กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2159
ชื่อเรื่อง: | นางมโนห์รา : การศึกษาเชิงวิเคราะห์ |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สิริวรรณ วงษ์ทัต มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | กลอนสวด คติชาวบ้าน วรรณกรรม ศิลปะการใช้ภาษา สาขาปรัชญา |
วันที่เผยแพร่: | 2549 |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาและวิเคราะห์วรรณกรรมกลอนสวดเรื่อง นางมโนห์รา ฉบับจังหวัดจันทบุรี เนื้อหางานวิจัยแบ่งเป็น 5 บท บทที่ 1 บทนำ กล่าวถึงความสำคัญของปัญหาและความมุ่งหมาย บทที่ 2 ภูมิหลังต้นฉบับเรื่องมโนห์รา บทที่ 3 ศึกษาวิเคราะห์เรื่อง มโนห์ราเชิงวรรณกรรม บทที่ 4 ศึกษาวิเคราะห์เรื่องมโนห์ราเชิงสังคม บทที่ 5 สรุปและข้อเสนอแนะ ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าต้นฉบับลายมือเรื่องมโนห์ราบันทึกเป็นอักษรไทย ภาษาไทย สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น รูปแบบอักษร อักขรวิธีแตกต่างจากปัจจุบัน วิธีการเขียนคำส่วนใหญ่เขียนตามการออกเสียง มีการใช้เครื่องหมายแทนสระ และเครื่องหมายประกอบการเขียน กลวิธีสการประพันธ์ใช้คำประพันธ์ประเภทกาพย์ การใช้กวีโวหาร และมีการใช้วิธีการเขียนที่เป็นลักษณะเฉพาะของผู้แต่งด้วย รูปแบบการแต่งเป็นไปตามรูปแบบของวรรณกรรมและนิทานชาดก กลวิธีการสร้างเรื่องทั้งโครงเรื่อง เนื้อเรื่อง ฉาก ลักษณะนิสัย พฤติกรรมของตัวละครเกี่ยวโยงสัมพันธ์กัน และแสดงถึงสารัตถะสำคัญของเรื่องอย่างชัดเจน คือ ความรัก สารัตถะรอง คือ การพลัดพราก และการผจญภัย แนวเรื่องเป็นแบบวรรณคดีไทยโบราณ โดยเฉพาะแนวการพลัดพราก คือการพลัดพรากระหว่างพระเอกกับนางเอก ตัวละครในเรื่องมีทั้งมนุษย์และอมนุษย์ บทบาทของตัวละครกำหนดประเภทของตัวละครอย่างชัดเจน คือ ตัวละครเอก ตัวละครประกอบ ตัวละครฝ่ายดี ตัวละครฝ่ายร้าย ด้านการศึกษาวิเคราะห์ในเชิงสังคมปรากฎความเชื่อของสังคมไทย มีทั้งความเชื่อทางพุทธศาสนา ไสยศาสตร์ โหราศาสตร์ ด้านค่านิยมของสังคมไทยมีทั้งค่านิยมในอดีต และค่านิยมที่ยังประพฤติปฏิบัติอยู่ในปัจจุบัน ด้านวัฒนธรรม ประเพณีไทย ปรากฎประเพณี วัฒนธรรมไทย ด้านต่าง ๆ สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของคนไทย และบ่งบอกถึงความเป็นไทยอย่างเด่นชัด |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2159 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
67-105.PDF | 32.84 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น