กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/270
ชื่อเรื่อง: การประเมินผลกระทบของสารไดออกซินในอากาศที่มีต่อสุขภาพในเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The health impact of dioxin in the ambient of Maptaphut industrial estate, Rayongprovince
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จิตรพรรณ ภูษาภักดีภพ
ชมภูศักดิ์ พูลเกษ
รัตนาภรณ์ ศรีวิบูลย์
นันทพร ภัทรพุทธ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
คำสำคัญ: นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
สารไดออกซิน
โรคมะเร็ง
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบของสารไดออกซินในอากาศที่มีต่อสุขภาพของประชาชนในเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นประชาชนที่มีภูมิลำเนาอาศัยอยู่ในบริเวณนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด 3 ชุมชน จำนวน 73 คน คณะผู้วิจัยได้เก็บตัวอย่างอากาศจาก 3 ชุมชน พร้อมกับทำการเก็บตัวอย่างเลือด เพื่อหาสารบ่งชี้โรคมะเร็ง 5 ชนิด (CA 19-9, AFP, CEA, NSE, Ferritin) ด้วยวิธีการ CLIA, ECLIA และ CMIA สำหรับวิธีการและการเก็บตัวอย่างเพื่อวิเคราะห์หาปริมาณสารไดออกซินนั้นได้ใช้มาตรฐานแนะนำจากประเทสเยอรมัน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีสารบ่งชี้โรคมะเร็งในเลือดทุกชนิด 69.86% เป็นสารบ่งชี้โรคมะเร็งชนิด NSE 39.72% ชนิด CEA 13.70% Ferritin 10.96% CA 19-9 4.11% และ AFP 1.37% โดยที่กลุ่มตัวอย่างในชุมชนที่ 1, 2, และ 3 มีสารบ่งชี้โรคมะเร็งเท่ากับ 34.24% 31.51% และ 4.11% ตามลำดับ สำหรับปริมาณสารไดออกซินในอากาศของชุมชนที่ 1 เท่ากับ 19.9 เฟมโตกรัมต่อลูกบาศก์เมตรซึ่งเกินมาตรฐานองค์การอนามัยโลกปี พ.ศ. 2540 (17.0 เฟมโตกรัมต่อลูกมาศก์เมตร) ส่วนชุมชนที่ 2 และ 3 มีปริมาณสารไดออกซินเท่ากับ 17.0 และ 12.6 เฟมโตกรัมต่อลูกบาศก์เมตรตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างมีอาการเจ็บป่วย คือ เป็นผื่นคันตามร่างกาย 43.84% อาการเวียนศรีษะ 32.88% และอาการปวดศรีษะ 30.14% ข้อมูลเชิงสถิติ พบว่า ลักษณะส่วนบุคคล ของกลุ่มตัวอย่างไม่มีความสัมพันธ์กับการตรวจพบสารบ่งชี้โรคมะเร็งในเลือดทางสถิติ (p-value > 0.05) กลุ่มตัวอย่างที่ตรวจพบสารบ่งชี้โรคมะเร็งในเลือด ทางสถิติ (p-value > 0.05) แต่ปริมาณสารไดออกซินในอากาศของชุมชนทั้งสามแห่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าผลกระทบของสารไดออกซินในอากาศที่มีต่อสุขภาพของประชาชนยังไม่ชัดเจน อย่างไรก็ตามภาครัฐ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พนักงาน และสาธารณชน ควรดำเนินงานร่วมกันแบบพหุภาคีและเครือข่ายในการป้องกันและควบคุมอันตรายจากสารไดออกซิน
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/270
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น