กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2333
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorไพฑูรย์ โพธิสว่าง
dc.contributor.authorพระสัญญา เคณาภูมิ
dc.contributor.authorสมาน งามสนิท
dc.contributor.authorอรสา โกศลานันทกุล
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:14:44Z
dc.date.available2019-03-25T09:14:44Z
dc.date.issued2552
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2333
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชน โครงการวิสาหกิจชุมชนที่ประสบความสำเร็จ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชนใน 4 จังหวัดชายแดนลุ่มแม่น้ำโขง และ ตรวจสอบประสิทธิภาพของสิทธิภาพของวิสาหกิจชุมชน แหล่งข้อมูล คือ (1) ตัวบุคคล ได้แก่ ผู้แทนกรมส่งเสริมการเกษตร ผู้แทนเกษตรจังหวัด ผู้นำวิสาหกิจชุมชน สมาชิกวิสาหกิจชุมชน รวม 93 คน และ (2) เอกสารเกี่ยวข้องกับการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ข้อมูลเอกสารใช้วิธีการวิเคราะห์ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา การสัมภาษณ์และการจัดสนทนากลุ่มวิเคราะห์ด้วยวิธีแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1. ความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชนใน 4 จังหวัดชายแดนลุ่มน้ำโขง พบว่า มี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ ทิศทางวิสาหกิจชุมชน การวางแผนดำเนินงาน การบริหารตลาด การจัดการความรู้และข้อมูลข่าวสาร การบริหารสมาชิกวิสาหกิจชุมชน กระบวนการจัดการสิน้คาและบริกร และผลลัพท์การดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน 2. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชน พบว่า 2.1 นโยบายส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนได้แก่ นโยบายหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) และการออกพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ.2548 ทำให้คณะกรรมการ และมาตรการส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน 2.2 โครงการวิสาหกิจชุมชนที่ประสบความสำเร็จได้แก่ (1) วิสาหกิจชุมชนแม่บ้านกล้วยตากสังคม ตั้งอยู่ หมู่ 1 ตำบลสังคม อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ดำเนินการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากกล้วย (2) วิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมจากกกเหล่าพัฒนา ที่ตั้งหมู่ 5 และ หมู่ 9 ตำบลเหล่าพัฒนาอำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม ดำเนินการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากต้นกกด้วยการจักสานและทอ (3) วิสาหกิจชุมชนข้าวเกรียบผักผลไม้แม่บ้านเกษตรกรหนองโอใหญ่ที่ตั้งหมู่ 3 บ้านหนองโอใหญ่ ตำบลโนนยาง อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร ด้วยการนำพืชผักผลไม้วัตถุดิบในชุมชนแปรรูปเป็นข้าวเกรียบ และ(4) วิสาหกิจชุมชนตัดเย็บเสื้อผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติแม่บ้านเกษตรกรโนนสว่าง บ้านโนนสว่าง ตำบลโพนงาม อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี ดำเนินการทอผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติและการแปรรูปผ้าฝ้าย 2.3 ภาวะผู้นำที่มีผลต่อความสำเร็จ ได้แก่ ความเสียสละ สติปัญญาเฉลียวฉลาดรอบรู้กล้าหาญ กล้าตัดสินใจ ซื่อสัตย์สุจริต วิสัยทัศน์กว้างไกล โปร่งใส เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ อัธยาศัยไมตรีจริงใจ เป็นแบบอย่าง แก้ไขสถานการณ์ได้ สุขุมรอบคอบ ริเริ่มสร้างสรรค์และมุ่งมั่นวิริยะอุตสาหะ 2.4 ทัศนคติของคนในชุมชนมีผลต่อความสำเร็จ คือ ความอยากมี อยากเป็นและอยากได้ด้วยตัวของตัวเอง ต้องการพึ่งตนเองด้วยการสร้างรายได้ในท้องถิ่นตน 2.5 การบริหารจัดการ พบว่ามีองค์ประกอบได้แก่ (1) วางแผนแบบมีส่วนร่วม (2) จัดองค์กรอย่างกะทัดรัดตามความจำเป็น (3) บริหารตัดการบุคลากรตามความสามารถและความถนัดของคน (4) การอำนวยการสั่งการตามความเหมาะสมและผู้นำมีอำนาจตัดสินใจหากเป็นผลดี (5) การประสานงานอย่างฉันพี่น้องด้วยทัศนคติแบบครอบครัวเดียวกัน (6) การประเมินผลตนเอง และการประเมินผลจากหน่วยงานสังกัด (7) จัดการงบประมาณ ด้วยการระดมจากสมาชิก ขอสนับสนุนจากองค์กรอื่น และผลกำไรจากกิจกรรม (8) จัดการตลาดแบบบูรณาการทั้งรุกและรับด้วยการสร้างแรงจูงใจแก่สมาชิก (9) ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมด้วยความสมดุลระหว่างรายรับ-รายจ่าย 2.6 การมีส่วนร่วมของสมาชิก มีรูปแบบ ดังนี้ ร่วมคิด ร่วมตัดสิน ร่วมดำเนินการ ร่วมแก้ไขปัญหา ร่วมรับผลประโยชน์ และร่วมประเมินผล 2.7 หลักพุทธธรรมนำสู่ความสำเร็จ ได้แก่ (1) หลักธรรมประจำใจของปัจเจกชน คือ หลักอิทธิ 4 (2) หลักธรรมสำหรับให้เกิดความสมานสามัคคีมีส่วนร่วมทำให้องค์กรเข้มแข้ง คือ อปริหานิยธรรม 7 และ (3) หลักธรรมสำหรับแก้ปัญหาความยากจน คือ หัวใจเศรษฐี หัวใจเศรษฐี หรือ ทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรม 4 (อุ อา กะ สะ) 3. การวิเคราะห์ศักยภาพ พบว่า (1) จุดเด่น (Strength) ได้แก่ ชุมชนมีทรัพยากรที่สามารถแปลงสินค้าและบริการได้ ประชาชนต้องการมีชีวิตที่ดีขึ้น มีความรักสมานสามัคคีในชุมชน และคนในชุมชนมีส่วนร่วมดี (2) จุดด้อย (Weakness) ได้แก่ ขาดทัศนคติต่อการพึ่งตนเอง ขาดผู้นำชุมชนที่มีคุณภาพ ขาดเงินทุนและวัสดุอุปกรณ์ ขาดการวางแผนเชิงกลยุทธ์ กระบวนการผลิต ตลาดและการจัดการขาดประสิทธิภาพ ชาวบ้านขาดความรู้และสติปัญญา และขาดการจัดการเชิงระบบ (3) โอกาส (Opportunity) ได้แก่ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นโยบายและมาตรการของรัฐในการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนเป็นรูปธรรม ชื่อเสียงของผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน และความเจริญทางเศรษฐกิจที่เอื้อต่อการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน และ (4) อุปสรรค (Threat) ได้แก่ นโยบายของรัฐที่ไม่ต่อเนื่อง ขาดแคลนแรงงานในชุมชน ภาวการณ์แข่งขันทางการตลาดสูง ขาดบุคลากรที่มีคุณภาพเข้ามามีส่วนร่วม และการเสี่ยงกับการลอกเลียนแบบth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.subjectชุมชนth_TH
