กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2191
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | ภารดี มหาขันธ์ | |
dc.contributor.author | สุเนตร สุวรรณละออง | |
dc.contributor.author | Lee Jeong Yoon | |
dc.contributor.author | จรัล ฉกรรจ์แดง | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T09:12:45Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T09:12:45Z | |
dc.date.issued | 2552 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2191 | |
dc.description.abstract | การวิจัยเรื่องอัตลักษณ์ไทยที่ปรากฏในนโยบายต่างประเทศยุคปรับปรุงประเทศ (รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ตามแบบตะวันตก มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ไทยในยุคปรับปรุงประเทศของไทยในช่วงที่ถูกจักรวรรดินิยมตะวันตกคุกคาม และเพื่อศึกษาหารนำอัตลักษณ์ไทยมาใช้ในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ และผลที่ได้รับ ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ (Historical Method) โดยรวบรวมข้อมูลและเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ทั้งเอกสารชั้นต้น และชั้นรอง ผลของการวิจัยพบว่า ในยุคปรับปรุงประเทศ พระบาทสมเด็กพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็กพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนำอัตลักษณ์ไทยมาใช้ในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ เพื่อผ่อนปรนการดำเนินนโยบายต่างประเทศ เพื่อผ่อนปรนความตึงเครียดอันเกิดจากการคุกคามของจักรวรรดินิยม ตะวันตกแทนที่จะใช้วิธีการต่อสู้กับประเทศมหาอำนาจด้วยกำลังเหมือนประเทศเพื่อนบ้าน อัตลักษณ์ไทยที่นำมาใช้ ได้แก่ ๑. การประนีประนอม ๒. การถ่วงดุลอำนาจ ๓. การประสานประโยชน์ พระมหากษัตริย์ไทยทรงใช้วิธีการประนีประนอมตามความต้องการของจักรวรรดินิยมตะวันตก ด้วยการยอมเสียดินแดนที่เคยเป็นรัฐบรรณาการของไทยให้แก่ฝรั่งเศส และอังกฤษ ยอมขายข้าวเป็นสินค้าส่งออก และยอมให้สิทธิเสรีภาพนอกอาณาเขตแก่คู่สัญญา พระองค์ยังทรงใช้อัตลักษณ์ไทยในการประสานประโยชน์ด้วยการยอมรับความรู้ วิธีวิทยา และเทคโนโลยีหลายด้าน จากจักรวรรดินิยมตะวันตก ผลของการดำเนินนโยบายดังกล่าวทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สามารถดำรงรักษาเอกราชไว้ได้ และยังนำประเทศเข้าสู่ยุคใหม่ตามแบบตะวันตกทั้งในด้านการเมืองการปกครอง ด้านสังคม และด้านเศรษฐกิจได้อีกด้วย | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.subject | นโยบายต่างประเทศ - - ไทย | th_TH |
dc.subject | อัตลักษณ์ | th_TH |
dc.subject | สาขาสังคมวิทยา | th_TH |
dc.title | อัตลักษณ์ไทยที่ปรากฎในนโยบายต่างประเทศยุคปรับปรุงประเทศตามแบบตะวันตก | th_TH |
dc.type | บทความวารสาร | th_TH |
dc.issue | 27 | |
dc.volume | 17 | |
dc.year | 2552 | |
dc.journal | วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.page | 171-185. | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น