กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2205
ชื่อเรื่อง: บทละครเวทีที่เสนอทัศนะทางสังคมและการเมืองต่อเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ และ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อภิรักษ์ ชัยปัญหา
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ: การเมือง
บทละคร
ละครเวที
สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2553
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาละครเวทีที่เสนอทัศนะทางสังคมและการเมืองต่อเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ และ ๖ตุลาคม ๒๕๑๙ ที่ยังปรากฏหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร ๖ เรื่อง ได้แก่ ก่อนอรุณจะรุ่ง, คือผู้อภิวัฒน์, ความฝันกลางเดือนหนาว, OCT. ๖๑๐๒๕๑๙ สอบถามยอดค้างชำระ โดยพระจันทร์เสียวการละคร, นายซวย ตลอดศกโดยกลุ่มละครมะขามป้อม และบันทึกบนสนามหญ้าสีแดง โดยวิชญ์พล ดิลกสัมพันธ์ โดยกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ (๑) ศึกษาจุดมุ่งหมายในการสร้างสรรค์ (๒) เพื่อศึกษาการนำเสนอเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ และ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ ในบทละคร (๓) ศึกษาลักษณะเด่นด้านองค์ประกอบของบทละคร ผลการศึกษาพบว่าบทละครเวทีกลุ่มนี้ส่วนใหญ่สร้างสรรค์หรือปรับปรุงใหม่เพื่อใช้ในการแสดงเนื่องในโอกาสการรำลึกถึงเหตุการณ์ทั้งสอง ผู้ประพันธ์นำเสนอเหตุการณ์ในสองลักษณะ ได้แก่ การอธิบายกระบวนการและการแสดง ผลกระทบ บทละครส่วนใหญ่มักนำเสนอแนวคิดเรื่องการล่มสลายของครอบครัวไทยอันเกิดจากเหตุการณ์ดังกล่าวผู้ประพันธ์มักกำหนดให้ตัวละครสำคัญเป็นชนชั้นล่างหรืชนชั้นกลาง และกำหนดให้มีอาชีพชาวนา นักการเมือง ทหาร ตำรวจ พ่อค้า และนักศึกษา ความขัดแย้งมักเป็นเรื่องชนชั้นทางสังคม มีการนำเพลงที่ใช้ในเหตุการณ์ทั้งสองมาบรรจุเพื่อสร้างบรรยากาศการนำเสนอมักไม่เน้นแนวสมจริง ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากการละครเอพิคของแบร์ทอลท์เบรคชท์ การศึกษาครั้งนี้ทำให้ทราบถึงบทบาทของศิลปินด้านศิลปะการแสดงร่วมสมัยของไทยที่มีต่อเหตุการณ์ข้างต้น นอกเหนือจากคุณค่าทางด้านสุนทรียรสที่ได้ในฐานะวรรณกรรมการละคร
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2205
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
127-148.pdf2.35 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น