กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2563
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | ภารดี มหาขันธ์ | |
dc.contributor.author | Ren Zhiyuan | |
dc.contributor.author | Sakdina Bunpiem | |
dc.contributor.author | ศักดินา บุญเปี่ยม | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T09:16:04Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T09:16:04Z | |
dc.date.issued | 2555 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2563 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับตัวทางวัฒนธรรมของนักศึกษาชาวจีนในมหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาชาวจีนที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยบูรพาจำนวน ๒๕๗ คน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามและเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามด้วยวิธีการสัมภาษณ์ การสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถาม โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปซึ่งค่าสถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ (Percentage)และค่าเฉลี่ย (Mean) และการวิเคราะห์ข้อมูลภาคสนามด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยปรากฏว่า ปัญหาทั่วไปในการดำรงชีวิตประจำวันของนักศึกษาชาวจีนเป็นปัญหาที่เกิดจากภาษา ความแตกต่างทางวัฒนธรรม และความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยเฉพาะปัญหาในด้านการใช้ภาษาไทย ด้านสุขภาพ ด้านค่านิยม เป็นต้น โดยภาพรวม นักศึกษาชาวจีนส่วนใหญ่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับไม่ค่อยมีปัญหา การสนับสนุนทางสังคมนั้น ผลการวิจัยพบว่า เครือข่ายการคบเพื่อนของนักศึกษาชาวจีนเป็นกลุ่มขนาดเล็กโดยส่วนใหญ่จะคบเพื่อนคนจีน และเพื่อนคนไทยเป็นบางส่วน ซึ่งสามารถให้การสนับสนุนแก่นักศึกษาชาวจีนในหลายด้านตามความสามารถและบทบาทในสังคมไทย การเข้าร่วมกิจกรรมสังคมสามารถทำให้นักศึกษาชาวจีนได้รับผลประโยชน์ทั้งในการดำรงชีวิต การใช้ภาษาไทย และการศึกษา ส่วนวิธีการในการปรับตัวทางวัฒนธรรมของนักศึกษาชาวจีนมี ๖ วิธีการ คือ การบูรณาการ (Integration) การผสมผสาน (Assimilation) การแบ่งแยก ( Separation) กระบวนการชายขอบ (Marginalization) การบูรณาการกับการผสมผสาน (Integration and Assimilation) และการผสมผสานกับการแบ่งแยก (Integration and Separation) โดยภาพรวม วิธีการผสมผสานเป็นวิธีการที่นักศึกษาชาวจีนได้เลือกใช้เป็นจำนวนมากที่สุด สำหรับกระบวนการในการปรับตัวทางวัฒนธรรมของนักศึกษาชาวจีนมีสองแนวทาง คือ แนวทางที่หนึ่ง เมื่อนักศึกษาชาวจีนเข้ามาในประเทศไทยในตอนแรกจะมีความรู้สึกตื่นเต้นกับการพบสิ่งแปลกใหม่ หลังจากนั้น เกิดการช็อกทางวัฒนธรรม แล้วเริ่มมีการปรับตัวทางวัฒนธรรม แนวทางที่สอง คือ นักศึกษาชาวจีนจะมีการช็อกทางวัฒนธรรมในช่วงแรกก่อน แล้วค่อยปรับตัว เพื่อที่จะดำรงชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นกระบวนการที่นักศึกษาชาวจีนส่วนใหญ่ได้ประสบผ่านมา ดังนั้น ผู้วิจัยจึงเสนอความคิดเห็นเพื่อสนับสนุนการปรับตัวทางวัฒนธรรมของนักศึกษาชาวจีนในมหาวิทยาลัยไว้เป็น ๓ ประเด็น คือ การอบรมภาษาไทย การกำหนดอาจารย์ที่ปรึกษาสำหรับนักศึกษาต่างชาติประจำมหาวิทยาลัย และการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสาร | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.subject | การปรับตัวทางสังคม | th_TH |
dc.subject | นักศึกษาต่างชาติ - - การดำเนินชีวิต | th_TH |
dc.subject | นักศึกษาต่างชาติ | th_TH |
dc.title | การปรับตัวทางวัฒนธรรมของนักศึกษาชาวจีนในประเทศไทย: กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.type | บทความวารสาร | th_TH |
dc.issue | 34 | |
dc.volume | 20 | |
dc.year | 2555 | |
dc.description.abstractalternative | The focus of this case study, which based on Burapha University , was to explore the cross-cultural adaptation of overseas Chinese students in Thailand. ๒๕๗ Chinese students studying at Burapha University were recruited as the research subjects. The research conducted statistical analysis by using questionnaire, mean and average percentage, and qualitative description by employing interview survey and field observation respectively. The result reported that language, the different of cultural and personality gap were the main courses bringing about the daily life difficulties of overseas Chinese students. Among the main courses, Thai language usage, staying healthy and values were ranked as the prominent performance.The overall result of the cross-cultural adaptation was not too different. In terms of social support, most Chinese students communicated with native national, and some chose to communicate with the locals. These two groups were providing all kinds of social support according to their different social roles and abilities. In addition, participation in social activities was also beneficial for Chinese students to adapt the foreign culture. In the respect of acculturation strategy, integration was mostly applied by Chinese students, followed by assimilation, separation, marginalization integration& assimilation and integration & separation. There are two different approaches in the process of cross-cultural adaptation for foreign students. The first approach is to feel the excitement of foreign culture and new environment (the honeymoon stage) first, followed by experiencing the difficulties caused by culture shock (the culture shock stage), and then started to change and adapt (adjustment), The other approach, which was mostly experienced by the overseas Chinese students, is to experience culture shock first, and then to adapt to it gradually. The main reason for the second approach is the application of Thai language. Based on the outcomes of cross-cultural adaptation by overseas Chinese students in Thailand, as well as combining other supplementary policies to overseas Chinese students implemented by other countries, the researcher intends to contribute to help and improve the overseas Chinese students’ cross-cultural adaptation by providing the training on improving ability to Thai language, establishing foreign students consulting service, and information exchange platform | en |
dc.journal | วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.page | 185-201. | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
p185-201.pdf | 4.81 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น