กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2737
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ | |
dc.contributor.author | เยาวเรศ ก้านมะลิ | |
dc.contributor.author | อรัญ ซุยกระเดื่อง | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T09:18:48Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T09:18:48Z | |
dc.date.issued | 2557 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2737 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับแนวคิดการดูแลอย่างเอื้ออาทรในวิชาชีพพยาบาล พัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมพยาบาลจบใหม่ โดยบูรณาการความฉลาดทางอารมณ์ในการดูแลอย่างเอื้ออาทร นำหลักสูตรฝึกอบรมไปใช้และศึกษาพฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทรที่เกิดขึ้น ดำเนินการโดยใช้กระบวนการการวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน 1) การวิเคราะห์และสังเคราะห์แนวคิดการดูแลอย่างเอื้ออาทรในวิชาชีพพยาบาล โดยใช้วิธีวิจัยแบบอีดีเอฟอาร์ (EDFR: Ethnographic Delphi Future Research) จากการทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างกับผู้เชี่ยวชาญ พยาบาล ผู้ป่วย และญาติผู้ป่วย จำนวน 7 คน และการพิจารณาเพื่อคัดเลือกการแสดงออกถึงพฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทร และแนวทางการส่งเสริมให้พยาบาลจบใหม่มีพฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทรของผู้เชี่ยวชาญด้วยเทคนิคเดลฟาย จำนวน 18 คน ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์นำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและจัดกลุ่มข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมด้วยเทคนิคเดลฟายรอบที่ 1 นำมาสังเคราะห์เนื้อหา พร้อมทั้งเพิ่มเติม แก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ ส่วนข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมด้วยเทคนิคเดลฟายรอบที่ 2 และ 3 นำมาวิเคราะห์โดยการคำนวณหามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ของแต่ละพฤติกรรมและหาฉันทามติ 2) การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมโดยบูรณาการความฉลาดทางอารมณ์ในการดูแลอย่างเอื้ออาทร และทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมกับพยาบาลวิชาชีพจบใหม่ที่เริ่มปฏิบัติงานในโรงพยาบาลต่าง ๆ ของจังหวัดกาฬสินธุ์ ปีงบประมาณ 2555 จำนวน 30 คน ข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบความเหมาะสมของหลักสูตรฝึกอบรม นำมาคำนวณหาค่าเฉลี่ย ข้อมูลที่ได้จาการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาของหลักสูตรฝึกอบรม และแบบวัดพฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทรของพยาบาลจบใหม่ คำนวณหาค่าดัชนี ความสอดคล้อง และ 3) การนำหลักสูตรฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้นไปใช้จริงกับพยาบาลวิชาชีพจบใหม่ที่เริ่มปฏิบัติงานในโรงพยาบาลต่าง ๆ ของจังหวัดกาฬสินธุ์ปีงบประมาณ 2556 จำนวน 30 คน และศึกษาผลที่เกิดขึ้น ข้อมูลที่ได้จากการตอบแบบวัดพฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทรของพยาบาลจบใหม่ นำมาหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของพฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทรของพยาบาลจบใหม่ วิเคราะห์ผลจากการฝึกอบรมโดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของพฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทรของพยาบาลจบใหม่ และวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทรของพยาบาลจบใหม่ประเมินตนเอง และพยาบาลพี่เลี้ยงประเมินพยาบาลจบใหม่ก่อนการฝึกอบรมกับหลังสิ้นสุดการฝึกอบรมทันที โดยใช้สถิติ dependent samples t-test ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์นำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรม การดูแลอย่างเอื้ออาทรมีองค์ประกอบ 6 ด้าน คือ ความมีเมตตากรุณา การเข้าใจ เห็นคุณค่า และเคารพในศักดิ์ศรี ของความเป็นมนุษย์ การมีสัมพันธภาพที่เอื้ออาทรเชิงวิชาชีพ การมีความสามารถเชิงวิชาชีพ การมีจริยธรรมเชิงวิชาชีพ และการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม 2) โครงสร้างของหลักสูตรฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 5 หน่วยการเรียนรู้ คือ กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์และแรงบันดาลใจ การตระหนักรู้อารมณ์ตนเองกับการดูแลอย่างเอื้ออาทร การควบคุมอารมณ์ตนเองกับการดูแลอย่างเอื้ออาทร การพัฒนาอารมณ์ตนเองกับการดูแลอย่างเอื้ออาทร และการฝึกปฏิบัติการดูแลอย่างเอื้ออาทร จำนวน 107 ชั่วโมง 30 นาที โดยผลการประเมินความเหมาะสมของร่างหลักสูตรฝึกอบรมในภาพรวม มีค่าเฉลี่ย 4.96 