กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2526
ชื่อเรื่อง: บ้านเรียนมรดกใหม่: การให้การศึกษาแบบองค์รวมผ่านละคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Moradokmai homeschool: Holistic education via theatre
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภารดี มหาขันธ์
ฐานชน จันทร์เรือง
ยิ่งยศ เทพจำนงค์
คำสำคัญ: การบริหารการศึกษา
การศึกษา
การศึกษาตามอัธยาศัย
ละครเวที
สาขาปรัชญา
วันที่เผยแพร่: 2556
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง บ้านเรียนมรดกใหม่: การให้การศึกษาแบบองค์รวมผ่านละคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการจัดการเรียนการสอนของบ้านเรียนมรดกใหม่เรื่องวิธีการให้ความรู้แบบองค์รวมผ่านละครแก่เยาวชน รวมถึงพัฒนาการของบ้านเรียนมรดกใหม่และความแตกต่างจากบ้านเรียนอื่น ใช้แนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้ขอบเขตด้านเวลา คือ พ.ศ. 2549-พ.ศ. 2555 ผลการศึกษาพบว่า บ้านเรียนมรดกใหม่เป็นสถานศึกษาขนาดเล็ก มีนักเรียนประมาณ 40 คน และครู 16 คน ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเรียนการสอน ใช้รูปแบบของบ้านเรียนประยุกต์ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของนักการละคร ซึ่งพัฒนาการมาจากการเป็นคณะละครที่ผลิตละครเวทีสัญจรเพื่อการศึกษา โดยก่อนหน้านั้นภายใต้การนำของ อาจารย์ชนประคัลภ์ จันทร์เรือง คณะละครมรดกใหม่มีวิวัฒนาการจากรายการโทรทัศน์ มาสู่ละครเวทีเชิงพาณิชย์ จนค้นพบแนวทางของการใช้ละครเพื่อพัฒนาและสนับสนุนการศึกษาในระบบจนถึงการใช้ละครเพื่อสร้างการศึกษาการเรียนรู้แบบองค์รวม ทั้งในมิติการใช้ชีวิตและการทำงาน สรา้งหลักสูตรเฉพาะคนและผ่านการรับรองจาก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต 1 จังหวัดปทุมธานี ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ การให้การศึกษาแบบองค์รวมของบ้านเรียนมรดกใหม่มีวิธีการคือ ใช้ละครเป็นจุดเริ่มต้น นักเรียนจะได้เรียนรู้วิชาต่าง ๆ ทั้งแปดกลุ่มสาระการเรียนรู้ผ่านการแสดงละครในเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของวิชานั้น ๆ จากนั้น ครูผู้สอนจะเชื่อมโยงและอธิบายเนื้อหาของวิชาน้น ๆ จากนั้นครูผู้สอนจะเชื่อมโยงและอธิบายเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ให้กับนักเรียน รวมทั้งการให้นักเรียนเป็นผู้สรา้งละครด้วยตนเองด้วย บ้านเรียนมรดกใหม่มีวิธีการศึกษาแบบผสมผสานหลายวิธีดังนี้ ศึกษาโดยยึดหลักปรัชญา 6 ข้อของคณะละครมรดกใหม่ ได้แก่ 1) พร้อมใจกันทำพร้อมใจกันเลิก 2) ทำแล้วทำเล่าจนทำได้ 3) อยู่อย่างต่ำทำอย่างสูง 4) แผ่วที่ผล ทำที่เหตุ 5) ไม่มีเรื่องเล่าที่เล่า ไม่ได้มีแต่นักแสดงที่เล่าไม่เป็น 6) เป็นอย่างที่กิน เป็นอย่างที่อ่าน เป้นอย่างที่สอน ปรัชญาทั้งหกข้อนี้เป็นทั้งการฝึกฝนและกฎระเบียบไปในตัว, ศึกษาด้วยหลักอาวุโสนิยมและการ DRILL (การฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง) เรียนรู้การใช้ชีวิตระบบสำนัก เคารพรุ่นพี่และผู้อาวุโส ฝึกฝนทักษะของตนเองอย่างต่อเนื่อง, ศึกษาด้วยองค์ประกอบของละคร นักแสดง เรื่องราวคนดู ตามวิธีการของคณะละครใหม่ เชื่อมโยงวิธีคิดของตัวละครกับสถานการณ์จริงในปัจจุบันของสังคม เปรียบเทียบครอบครัวของตัวเอง ชุมชน สิ่งแวดล้อมกับเรื่องราวในละคร, ศึกษาด้วยการเชื่อมโยงแปดกลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่ 1) ศึกษาบทละครและการเล่นละคร 2) ศึกษาผ่านการเดินทางในวิถีชีวิตของการเป็นนักการละคร 3) ศึกษาผ่านการอ่านหนังสือ 4) ศึกษาผ่านบทเพลง 5) ศึกษาผ่านภาพยนตร์ 6) ศึกษากับวิทยากรพิเศษที่มีความสามารถเฉพาะทางนั้น ๆ วิธีการเชื่อมโยงแปดกลุ่มสาระการเรียนรู้นี้จะเลือกวิะีการศึกษาโดยพิจารณาจากความพร้อม ความสนใจ และทักษะของผู้เรียนที่แตกต่างกันไป และในด้านความแตกต่างจากบ้านเรียนอื่น ๆ นั้น บ้านเรียนมรดกใหม่มีวิธีการสอนที่ผสมผสานและมีเอกลักษณ์รวมทั้งมีการรวมเด็กบ้านเรียนมาเรียนรวมกันซึ่งแตกต่างจากบ้านเรียนปกติที่จัดการศึกษาโดยครอบครัว สถานศึกษาที่มีรูปแบบใกล้เคียงคือ โรงเรียนภัทรวดีมัธยมศึกษา มีการใช้ละครเชื่อมโยงและบูรณาการแปดกลุ่มสาระเช่นเดียวกัน แต่แตกต่างกันที่จดทะเบียนเป็นโรงเรียนสามัญ ในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาบ้านเรียนมรดกใหม่มีนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสองรุ่น รุ่นแรกเจ็ดคน (พ.ศ. 2553) จบแล้วก็แยกย้ายกันไป รุ่นที่สองเจ็ดคน (พ.ศ. 2554) สามารถสอบเข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยวิศวะภารตี เมืองศานติเนกัน ประเทศอินเดีย สาขาวิชาการละครได้ทั้งหมด
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2526
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
175-208.pdf4.21 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น