กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2108
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | ทัศนีย์ ทานตวณิช | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T09:12:39Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T09:12:39Z | |
dc.date.issued | 2554 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2108 | |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลทางประวัติศาสตร์ และภูมิปัญญาท้องถิ่นของตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ตั้งแต่เริ่มปรากฏชื่อเมือง บางพระในแผนที่โบราณจนถึงปัจจุบัน โดยใช้วิธีสืบค้นเอกสารและสัมภาษณ์ ผลการศึกษามีดังนี้ ในด้านประวัติศาสตร์ ชื่อบางพระเรืองปรากฏครั้งแรกในแผนที่ไตรภูมิสมันกรุงศรีอยุธยา บางพระเคยมีฐานะเป็นเมือง เป็นอำเภอ เป็นตำบล เป็นสุขาภิบาล ปัจจุบันเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล และเคยเป็นเทศบาล ในอดีตเคยมีการจัดตั้งหน่วยฝึกพลทหารขึ้นที่บางพระ พระมหากษัตริย์ที่เคยเสด็จประพาสบางพระ ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ที่มาของชื่อบางพระตามคำบอกเล่ากล่าวกันว่ามาจากลักษณะของหินที่คล้ายพระพุทธรูปซึ่งถูกบังไว้ข้างทางเกวียน และจากการเป็นศูนย์กลางทางพุทธศาสนาของวัดสว่างอารมณ์ ในด้านภูมิประเทศ การคมนาคม และการศึกษา สภาพพื้นที่ตำบลบางพระในอดีต เป็นป่าดงดิบ ประชาชนตั้งบ้านเรือนเป็นชุมชนเล็กๆ กระจายไปตามริมห้วนสุครีพซึ่งเป็นแหล่งน้ำจืดที่สำคัญ บางพระมีท่าเรือชายทะเลหลายแห่ง ชุมชนชายทะเลส่วนใหญ่เป็นชาวจีน หลังสงครามโลกครั้งที่๒ ป่าไม้ถูกทำลายอย่างรุนแรง และมีการตั้งโรงงานแป้งมันซึ่งสร้างมลภาวะอย่างมาก การคมนานคมในอดีตทางบกใช้เกวียน และม้า ทางเรือใช้เรือใบ ในด้านการศึกษา ศึกษาที่วัดบางพระ จนถึงประถมที่ ๓ ภูมิปัญญาพื้นบ้านของตำบลบางพระ ได้แก่ ภูมิปัญญาด้านการทำมาหากิน ภูมิปัญญาด้านการรักษาโรค ภูมิปัญญาด้านการกินอยู่ ภูมิปัญญาด้านศาสนา ความเชื่อ และประเพณี ภูมิปัญญาด้านภาษา วรรณกรรม และศิลปกรรม ภูมิปัญญาด้านการอยู่ร่วมกันในสังคม สถานที่สำคัญของบางพระประกอบด้วย สถานที่สำคัญทางศาสนา และวัฒนธรรม สถานที่สำคัญทางการทหาร สถานที่สำคัญทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.subject | ชลบุรี - - ศรีราชา - - ความเป็นอยู่และประเพณี | th_TH |
dc.subject | ภูมิปัญญาชาวบ้าน - - ไทย - - ชลบุรี | th_TH |
dc.subject | สาขาสังคมวิทยา | th_TH |
dc.subject | ไทย - - ชลบุรี - - ประวัติศาสตร์ | th_TH |
dc.title | ประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี | th_TH |
dc.title.alternative | History and local wisdom from Tumbol Bangphra, Amphur Si Racha, Chon Buri Province | |
dc.type | บทความวารสาร | th_TH |
dc.issue | 31 | |
dc.volume | 19 | |
dc.year | 2554 | |
dc.description.abstractalternative | The study was aimed to provide information regarding the history and local wisdom of people in Tambon Bangphra, Amphoe Sriracha, Chonburi Province from the time the name of “Bangphra Ruea” City first appeared on ancient maps up to present. The information was gathered though documents and interviews. The finding were as follows: Historically, the name “Bangphra Ruea” first appeared on Traipoom Map in Ayutthaya Period. Bangphra was a city, Amphoe, Tambol. It is now Bangphra Subdistrict Administrative Organization and Municipality. The Military Training Unit had been founded in Bangphra. The kings who have made trip to Bangphra were King Mongkut (Rama IV) and King Bhumibol Adulyadej. The name “Bangphra” was derived from both the feature of a rock similar to the Buddha image hidden by the track side and the state of being the Buddishist Center of Sawang Arom Temple. Physically, Tumbon Bangphra was covered with tropical rain forest. People lived in small communities along Sukleep canal which is the major source of water. There were many sea ports and people in seashore community are mostly Chinese. After World War Two, the area of forest was seriously damaged and starch production factories were built, which caused severe pollution. Carts and horses were used for land transportation and sailboats were used for water transportation. For education, the third grade at Wat Bangphra was the highest level available. Local wisdom in Tambon Bangphra includes Day to Day Living, Medical Treatment, Way of Living, Religion, Beliefs and Traditions, Language, Literature and Arts , and Social Interaction. Important places in Bangphra included important religious and cultural places military centers, economic and tourist places. | en |
dc.journal | วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.page | 31-55. | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
p31-55.pdf | 7.94 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น