ค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อโดยวิธีหาค่าสหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนรายข้อและคะแนนรวมของแบบวัดพฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทรมีค่าตั้งแต่ 0.275-0.761 และค่าความเที่ยงทั้งฉบับโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าตามวิธีการของครอนบาค เท่ากับ .958 และ 3) ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทรโดยรวมและรายด้านที่พยาบาลจบใหม่ประเมินตนเอง และพยาบาลพี่เลี้ยงประเมินพยาบาลจบใหม่ก่อนการฝึกอบรมกับหลังสิ้นสุดการฝึกอบรม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยค่าเฉลี่ยภายหลังสิ้นสุดการฝึกอบรมมีค่าสูงขึ้นทุกด้าน ซึ่งโรงพยาบาลและสถาบันการศึกษาทางการพยาบาลสามารถนำหลักสูตรฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้นไปใช้ เพื่อปลูกฝังพยาบาลหรือนักศึกษาพยาบาลให้มีพฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทรได้ | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.subject | การพยาบาล - - หลักสูตร | th_TH |
dc.subject | ความฉลาดทางอารมณ์ | th_TH |
dc.subject | ผู้ป่วย - - การดูแล | th_TH |
dc.subject | พยาบาล - - การฝึกอบรม | th_TH |
dc.subject | สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ | th_TH |
dc.title | การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมพยาบาลจบใหม่ โดยบูรณาการความฉลาดทางอารมณ์ในการดูแลอย่างเอื้ออาทร | th_TH |
dc.title.alternative | The development of training curriculum for new nurse by integrating emotional intelligence in caring | en |
dc.type | บทความวารสาร | th_TH |
dc.issue | 2 | |
dc.volume | 22 | |
dc.year | 2557 | |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this study was to analyze and synthesize a concept of caring in nursing professionals, develop and use the training curriculum by integrating emotional intelligence in caring for new nurses including evaluating caring behaviors. The research and development process contained 3 phases; 1) The analysis and synthesis the concept of caring in nursing professionals by interviewing 7 participants that included experts, nurses, patients and their families and 18 areas of criteria for selection caring behaviors by Delphi technique. The data from interview were analyzed using content analysis, and categorized and the data from Delphi technique were analyzed using content analysis,median, interquartile range of each behavior and consensus. 2) The development of the training curriculum to be tried out on 30 new nurses who started work at the hospital in Kalasin province in 2012. The data from measuring curriculum appropriateness were analyzed using mean and the data from content validity of curriculum were analyzed using index of congruency and 3) Using the training curriculum and evaluate caring behaviors in 30 new nurses who started work at the hospital in Kalasin province in 2013. The data from evaluation caring behavior were analyzed using mean, standard deviation, dependent samples t-test and content analysis. The study revealed that 1) the main contents of caring behavior contained 6 components as follew: Kindness, understanding worth and showing respect, professional relationship, professional competency, professional ethics and holistic care. 2) The training curriculum contained 5 learning units during 107 hours 30 minutes as follows: Group relationship and incentive, self emotional awareness and caring, self emotional control and caring, self emotional development and caring and nursing practice. The mean of suitability is 4.96, index of congruency is 1.00, item total correction is .275-.761 and Cronbrach’s alpha coefficient is .958 3) The new nurses’ caring behaviors after using the training curriculum were higher than before using the training curriculum at .05 significant level. The hospital and nursing educational institution can apply training curriculum for the promotion caring behavior in nurses and student nurses. | en |
dc.journal | วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา = Journal of faculty of nursing Burapha University. | |
dc.page | 1-14. | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น