กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/225
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาแนวทางและรูปแบบการจัดการส่งเสริมสุขภาพของนิสิตที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและกลุ่มอาการเมตะบอลิค
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พิสิษฐ์ พิริยาพรรณ
เวธกา กลิ่นวิชิต
พวงทอง อินใจ
ขันทอง สุขผ่อง
จงจิตร อริยประยูร
อดุลย์ คร้ามสมบุญ
คนึงนิจ อุสิมาศ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
คำสำคัญ: สุขภาพ - - ความเสี่ยง - - วิจัย
โรคเบาหวาน
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยคร้งนี้ เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการส่งเสริมสุขภาพของนิสิตที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานและกลุ่มอาการเมตะบอลิค มหาวิทยาลัยบูรพา ประชากร คือ นิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา ชั้นปีที่ 1 ที่มารับบริการตรวจสุขภาพก่อนเข้ารับการศึกษาในมหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 5,762 คน มี Inclusion Criteria ตามเกณฑ์ของ International Diabeter Federation (IDF) และเกณฑ์ของ American Heart Association (AHA) ร่วมกับ National Heart Lung and Blood Institutes (NHLBI) ของประเทศสหรัฐอเมริกาเกณฑ์ของ NCEP ATPIII ในการวินิจฉัย metabolic syndrome ซึ่งจากการคัดกรอง พบว่า นิสิต จำนวน 341 มีขนาดของเส้นรอบเอวเกินมาตรฐาน คิดเป็นร้อยละ 5.91 ความดันโลหิตสูง จำนวน 141 คน คิดเป็นร้อยละ 2.45 นิสิตที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและกลุ่มอาการเมตะบอลิค และสมัครใจในการเข้าร่วมโครงการวิจัย จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้คือ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกการตรวจร่างกายและการตรวจทางห้องปฏิบัติการ แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับสาเหตุและปัจจัยการเกิดโรคภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ของโรค พฤติกรรมการจัดการการดูแลตนเอง การส่งเสริมสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมในการดูแลด้านสุขภาพของนิสิตซึ่งทำการตรวจสอบเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นค่าสถิติความถึ่และร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหาที่ได้จากการสัมภาษณ์ (Content analysis) ซึ่งได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลในระหว่างเดือนตุลาคม 2550-กันยายน 2552 เป็นระยะเวลา 2 ปี เนื่องจากมีข้อจำกัดในการทำความเข้าใจกับกลุ่มตัวอย่างและการนัดหมายเพื่อคัดกรองนิสิตตามเกณฑ์ของการวิจัย ผลการศึกษาวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างทุกคนมีขนาดเส้นรอบเอวเกินมาตรฐาน โดยมี BMI ในระดับ1a (25.0-29.99) มากที่สุด จำนวน 21 คน (ร้อยละ 10.50) รองลงมาคือ ระดับ 1b (30.0-34.99) จำนวน 15 คน (ร้อยละ 7.50) มีภาวะความดันโลหิตสูง ร้อยละ 24 โดยเพศชาย มีวามดันโลหิตสูง และระดับไขมันในเลือดที่ผิดปกติ มากกว่าเพศหญิง ไม่พบนิสิตมีค่าระดับน้ำตาลในเลือดสูงและภาวะเมตะบอลิค จากการประชุมทีมสหสาขาวิชาชีพและปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน ทดลองใช้ผ่านการระดมความคิดเห็นจากนิสิตที่มีภาวะเสี่ยงและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เพื่อปรับแก้ให้รูปแบบให้มีความเหมาะสม ครอบคลุมคำนึงถึงผลประโยชน์ของนิสิตที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานและกลุ่มอาการเมตะบอลิคเป็นหลัก ก่อนนำไปเผยแพร่นั้น ได้รูปแบบการจัดการส่งเสริมสุขภาพของนิสิตที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานและกลุ่มอาการเมตะบอลิคที่มุ่งเน้นใน 3 ประเด็นหลัก คือ 1) การปรับเปลี่ยนวิธีคิดและการควบคุมจิตใจของตน 2) สร้างวินัยการออกกำลังกาย และ 3) การรับประทานอาหาร โดยเปรียบเสมือนรถยนต์ รูปแบบพัฒนาส่งเสริมสุขภาพตนเองให้ผู้นำรูปแบบไปใช้ให้นึกเปรียบเสมือนรถยนต์ที่เราต้องการ สร้างให้มีสมรรถนะสูง รูปลักษณ์ปราดเปรียว ทันสมัย พลังงานเต็มถัง และมีคนขับที่มีความรู้ ทักษะ และชำนาญในการขับขี่อย่างมีทิศทาง แล่นไปตามถนนชีวิตได้อย่างไม่ประมาท ความพอเพียงและมีความสุขตลอดเส้นทาง โดยมีรายละเอียดในกรอบแนวคิดปรัชญาสุขภาพแบบพอเพียงในแต่ละประเด็น คือ ความพอประมาณ เป็นการปฏิบัติโดยยึดหลักทางสายกลาง หลีกเลี่ยงความเสี่ยง แบ่งปันข้อมูล ความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับวิธีคิดและการควบคุมจิตใจ การรับประทานอาหาร การออกกำลังกายและไม่เบียดเบียนใคร สร้างเครือข่ายและเข้าร่วมสังคม ชุมชน ความมีเหตุผล เปป็นวิธีคิดโดยใช้กฎที่สำคัญที่สุดคือ " เราจะเป็นในสิ่งที่เราคิด" และควบคุมจิตใจและอารมณ์ของตนเองอยู่ตลอดเวลา การเสาะแสวงหาความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับสภาวะสุขภาพของตนเองที่เป็นอยู่ และมีความสามารถในการตรวจสอบภาวะโภชนาการและมีวินัยในการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การสร้างภูมิคุ้มกัน โดยใช้แนวคิด Positive tinking มีสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจให้มีกำลังใจ ให้เวลาในการคิดดี มีคุณประโยชน์ และสร้างคุณค่าให้แก่ตนเอง และการเห็นความสำคัญของการพักผ่อนหย่อนใจ เป็นอาสาสมัครช่วยดูแลสุขภาพของผู้อื่น มีที่ปรึกษา/ ให้ข้อมูลความรู้/ เป็นที่พึ่งทางความรู้ด้านโภชนาการและการออกกำลังกาย ให้ความสำคัญกับการเลือกรับประทานอาหารและการออกกำลังกายที่เหมาะสม บนพื้นฐานของคุณธรรมนำความรู้ ให้ผู้มีสติ-รู้เท่าทันโรค มีความฉลาด-รู้เท่าทันอารมณ์ตนเอง มีวินัย ขยัน-รู้วิธีการปฏิบัติตนที่ถูกต้อง และมีความสุข-รู้คุณค่าในชีวิตของตนและผู้อื่น
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/225
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2566_099.pdf2.9 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น