กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2107
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | ภารดี มหาขันธ์ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T09:12:39Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T09:12:39Z | |
dc.date.issued | 2554 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2107 | |
dc.description.abstract | งานวิจัยเรื่อง การตั้งถิ่นฐานและพัฒนาการของภาคตะวันออกยุคต้น (ยุคก่อนประวัติศาสตร์-รัตนโกสินทร์ตอนต้น) เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) สืบค้น รวบรวมข้อสนเทศทางภูมิศาสตร์มานุษยวิทยา โบราณคดี และประวัติศาสตร์ ทั้งที่เป็นข้อมูลลายลักษณ์และมิใช่ลายลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับภาคตะวันออก 2) ตรวจสอบ วิพากษ์ วิเคราะห์ และสังเคราะห์ เพื่อให้ได้ทัศนภาพทางประวัติศาสตร์ (Historicaln Perspective) เกี่ยวกับภาคตะวันออก ที่ถูกต้อง ชัดเจน และมีพลวัต 3) เพื่อให้ได้องค์ความรู้เกี่ยวกับภาคตะวันออก ทั้งในด้านสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ พัฒนาการทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองการปกครอง ตั้งแต่ยุคประวัติศาสตร์จนถึง ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ (Historical Method) ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะที่ตั้งสัมพันธ์และความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของภาคตะวันออก ทำให้บริเวณนี้เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มานานนับหมื่นปีมาแล้ว การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาตร์ในภาคตะวันออก จำแนกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มที่อยู่ตามถ้ำและเพิงผา 2) กลุ่มที่อยู่ตามเนินดินบริเวณที่ราบเชิงเขา 3) กลุ่มที่อยู่ตามเนินดินที่ล้อมรอบด้วยป่าชายเลนหรือป่าโกงกางในยุคประวัติศาสตร์ก่อนสมัยราชอาณาจักรไทย พบร่องรอยของชุมชนที่พัฒนาขึ้นมาเป็นบ้านแล้วเป็นเมือง แถบลุ่มแม่น้ำบางปะกง ทั้งตอนล่างและตอนบน และลุ่มน้ำจันทบุรี (คลองนารายณ์) ลุ่มน้ำบางปะกงตอนล่าง มีชุมชนเมืองพระรถ เมืองพญาเร่ เมืองศรีพโล จังหวัดชลบุรีและชุมชนเมืองเกาะขนุน บ้านคูเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา ลุ่มน้ำบางปะกงตอนบน (ลุ่มน้ำปราจีบบุรี) มีชุมชนเมืองศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี เมืองไผ่ ปราสาทเข้าน้อย เขารัง จังหวัดสระแก้ว ลุ่มน้ำนครนายก มีเมืองดงละคร จังหวัดนครนายก ใต้จังหวัดสระแก้วลงมามี เทือกเขาจันทบุรีและเทือกเขาบรรทัดมีชุมชนเมืองสมัยทวารวดี-ลพบุรี ที่บริเวณวัดทอง ทั่ว เพนียด และวัดเพนียด สมัยประวัติศาตร์ไทยยุคต้น (สุโขทัย - รัตนโกสินทร์ตอนต้น) ในสมัยสุโขทัย แม้จะไม่ปรากฏชื่อเมืองในภาคตะวันออกแต่พบหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่ามีชุมชนเมืองเกิดขึ้นแล้วในชื่ออื่น แต่ในสมัยอยุธยาปรากฎชื่อเมืองปราจีนบุรี วัฒนานคร ตาพระยา อรัญประเทศ นครนายก ฉะเชิงเทรา ชลบุรี บางละมุง ระยอง จันทบุรี และตราด เมืองเหล่านี้มีบทบาทสำคัญต่อความมั่นคงปลอดภัยของอาณาจักรและประชาชน ตอนปลายสมัยอยุธยา ยังมีบทบาสำคัญในการกอบกู้เอกราช และสถาปนาศูนย์อำนาจทางการเมืองการปกครองใหม่ ณ กรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ในเวลาต่อมา พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของภาคตะวันออกทั้งตอนบนและตอนล่าง ในสมัยธนบุรี และรัตนโกสินทร์เกี่ยวข้องโดยตรงกับการรื้อฟื้นอำนาจของไทยในกัมพูชา และลาว เพราะภาคตะวันออกเป็นเส้นทางการเดินทัพทั้งทางบกและทางทะเล รวมทั้งเป็นแหล่งเสบียง พาหนะ และเป็นด่านป้องกันการล่วงล้ำเข้ามาของกองกำลังจากภายนอก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3 ) แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ไทยต้องทำสงครามกับเวียดนามด้วยเรื่องของกัมพูชาอยู่นานถึง 14 ปี จึงต้องทรงสร้างความเข้มแข็งมั่นคงให้กับพื้นที่ภาคตะวันออก ด้วยการยกบ้านให้เป็นเมือง และสร้างเมืองที่เป็นป้อมปราการเข้มแข็งเพื่อป้องกันศัตรูที่จะรุกเข้ามาทางทะเลอีกด้วย | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.subject | การตั้งถิ่นฐาน - - ไทย (ภาคตะวันออก) | th_TH |
dc.subject | การตั้งถิ่นฐานก่อนประวัติศาสตร์ - - ไทย (ภาคตะวันออก) | th_TH |
