กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2145
ชื่อเรื่อง: | สถานภาพและบทบาทการสื่อสารเพื่อความเป็นพลเมืองของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในภาคตะวันออก |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | A status and role of a communication for civics in local newspaper in the Eastern part of Thailand |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุกัญญา บูรณเดชาชัย มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การสื่อสาร หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น สื่อมวลชน สื่อมวลชนท้องถิ่น สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2552 |
บทคัดย่อ: | การศึกษาเรื่อง “สถานภาพและบทบาทการสื่อสารเพื่อความเป็นพลเมืองของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในภาคตะวันออก” (Quantitative Research) กำหนดแบบแผนการวิจัยเป็นการวัดผลครั้งเดียว (One shot study) มีวัตถุประสงค์ ๔ ข้อ ได้แก่ (๑) เพื่อสำรวจสถานภาพของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในเขตภาพตะวันออก (๒) เพื่อศึกษาบทบาทการสื่อสารเพื่อความเป็นพลเมืองของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในเขตภาคตะวันออก (๓) เพื่อศึกษาปัจจัยเกื้อหนุนและปัจจัยขัดขวางสู่การพัฒนาสถานภาพทางธุรกิจของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นและบทบาทการสื่อสารเพื่อความเป็นพลเมือง และ (๔) เพื่อศึกษาผลกระทบจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ ที่มีต่อหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นประชากร คือ ผู้บริหารของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในภาคตะวันออกที่ผลิตหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นประชากร คือ ผู้บริหารของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในภาคตะวันออกที่ผลิตหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นเผยแพร่อย่างต่อเนื่อง จำนวน ๓๙ ชื่อ (ฉบับ) ฉบับๆละ ๑ คน รวม ๓๙ คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลโดยทดสอบสมมติฐานด้วยค่าไคสแควร์ (Chi-square) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ ๙๕ ผลการวิจัยพบว่า สถานภาพของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในเขตภาคตะวันออกส่วนใหญ่ยังไม่สามารถยืนหยัดอยู่ได้โดยการประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์อย่างเดียว แต่มักจะต้องประกอบวิชาชีพอื่นควบคู่ไปด้วย ซึ่งอาจจะเป็นการทำสื่อ นอกจากนี้ยังพบว่าสวัสดิการต่างๆในองค์กรสำหรับพนักงานมีน้อย การพัฒนาบุคลากรก็มีน้อยเช่นกัน รายได้หลักของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นยังคงมาจากการโฆษณาและการทำธุรกิจอื่นมาเสริม สำหรับผลกระทบของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พบว่ามีผลกระทบต่อหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในภาคตะวันออกอยู่บ้าง นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเกื่อหนุนหลายประการที่ส่งเสริมให้หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในภาคตะวันออกสามารถแสดงบทบาทของสื่อมวลชน ได้แก่ การที่ผู้ประกอบวิชาชีพส่วนใหญ่เป็นผู้ที่รักและสนใจในงานทางด้านหนังสือพิมพ์ มากกว่าครึ่งทำงานหนังสือพิมพ์อย่างต่อเนื่องมามากกว่า ๓๐ ปี และแม้งานหนังสือพิมพ์จะไม่ทำให้เกิดกำไรมากนัก แต่นักหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นยังคงมุ่งมั่นในการทำงาน อีกทั้งยังเป็นสมาชิกองค์กรวิชาชีพเพื่อผลประโยชน์ในการจัดทำหนังสือพิมพ์ อย่างไรก็ตามยังพบว่าหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในภาคตะวันออกมีปัจจัยด้านรายได้และการถูกแทรกแซงถูกข่มขู่จากผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่นที่ขัดขวางการพัฒนาสถานภาพของหนังสือพิมพ์ เพื่อแสดงบทบาทในการสื่อสารถึงความเป็นพลเมือง ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัย จากการทดสอบสมมติฐานพบว่า ๑. ผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างการมีภูมิหลังการศึกษาสายนิเทศศาสตร์กับสถานภาพของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในภาคตะวันออกพบว่า การมีภูมิหลังการศึกษาสานนิเทศศาสตร์ของผู้บริหารหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในภาคตะวันออก มีความสัมพันธ์กับการที่หนังสือพิมพ์ในภาคตะวันออก มีความสัมพันธ์กับการที่หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในภาคตะวันออกมีสถานภาพทางธุรกิจในระดับเข้มแข็งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ ๐.๐๕ (X2 = 2.32, p.0.04) โดยเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อสถานภาพความเข้มแข็งที่ระดับ ๒๙.๔๐ ๒. ผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างสถานภาพนิติบุคคลของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในภาคตะวันออกกับสถานภาพหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในภาคตะวันออก พบว่า การดำเนินกิจการหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นภายใต้รูปแบบการจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจส่วนบุคคล มีความสัมพันธ์กับการที่หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นท้องถิ่นในภาคตะวันออกมีสถานภาพทางธุรกิจในระดับเข้มแข็งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ ๐.๐๕ (X2 = 2.57, p.0.03) โดยเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อสถานภาพความเข้มแข็งที่ระดับ ๑๘.