กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2743
ชื่อเรื่อง: | การสื่อสารของบุตรสาวกับมารดาเกี่ยวกับความเสี่ยงทางเพศ และปัจจัยด้านจิตสังคมที่มีความสัมพันธ์กับการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนหญิง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Mother-daughter sexual risk communication and psychosocial factors related to sexual experience among female students |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์ พรนภา หอมสินธุ์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การสื่อสาร วัยรุ่นหญิง - - พฤติกรรมทางเพศ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพศสัมพันธ์ |
วันที่เผยแพร่: | 2557 |
บทคัดย่อ: | การศึกษาเชิงภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการสื่อสารของบุตรสาวกับมารดาเกี่ยวกับความเสี่ยงทางเพศและพฤติกรรมทางเพศในนักเรียนหญิง และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารเรื่องเพศระหว่างบุตรสาวกับมารดา ปัจจัยด้านจิตสังคมกับการมีเพศสัมพันธ์ การสำรวจนี้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่ตอบด้วยตนเองจากนักเรียนหญิงอายุระหว่าง 15-18 ปี จำนวน 550 คน พื้นที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย และวิทยาลัยอาชีวศึกษาของรัฐบาล ในจังหวัดชลบุรี เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสอบถามการสื่อสารของบุตรกับมารดาเกี่ยวกับความเสี่ยงทางเพศ แบบสอบถามทัศนคติและความเชื่อเกี่ยวกับความเสี่ยงทางเพศ แบบสอบถามการรับรู้ในความสามารถของตนเองในการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย และแบบวัดพฤติกรรมทางเพศ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การหาความสัมพันธ์ของเพียร์สันและสถิติถดถอยลอจิสติกส์แบบหลายตัวแปรร่วม (Multiple logistic regression) ผลการศึกษา พบว่า วัยรุ่นรับรู้ว่ามารดาของตนมีความถี่และความสะดวกใจในการพูดคุยเรื่องกับตนเองอยู่ในระดับค่อนข้างตํ่า ร้อยละ 29 ของวัยรุ่นหญิงตอบว่าเคยมีประสบการณ์มีเพศสัมพันธ์แล้ว การวิเคราะห์หลายปัจจัยร่วม พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลมากที่สุดต่อการมีเพศสัมพันธ์คือ ความตั้งใจในการมีเพศสัมพันธ์ (AOR = 14.75, 95% CI = 8.61-25.27 รองลงมาคือ การรับรู้การมีเพศสัมพันธ์ของเพื่อน (AOR 2.51, 95% CI = 1.51-4.17) การรับรู้ความสามารถในการปฏิเสธ การมีเพศสัมพันธ์ (AOR 2.34, 95% CI = 1.41-3.89) และความไม่สะดวกใจในการพูดคุยมีอิทธิพลต่อการมีเพศสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (AOR = 1.65, 95% CI = 1.00-2.74) ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าบุคคลากรทางสาธารณสุขควรมีบทบาทในการอบรมทักษะชีวิตในการปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์ การปรับเปลี่ยนบรรทัดฐานทางสังคมของวัยรุ่นเกี่ยวกับการเริ่มมีเพศสัมพันธ์ และส่งเสริมให้มารดามีการสื่อสารเรื่องเพศกับบุตรสาววัยรุ่นมากขึ้น |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2743 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
pubh9n2p33-44.pdf | 1.18 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น