กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2157
ชื่อเรื่อง: เกณฑ์ตัดสินคุณค่าของมนุษย์ตามทัศนะของเพลโตกับพุทธศาสนา
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ขันทอง วิชาเดช
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ: ปรัชญา
มนุษย์ (พุทธศาสนา)
มนุษย์
มโนคติ
เปลโต
สาขาปรัชญา
วันที่เผยแพร่: 2549
บทคัดย่อ: ความคิดทางปรัชญาที่สำคัญซึ่งเป็นแก่นความคิดของเพลโตก็คือเรื่อง “แบบ (Form) หรือ มโนคติ (idea)” แบบ หมายถึง สภาวะที่มีอยู่จริงดำรงอยู่จริงได้ด้วยตัวเอง เป็นศูนย์รวมของแบบทุกชนิด เช่น แบบของความงาม แบบของความดี แบบของคนและสัตว์ เป็นต้น และข้อสำคัญแบบเป็นแม่แบบ แม่พิมพ์ของสรรพสิ่ง สิ่งเฉพาะทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในโลกแห่งประสบการณ์ที่เราพบเห็นกันอยู่ทุกวันนี้ ล้วนถ่ายแบบหรือถูกจำลองมาจากโลกแห่งแบบซึ่งอยู่เบื้องหลังโลกแห่งประสบการณ์ในฐานะเป็นสารัตถะที่สำคัญ ดังนั้น เป้าหมายสูงสุดที่มนุษย์ต้องก้าวไปให้ถึงในทัศนะของเพลโตก็คือการบรรลุสู่ “โลกแห่งแบบ” แต่เป็นแบบแห่งความดี และความสุขสูงสุด เพราะนั่นเป็นสัจธรรมอันคงมั่นนิรันดร สำหรับพุทธศาสนาอธิบายว่า มนุษย์มาจากพรหมชั้นอาภัสสระดังปรากฏในพระสูตรชื่อ “อัคคัญญสูตร” แต่เมื่อสาวถึงต้นเค้าแห่งความเป็นมาของมนุษย์จะพบว่า พรหมชั้นอาภัสสระก็มาจากมนุษย์ตามระยะความเสื่อมและความเจริญของโลก ความเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ในทำนองสูง ๆ (เป็นพรหม) ต่ำ ๆ (เป็นมนุษย์) ล้วนเกิดจาก จริยธรรมของปัจเจกบุคคล
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2157
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
29-48.PDF19.39 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น