู้สูงอายุในประเทศไทย โดยการสืบค้นจากแหล่งข้อมูลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 ถึง พ.ศ. 2556 ทั้งที่เป็นงานวิจัยแบบทดลองและแบบกึ่งทดลองจำนวน 38 เรื่อง วิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัยด้วยข้อมูลสถิติพรรณนา วิเคราะห์ประสิทธิผลของผลลัพธ์ของรูปแบบการดูแลด้วยสถิติweighted mean difference และการสรุปเชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า มีรูปแบบการดูแลโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของผู้สูงอายุได้ 2 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบการดูแลที่เป็นโปรแกรมที่เน้นการส่งเสริมการดูแลตนเอง การกำกับตนเอง การส่งเสริมสมรรถนะ การส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการจัดการตนเองโดยเป็นกิจกรรมที่มีการติดตามอย่างต่อเนื่อง มีจำนวนทั้งหมด 28 เรื่อง และโปรแกรมการส่งเสริมการดูแลเฉพาะเรื่อง จำนวน 10 เรื่อง ซึ่งโปรแกรมการส่งเสริมการดูแลเฉพาะเรื่องที่พบในการศึกษาครั้งนี้จุดเน้นเรื่องการให้ความรู้ การให้คำปรึกษา และการออกกำลังกายหรือการเคลื่อนไหว สำหรับประสิทธิผลของผลลัพธ์ของทั้งสองรูปแบบส่วนใหญ่สามารถลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือดทั้งระดับน้ำตาลสะสมที่เกาะติดเม็ดเลือดแดงและระดับน้ำตาลในเลือดหลังงดน้ำงดอาหาร 8 ชั่วโมงได้ โดยประสิทธิผลของรูปแบบการส่งเสริมกิจกรรมการออกกำลังกายหรือการเคลื่อนไหวซึ่งเป็นรูปแบบการส่งเสริมการดูแลควบคุมโรคเฉพาะเรื่องมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของค่าระดับน้ำตาลสะสมที่เกาะติดเม็ดเลือดแดงอย่างมีนัยสำคัญ ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นแนวทางที่บุคลากรทางการแพทย์สามารถนำรูปแบบการดูแลโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ไปใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้สูงอายุได้อย่างมีหลักฐานเชิงประจักษ์ อย่างไรก็ตามพบว่างานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบการดูแลโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของผู้สูงอายุนั้นมีความหลากหลายของวิธีการดำเนินการที่ใช้ในการศึกษาจึงมีงานวิจัยไม่มากพอที่จะสรุปถึงรูปแบบที่มีประสิทธิผลได้ ดังนั้น ควรนำรูปแบบการดูแลโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มาทำการวิจัยซ้ำเพื่อเป็นการประเมินประสิทธิผลของการศึกษาเพื่อให้ได้รูปแบบการดูแลโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2821 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น