กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2606
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยแมมโมแกรมของพยาบาลวิชาชีพจังหวัดระยอง |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วรรณิภา อัศวชัยสุวิกรม สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ เจนจิรา เจริญการไกร มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การตรวจคัดโรค เต้านม - - การบันทึกภาพด้วยรังสี เต้านม - - มะเร็ง สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
บทคัดย่อ: | ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยแมมโมแกรมของพยาบาลวิชาชีพ จังหวัดระยอง การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยแมมโมแกรมของพยาบาลวิชาชีพ จังหวัดระยอง กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ เพศหญิง ไม่มีประวัติเป็น โรคมะเร็วเต้านม ปฏิบัติงานอยู่ในโรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลเอกชน จำนวน 269 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผูวิจัยสร้างขึ้นเอง โดยใช้แนวคิดของไอเซน(Ajzen,1991) ประกอบด้วยปัจจัยส่วนบุคคล เจตคติต่อการคัดกรองทางตรง เจตคติต่อการคัดกรองทางอ้อม การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงทางตรง การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงทางอ้อม การรับรู้ความสามารถในการควบคุมปัจจัยทางตรง การรับรู้ความสามารถในการควบคุมปัจจัยทางอ้อม ความตั้งใจตรวจคัดหรอง โดยเจตคติต่อการคัดกรองทางตรงและทางอ้อม การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงทางอ้อม การรับรู้ความสามารถในการควบคุมปัจจัยทางอ้อม มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ในระดับมาก (α= .71, .82, .93 และ .80 ตามลำดับ) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและสถิติถดถอยพหูคูรแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนความตั้งใจที่จะไปตรวจคัดกรองด้วยแมมโมแกรมของกลุ่มตัวอย่างในระดับมาก (M= 68.64, SD=25.44) เจตคติต่อการคัดกรองทางตรงอยู่ในระดับดี (M=0.82, SD=0.62) เจตคติต่อการตรวจคัดกรองทางตรงอยู่ในระดับดีมาก (M= 3.42, SD 0.79) มีการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงทางตรงและทางอ้อมในระดับมากที่สุด (M=1.57, SD=0.76; M=6.32, SD= 3.22 ตามลำดับ) การรับรู้ความสามารถในการควบคุมปัจจัยทางตรงและทางอ้อมอยู่ในระดับไม่แน่ใจ (M=0.38, SD=1.39; M=1.81, SD=3.58 ตามลำดับ) ประสบการณ์ในการตรวจคัดกรองเจตคติต่อการคัดกรองทางอ้อม การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงทางอ้อม อายุ ระดับการศึกษามีความสัมพันธ์และร่วมกันทำนายความตั้งใจตรวจคัดกรองด้วยแมมโมแกรมของพยาบาลวิชาชีพ จังหวัดระยองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ได้ร้อยละ 29.5 ด้วยสมการถดถอย Z'ความตั้งใจตรวจคัดกรอง = 0.199Z'ประสบการณ์ในการตรวจคัดกรอง +0.222Z'เจตคติต่อการคัดกรองทางอ้อม +0.223Z'การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงทางอ้อม +0.168Z'ค่าลอการิทึมของอายุ +0.127Z'การศึกษาระดับปริญญาโท ผลการวิจัยในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า พยาบาลวิชาชีพมีความตั้งใจมากที่จะไปตรวจคัดกรองด้วยแมมโมแกรม ปัจจัยทำนายที่พบในงานวิจัยนี้ พยาบาลเวชปฏิบัติสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการกระตุ้นให้พยาบาลวิชาชีพมีความตั้งใจเข้ารับการตรวจคัดกรองเต้านม เพื่อลดอัตราเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็วเต้านม |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2606 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
p13-25.pdf | 4.74 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น