dc.subjectวิสาหกิจชุมชนth_TH
dc.titleความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชนใน 4 จังหวัดชายแดนลุ่มน้ำโขงth_TH
dc.typeบทความวารสารth_TH
dc.issue2
dc.volume4
dc.year2552
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research is to study the success factors factors related to the success of Community Enterprises of four provinces in the Mekong basin, Nong Khai, Nakhon Phanom, Mukdahan and Ubon Ratchathani Provinces, and to examine the efficiency of community enterprises. The method of Focus Group Discussions was used to collect data from 93 persons, including officers, community enterprise leaders and community enterprise members. Quantitative data were analyzed by descriptive statistics. The qualitative data were analyzed by inductive description. The findings are as follows: 1. The success of community enterprises of these four Mekong basin provinces was based on seven standards: (1) Direction of community enterprises; (2) Planning; (3) Marketing management; (4) Knowledge and information management; (5) Community membership management; (6) Products and service management process and (7) Outcomes of the Community Product Enterprises. 2. Factors related to the success of community enterprises in these four Mekong basin provinces are as follows: 2.1 Community enterprise promotion policy factors included the One Tambon One Product Policy and the Community Enterprise Promotion Act of 2548 B.E., which developed committees and procedures to promote community enterprises. 2.2 The successful project projects are (1) Community dried bananas and banana related products, located at Moo 1, Sangkorn village, Tambon Sangkorn, Amper Sangkorn, Nong Khai Province; (2) Kok grass as a raw material to process into many kinds of woven products for commercial use, located at Moo 5 and Moo 9, Tambon Lao Pattana, Amper Nava. Nakhon Phanom Province; (3) Vegetable and fruit chip food products by rural housewives, located at Moo 3, Mong O Yai village,Tambon None Yang, Amper Nongsoong, Mukdahan Province; (4) Clothing products of cotton cloth dyed with natural colors and processed into various styles of clothing, located at Nonsawang village, Tambon Phon Ngarm, Dej Udom District, Ubon Ratchathani Province. The community members solved many problems and worked together for success. 2.3 Prominent leadership factors included sacrifice, intelligence, courage, daring to make decisions, honesty, vision, transparency, helpfulness, friendliness, sincerity, good examples, problem solving, mindfulness, initiative, and strong effort and determination. 2.4 Community attitude factors included the eagerness of the community to become self-sufficient and to develop careers to bring income into the community. 2.5 Management administration factors related to successful community enterprises comprised the following: (1) Participative planning; (2) Compact organization; (3) Appropriate personnel management by letting employees work according to their skills; (4) Sensible Direction by leaders who use good judgment for the benefit of the group; (5) Friendly and family style coordination; (6) Reporting and evaluation from within the group; (7) Budgeting earnings within the group and outside support; (8) Integrated marketing to recruit and persuade members; and (9) Appropriate technology applications based on balancing income and expenses. 2.6 Member participation factors comprised thinking, decision making and implementation, problem solving, benefit reception and evaluation. 2.7 The teachings of the Buddha for success were as follows: (1) Iddhipada, the Dhamma which brings success to individuals; (2) Aparihaniyadhamma, conditions of welfare, the things that lead only to prosperity and never to decline; and (3) Thittadhammikattasongvattnikkadhamma, the virtues conducive to benefits in benefits in the present, virtues leading to temporal welfare. 3. Competencies analyzed were as follows: (1) The Strength; the resources in the community that can be used as products or services, the desire of the villagers to obtain a better live, a high degree of unity, and participation; (2) The Weakness; a lack of attitudes to base themselves on, a lack of high Quality community leaders, insufficient capital, a lack of strategic planning, a lack of efficacious production processes, insufficient marketing and management, lack of knowledge and wisdom and systematic management; (3) The Opportunity; the current economic sufficiency, the government policy, the degree to which SMCE products are well known; and (4) The Threat; discontinuity of policies, lack of labor, high competition, lack of qualified personnel, and the risk of imitation.en
dc.journalวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ = VRU Research and Development Journal
dc.page5-20.
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น