กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2109
ชื่อเรื่อง: การปฏิวัติคิวบาและสงครามสเปน-อเมริกา
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: มัทนา เกษกมล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ: ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
คิวบา - - ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ - - สหรัฐอเมริกา
ปฏิวัติ - - คิวบา
สงครามสเปน-สหรัฐอเมริกา - - ค.ศ. 1898
สาขาสังคมวิทยา
วันที่เผยแพร่: 2554
บทคัดย่อ: บทความนี้มุ่งจะศึกษาการเข้าสู่สงครามกับสเปนของสหรัฐอเมริกา (ค.ศ.๑๘๙๘) เป็นเหตุการณ์หัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์การดำเนินนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา เหตุที่มาของสงครามนี้เกิดจากการปฏิวัติในคิวบาในปี ๑๘๙๕ ซึ่งเป็นความพยายามของชาวคิวบาที่จะขจัดการปกครองของชาวสเปนออกไป สหรัฐฯเข้าแทรกแซงเหตุการณ์การปฏิวัตินี้ ด้วยเหตุผลทางด้สนมนุษยธรรม คือต้องการให้สเปนยุติการปกครองที่กดขี่ในคิวบา การแทรกแซงได้นำไปสู่การประกาศสงครามกับสเปน สงครามส่งผลลัพธ์อย่างมหาศาลต่อคู่ต่อสู้ทั้งสอง สเปนสูญสิ้นความเป็นจักรวรรดิอาณานิคมที่ยิ่งใหญ่ของตนที่มีมานาน ส่วนสหรัฐฯก้ชยายอำนาจเข้าครอบครองดินแดนต่างๆ ในทะเลแคริบเบียนและในแปซิฟิก อันเป็นการยกฐานะของตนเองขึ้นสู่ความเป็น "มหาอำนาจระดับโลก" ทั้งหมดนี้สำเร็จเสร็จสิ้นในช่วงเวลาที่นับได้ว่าสั้นที่สุด และเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์สงครามที่เคยมีมา กระนั้นก็ดี การเป็นมหาอำนาจระดับโลกดังกล่าว มิได้ทำให้สหรัฐฯเข้ารับภาระในการรับผิดชอบสิ่งใหม่อันใดในระดับโลด ในช่วงทศวรรษแรกของศตวรรษที่ยี่สิบที่ติดตามมา สหรัฐฯยังแสดงให้เห็นว่า มีความระมัดระวังในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ และหลีกเลี่ยงการเข้าพัวพันและทำสัญญาเป็นพันธมิตรกับรัฐบาลต่างชาติ อันเป็นแนวทางที่เคยดำเนินมาแต่เก่าก่อน กระนั้น สงครามตรั้งนี้ก็ยังนับได้ว่า เป็นหลักหมายที่สะท้อนถึงทิศทางการดำเนินนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯที่เริ่มเปลี่ยนแปลงไป สหรัฐฯมิได้เป็นประเทศที่โดเดี่ยวตรเองอยู่ภายในเขตแดนของประเทศตนเท่านั้น แต่เข้าร่วมกิจกรรมล่าดินแดนอาณานิคมและตลาดต่างประเทศเช่นเดียวกับมหาอำนาจยุโรปอื่นๆ ทว่าความสนใจในการล่าอาณานิคมของสหรัฐฯมีอยู่เพียงขณะหนึ่งภายหลังสงครามเท่านั้น หลังจากนั้นมา สหรัฐฯมิได้ยึดดินแดนอาณานิคมใดๆอีก กล่าวได้ว่า การแสวงหาดินแดนอารณานิคมของสหรัฐฯเป็นเพียงสัญลักษณ์และผลลัพธ์ของทัศนคติและท่าทีใหม่ที่มีต่อโลก ซึ่งเกิดจากสภาวการณ์แวดล้อมทั้งภายในประเทศและนานาชาติที่เปลี่ยนแปลงไป The article aims to study a turning point in American foreign policy market by the Spanish-American War in 1898. The war thus begun for motives that primarily humanitarian and sentimental—to help the Cubans in their against the Spanish oppressive rule—was to have momentous consequence for both Spain and the United States. For Spain it meant the loss of the last remnants of its once great colonial empire. To the United States it brought the sudden assumption of unprecedented imperial responsibilities and the elevation to the status of “world power.” And all this was accomplished in one of the shortest and least costly wars in history. However, the acquisition of overseas territories in the Caribbean and the Pacific did not cause the United State’s assumption of new world responsibilities. In the first decade of the 20th century that followed, American diplomacy was essentially cautious and pragmatic in its relations with foreign governments. Nevertheless, the war did encapsulate the directions of the United States foreign policy. The United States ceased to be a land-bound and isolationist nation and be among the great European powers in the hunt for territories and foreign markets which were the order of the day. But the Americans were more tentative in their drive to annex colonies than did the European. And though the interest in foreign markets remained intense, the urge to add colonial possession soon passed. The acquisition of overseas territories was thus rather the result and symbol of the United States new attitude toward the world. Perhaps, this new attitude was less a reflection on the policy change on the part of the United States than on the transitional nature of contemporary world economy and international affairs.
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2109
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
p57-79.pdf7.74 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น