๕๐ ๓. ผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างวาระการเผยแพร่หนังสือพิมพ์กับสถานภาพของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในภาคตะวันออก พบว่า การมีวาระเผยแพร่ต่อรอบไม่เกิน ๑๕ วัน มีความสัมพันธ์กับการที่หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในภาคตะวันออกมีสถานภาพทางธุรกิจในระดับที่เข้มแข็งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ ๐.๐๕ (X2 = 1.79, p.0.03) โดยเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อสถานภาพความเข้มแข็งที่ระดับ๑๘.๕๐ ๔. ผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างการยึดมั่นในจรรยาบรรณวิชาชีพสื่อกับสถานภาพของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในภาคตะวันออก พบว่า การยึดมั่นในจรรยาบรรณวิชาชีพสื่อมีความสัมพันธ์กับการที่หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในภาคตะวันออกมีสถานภาพทางธุรกิจในระดับเข้มแข็งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ (X2 = 2.23.p.0.04) โดยเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อสถานภาพความเข้มแข็งที่ระดับ ๑๗.๑๐ A research on ‘A status and role of a communication for civics in local newspaper in Eastern Part of Thailand’ was a quantitative research. The methodology was a one shot study. It included 4 objectives which were as following: (1) to study a status of local newspaper in Eastern regional (2) to explore the role of communications for a citizen of local newspaper in Eastern regional (3) to investigate the factors that support and obstruct the development of a business status of local newspaper and a citizen’s communication role and (4) to study the Thai’s 2008 constitution that impacted on local newspaper. The sampling was top executives in 39 local newspaper business of Eastern regional who had been continually working in this business. Questionnaire was used as a tool. Content analysis by testing the hypothesis with chi-square and analyzed with One-way ANOVA at 95% confidence interval. The results revealed that a status of most executives of local newspaper in Eastern regional could not survive by being only a journalist. They had another job at the same time. Sometimes they worked in other media or other business that were not related to media. Besides, the welfare for employee was very poor, so did the staff development. The main income of local newspapers was still from advertising and other extra business. For the impact of Thai’s constitution, the result revealed that it had impact on local newspaper in Eastern regional. Furthermore, there were several support factors that encourage local newspaper in Eastern regional to act as a mass media. Most executives loved to be in newspaper business. They were passionately interesting to work in this field. More than half of them had been in this business for over 30 years. Despite the fact that working in newspaper did not make a lot of profit, local journalist still strived to work on it. They were also a member of press organization to help getting benefit for producing a newspaper. However, the results revealed that local newspaper in Eastern regional were stricken by the income and were threaten by the local authorities who interfered the development of newspaper’s status which tried to act as a media for citizen. The results of testing on the hypothesis revealed as following: 1. The results of the educational background of executives on Communication Art related to a status of local newspaper revealed that it helped to relate local newspaper to have a strong business status in significant statistic at 0.05 (X2 = 2.32, p.0.04) with the factors that related to strong status at a percentage of 29.40 2. The results of the testing on the coherence between local newspaper itself and it’s status revealed that local newspaper was managed under the notarization of personal enterprise that related to the local newspaper to have a strong business status in significant statistic at 0.05 (X2 = 2.57, p.0.03). This factors was related to a strong status at a percentage of 18.50 3. The results of the testing between the period of newspaper’s exposure and a status of the newspaper revealed that the period of less than 15 days related to the local newspaper to have a strong business status in significant statistic at 0.05 (X2 = 1.79, p.0.03). This factors was related to a strong status at a percentage 18.50 4. The results of the testing between the adherence in ethics and a status of local newspaper revealed that the adherence in ethics helped to relate local newspaper to have a strong business status in significant statistic at 0.05 (X2 = 2.23.p.0.04). This factors was related to a strong status at a percentage 17.10 |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2145 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น