กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2116
ชื่อเรื่อง: การเปลี่ยนแปลงอุทกวิทยาลุ่มน้ำจากโครงการขุดคลองไทยเส้นทาง ๙A
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บุญเชิด หนูอิ่ม
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ: การจัดการลุ่มน้ำ
การพัฒนาลุ่มน้ำ
ลุ่มน้ำ
อุทกวิทยา
วันที่เผยแพร่: 2555
บทคัดย่อ: การเปลี่ยนแปลงอุทกวิทยาลุ่มน้ำจากโครงการชุดคลองไทยเส้นทาง ๙A เป็นการคาดการณ์ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อระบบอุทกวิทยาลุ่มน้ำฝั่งทะเลอันดามัน และลุ่มน้ำฝั่งอ่าวไทย โดยนำแบบจำลอง SWAT MODEL มาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์อุทกวิทยาลุ่มน้ำ ทั้งนี้ได้มีการปรับเทียบข้อมูลจากแบบจำลอง SWAT MODEL กับข้อมูลอัตราการไหลของน้ำจากสถานีวัดน้ำท่าในข่วงปี พ.ศ. ๒๕๔๔-๒๕๔๙ จำนวน ๒ สถานี X๖๘ อยู่ในพื้นที่คลองท่าแค สถานีบ้านท่าแค อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง มีค่าความสัมพันธ์ เท่ากับ ๐.๖๒๕ และสถานี X๑๙๕ อยู่ในพื้นที่แม่น้ำตาปี สถานีบ้านต้นโพธิ์ อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีค่าความสัมพันธ์ เท่ากับ ๐.๖๗ มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ ผลการศึกษาพบว่า อุทกวิทยาลุ่มน้ำฝั่งทะเลอันดามัน ก่อนมีโครงการขุดคลองไทยอัตราการไหลของน้ำท่าเฉลี่ยตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๐ – ๒๕๕๐ เท่ากับ ๘๖๐๑ ลบ.ม.ต่อวินาที และกรณีที่มีโครงการขุดคลองไทยอัตราการไหลของน้ำท่าเฉลี่ย เท่ากับ ๕๒.๙๒ ลบ.ม.วินาที ทำให้อัตราการไหลของน้ำท่าเฉลี่ยลดลงเท่ากับ ๓๓.๐๙ ลบ.ม.ต่อวินาที สำหรับอุทกวิทยาลุ่มน้ำฝั่งทะเลอ่าวไทยก่อนมีโครงการขุดคลองไทย อัตราการไหลของน้ำท่าเฉลี่ยตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๐ – ๒๕๕๐ เท่ากับ๑๙๗.๔๙ ลบ.ม.ต่อวินาที และกรณีที่มีโครงการขุดคลองไทย อัตราการไหลของน้ำท่าเฉลี่ย เท่ากับ ๙๖.๓๗ ลบ.ม.ต่อวินาที ทำให้อัตราการไหลของน้ำท่าเฉลี่ยลดลงเท่ากับ ๑๐๑.๑๒ ลบ.ม.ต่อวินาที สรุปได้ว่า โครงการขุดคลองไทยเส้นทาง ๙A จะมีผลต่อการลดลงของอัตราการไหลของน้ำท่าเฉลี่ยอย่างมีนัยสำคัญ
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2116
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
p95-108.pdf3.74 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น