กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/253
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorพิศมัย เสรีขจรกิจเจริญ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T08:47:21Z
dc.date.available2019-03-25T08:47:21Z
dc.date.issued2548
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/253
dc.description.abstractการวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ในการจัดการอุบัติเหตุจราจรบนท้องถนนจากโครงการพัฒนารูปแบบการจัดการจราจรแบบผสมผสาน จังหวัดระยอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ วิเคราะห์ต้นทุนและประสิทธิผลด้านการจัดการจราจรบนท้องถนนของหน่วยงานที่เข้าร่วมการศึกษาและผู้ประสบอุบัติภัยในโครงการ ในเขตพื้นที่ที่เสี่ยงภัยจราจรบนถนนสายหลัก 3 สาย คือ สาย 3 สาย 36 และสาย 344 ทำศึกษาและการรวบรวมข้อมูลตั้งแต่ พ.ศ. 2547 ถึง พ.ศ. 2550 ในด้านการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณา ซึ่งได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด รวมทั้งมูลค่าปัจจุบันสุทธิเพื่อตอบวัตถุประสงค์ของโครงการอย่างครอบคลุม โดยใช้ตัวชี้วัดผลที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนผู้อุบัติภัย, จำนวนผู้บาดเจ็บ, จำนวนผู้เสียชีวิต ณ จุดเกิดเหตุ, จำนวนผู้เสียชีวิตขณะส่งเข้ารับการรักษาพยาบาล รวมทั้งการสูญเสียทรัพย์สินของทางราชการประกอบในการพิจารณา ผลการศึกษา พบว่า ต้นทุนรวมของโครงการในปี พ.ศ. 2549 มีมูลค่าต้นทุนสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 51.58 รองลงมาคือ ปี พ.ศ. 2548 และปี 2547 คิดเป็นร้อยละ 24.34 และ 24.09 ตามลำดับ เมื่อจำแนกตามลักษณะของต้นทุนที่เกิดขึ้นในโครงการพบว่า ต้นทุนด้านวัสดุอุปกรณ์นั้นมีสัดส่วนของการลงทุนที่สูงที่สุด คิดเป็นร้อยละ 91.35 รองลงมาคือ ต้นทุนด้านบุคลากร และต้นทุนด้านค่าลงทุน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 6.85 และ 1.80 ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์หน่วยงานด้านการลงทุนซึ่งสามารถเรียงลำดับมูลค่าการลงทุนจากมากไปน้อย ได้ผลดังนี้ คือ หน่วยงานตำรวจ, หน่วยงานองค์การบริหารส่วนตำบล, หน่วยงานด้านสาธารณสุข, หน่วยงานด้านการขนส่งจังหวัด และหนาวยงานของมูลนิธิที่เข้าร่วมโครงการนั้นมีมูลค่าการลงทุนที่ต่ำที่สุด เมื่อพิจารณาประสิทธิผลของการลงทุนในโครงการพัฒนารูปแบบการจัดการจราจรแบบผสมผสาน จ.ระยอง โดยใช้จำนวนอุบัติเหตุ, จำนวนผู้บาดเจ็บ, จำนวนผู้เสียชีวิต ณ จุดเกิดเหตุ, จำนวนผู้เสียชีวิตขณะส่งรับการรักษาและความเสียหายต่อทรัพย์สินของผิวทางจราจรเป็นตัวชี้วัด พบว่า หลังจากดำเนินโครงการเสร็จสิ้นแล้ว พบว่า จำนวนผู้เสียชีวิต ณ จุดเกิดเหตุลดลง 100 เปอร์เซ็นต์ (ก่อน=10 หลัง =0) และจำนวนผู้เสียชีวิตระหว่างส่งเข้ารับการรักษา ลดลง 100 เปอร์เซ็นต์ (ก่อน=6 หลัง=0) ขณะที่จำนวนครั้งของอุบัติภัยไม่ได้ลดจำนวนลงมากเท่าที่ควร แต่ความรุนแรงของการสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินลดลงอย่างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ดีความสำเร็จของโครงการนั้นเกิดจากความร่วมมืออย่างจริงจังของทุกภาคส่วนทั้งหน่วยงานของรัฐและเอกชนที่ได้ให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนทั้งด้านการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลดอุบัติเหตุ, การบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด, การปรับปรุงพื้นผิวจราจร เมื่อได้รับแจ้ง อีกทั้งการประชาสัมพันธ์ถึงช่องทางต่าง ๆ ในการติดต่อเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการของรัฐอย่างทันท่วงทีส่งผลให้สามารถรักษาทรัพยากรบุคคลและทรัพยากรของประเทศชาติอย่างมหาศาลth_TH
dc.description.sponsorshipงานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากงบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ 2547th_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectความปลอดภัยในท้องถนน -- ไทย -- ระยองth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.subjectอุบัติเหตุทางถนน -- การป้องกันและควบคุมth_TH
dc.subjectอุบัติเหตุทางถนน -- ไทย -- ระยองth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
dc.titleการวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ในการจัดการอุบัติภัยจราจรบนท้องถนนจากโครงการพัฒนารูปแบบการจัดการจราจรแบบผสมผสาน จังหวัดระยองth_TH
dc.title.alternativeA cost-benefit analysis in the management of traffic accidents on from the development of integrated traffic management Rayong provinceen
dc.typeResearch
dc.author.emailpisasere@buu.ac.th
dc.year2548
dc.description.abstractalternativeThis study was aimed to determine cost and effectiveness of an integrated traffic management development project implemented by participating organizations where 3 highways were located (Route 3, Route 36 and Route 344) in Rayong Province. Data were collected during the years B.E. 2547-2550. Descriptive statistics which included frequencies, percentages, means and standard deviations as well as net present values were used. Outcome indices were analuzed in terms of the number of accidents, injuries, casualties, loss of life upon transferring to hospitals, and public property loss. The study results revealed that total cost in the year 2549 was highest which accounted for 51.58%, followed by the year 2548 (24.34%), and 2547 (24.09%), respectively. Equipment cost occupied highest proportion (91.35%) of the total cost, followed by personnel cost (6.85%), and investment value cost (1.80%). respectively. The organization with highest investment value was the police, followed by subdistrict administration organization, public health, transportation department, and private foundations. The effectiveness of the investment of the project determined by outcome indices revealed that after the project was ended, the number of dead on the spot decreased by 100% (before=10 and after=0). Dead upon transferring to hospitals decreased by 100% (before=6 and after=0). Although the number of accidents did not declined significantly, the severity of life and property loss diminished explicitly. The successof the project was due to earnest collaboration of all private and governmental organizations in terms of public education regarding accident prevention, enforcement of the law, and road surface improvement. Moreover, dissemination of means to access public services during emergency situations for people had saved lots of lives and national resourcesen
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น