dc.subject | ไทย (ภาคตะวันออก) - - ประวัติศาสตร์ | th_TH |
dc.subject | สาขาสังคมวิทยา | th_TH |
dc.title | การตั้งถิ่นฐานและพัฒนาการของภาคตะวันออกยุคต้น (ยุคก่อนประวัติศาสตร์-รัตนโกสินทร์ตอนต้น) | th_TH |
dc.type | บทความวารสาร | th_TH |
dc.issue | 31 | |
dc.volume | 19 | |
dc.year | 2554 | |
dc.description.abstractalternative | This qualitative research entitled "The Settlment and Development of Eastern Region from Prehistoric Period to the Beginning of Rattanakosin Era" is aimed 1) to explore and to collect both written and non written information on geography, anthropology, archeology and history of the eastern region ofThailand 2) to examine, to criticize, to analyze and to synthesize for dynamic and correct historical perspective of the region, and 3) employing historical method, to establish knowledge about geographic environment, development of economy and society including politics and goverment from prehistoric period to the beginning of Rattanakosin Era. The outcome shows that the location is related to the abundance of natural resources and for more than thousands years that the physical surrounding has made the region the community. The settlement of prehistoric people can be categorized into 3 groups : 1) those who resided in cave and under scarp shed 2) those who resided on molehill in plateau and 3) those who resided on molehill surrounded by mangrove forest. In historic period (before Siamese Kingdom period ), evidences of communities have been found in both upper and lower parts of the Bang Pakong River Basin and the Chanthaburi River Basin (klong Narai Canal). Around lower the Bang Pakong River Basin, there were Muang phra Rod, Muang Phya Ray, Muang Si Phalo in Chon Buri Province and Ko Khanun in Ban Khu Muang, Chachoengsao Province. Around upper the Bang Pakong River Basin (Prachin Buri Watershed), there were Muang Si Mahosot, in Prachin Buri Province, Ban Muang Pai, Prasat Kao Noi, and Prasat Kao Rang in Sa Kaew Province. Around the Nakhon Nayok River Basin, there was Muang Dong Lakhon in Nakhon Nayok Province. Sa kaew Province downward, around the Chanthaburi Mountain Range and the Bantad Mountain Range, there were a number of communities in Dhavaravati to Lop Buri Eras around Wat Thong Tua Temple area in Pha Niat Ancient City and Wat Pha Niat Temple. During the beginning of Thai historic period (from Sukhothai to the beginning of Rattanakosin period, although there is no any name of community or city recorded, there is evidence showing the existence of community. In Ayudhya period, city names like Prachin Buri, Wattana Nakhon, Ta Phraya, Aranyaprathet, Nakhon nayok, Chacheongsao, Chon Buri, Bang Lamung, Rayong, Chanthaburi and Trat. These communities played important role in securing the kingdom and its subjects, and also, at the end of Ayudhaya period, in restoring sovereignty and in establishing new administration center in Thon Buri and later Rattanakosin. During Thon Buri and Rattanakosin, the historic development of the eastern part of Thailand was directly related to restitution of Siamese power in Cambodia and Laos because this region was the passage area for both land water troops. Moreover, it was also the provision, the means of tranportation and the frontier area. In the reign of King Rama III, because the Siamese had fought against Vietnamese for the dispute of power over Cambodia for 14 years, the King had royal command to strengthen the eastern region by upgrading simple communities to become cities and establishing new cities with stable forts for preventing the enemy invasion via the coastal areas. | en |
dc.journal | วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.page | 7-29. | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น