กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2195
ชื่อเรื่อง: แนวคิดปฏิฐานนิยมเชิงตรรกะ: รากฐานการวิจัยทางสังคมแบบวิทยาศาสตร์
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เรวัต แสงสุริยงค์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ: ตรรกวิทยา
ปฏิฐานนิยม
สังคมศาสตร์ - - วิจัย
สาขาสังคมวิทยา
วันที่เผยแพร่: 2550
บทคัดย่อ: การวิจัยทางสังคมแบบวิทยาศาสตร์เป็นการค้นหาความรู้วีการหนึ่งที่ได้รับความนิยมในกลุ่มนักสังคมสงเคราะห์ วิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นวิธีการในการวิเคราะห์หาเหตุผลโดยใช้หลักฐานที่ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนและเป็นที่ยอมรับรับด้วยหลักตรรกะ ในความเป็นจริงอาจกล่าวได้ว่า วิธีการทางวิทยาศาสตร์คือ ตรรกะประยุกต์ (Applied Logic) ที่ถูกนำมาใช้อย่างได้ประสบผลสำเร็จในด้านวิทยาศาสตร์ และมีการนำไปใช้ในสาขาวิชาอื่น ๆ อย่างแพร่หลาย วิธีการศึกษาดังกล่าวจะทำให้ได้ความรู้ทางสังคมที่เป็นวัตถุวิสัย (Objective) ซึ่งจะทำให้รับความรู้ทางสังคมที่ปราศจากอิทธิพลของอภิปรัชญา (Metaphysical) อุดมการณ์ (Ideological) เทววิทยา (Religious) และค่านิยมทางศีลธรรม (Moral Values) แต่ก็มีข้อโต้แย้งว่า วิธีการทางวิทยาศาสตร์มองสิ่งที่ศึกษาไม่ว่าจะเป็นคนหรือวัตถุเป็นโลกของวัตถุ (Object) เหมือนกันหมด ซึ่งไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้กับโลกของปรากฏการณ์ทางสังคมที่เป็นสิ่งมีชีวิตจิตใจ (Subject) ที่ต้องให้ความสำคัญกับความคิดที่แตกต่างกันของปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มคนในสังคม
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2195
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
119-143.PDF27.4 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น