กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2088
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorกุหลาบ รัตนสัจธรรม
dc.contributor.authorวารุณี ช้างใหญ่
dc.contributor.authorชิงชัย เมธพัฒน์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:12:38Z
dc.date.available2019-03-25T09:12:38Z
dc.date.issued2556
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2088
dc.description.abstractการวิจัยผสมปริมาณและคุณภาพนี้ เพื่อศึกษาสมรรถนะและข้อมูลในการกำหนดสมรรถนะนักสาธารณสุขที่คาดหวัง เตรียมรองรับสถานการณ์ประชาชนมีอายุขัยเฉลี่ย 80 ปี เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการประชุมกลุ่มเฉพาะจากผู้รู้ที่เป็นผู้สูงอายุ 32 คน ศึกษาเอกสารหลักสูตรของ 8 สถาบันการศึกษาสาธารณสุข และสอบถามข้อมูลเชิงปริมาณจากตัวแทนนักสาธารณสุขระดับปริญญาตรีที่ปฏิบัติงานในระดับตำบลที่ได้จากการสุ่มแบบชั้นภูมิตามสัดส่วนประชากรโดยคำนวณขนาดตัวอย่างที่มีความคลาดเคลื่อนไม่เกินร้อยละ 5 ได้ตัวอย่าง 189 คน จาก 4 จังหวัดในภาคกลางและภาคตะวันออก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแนวคำถาม แบบบันทึก และแบบสอบถามที่ผ่านการวิเคราะห์ความตรง และความเที่ยง ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า ระหว่าง .91 ถึง .98 วิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาในรูปของ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน กราฟเส้นตรง และการเปรียบเทียบรายคู่ (paired t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่าความต้องการของผู้สูงอายุด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณที่นักสาธารณสุขต้องให้บริการ นักสาธารณสุขประเมินสมรรถนะตนเองในปัจจุบันมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าร้อยละ 70 ในทุกเรื่องยกเว้น การเลือกวิธีสื่อสารที่เหมาะสม การใช้สื่อต่างๆ ในการสื่อสารที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมพื้นที่ ความเข้าใจสภาพวัฒนธรรมของสังคมผู้สูงอายุในพื้นที่ การจัดบริการสาธารณสุขที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมท้องถิ่นของผู้สูงอายุให้มีส่วนร่วมกิจกรรมสุขภาพต่างๆ ในชุมชน การประสานงานกับแกนนำผู้สูงอายุ การปฏิบัติตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ ประยุกต์วิธีการปฏิบัติให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม หรือสิ่งแวดล้อม การประเมินสมรรถนะตนเองที่ต้องพัฒนา มีค่าเฉลี่ยมากกว่า ร้อยละ 75 ในทุกเรื่องยกเว้นการวิเคราะห์สาเหตุของการเจ็บป่วยด้านสังคม และการสร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลสุขภาพ ซึ่งผลการประเมินทุกสมรรถนะในปัจจุบันต่ำกว่าสมรรถนะที่ต้องพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<.05 สมรรถนะต่างๆ เหล่านี้มีการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตร แต่อาจยังไม่ได้กำหนดเป็นรายวิชาที่ชัดเจน ข้อเสนอในการพัฒนาสมรรถนะและรายวิชาในหลักสูตร ที่จำเป็นคือ การเป็นผู้นำและการคิดอย่างเป็นระบบ เป็นอันดับแรก รองลงมา คือการปฏิบัติงานเข้าถึงมิติชุมชน ความเข้าใจวัฒนธรรมท้องถิ่น ความรู้ความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ การพัฒนานโยบายและการวางแผน การสื่อสาร การวิเคราะห์ และการประเมินสุขภาพ และการงบประมาณและการบริหารงาน ตามลำดับเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนที่มีอายุขัยเฉลี่ย 80 ปีth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.subjectบุคลากรสาธารณสุขth_TH
dc.subjectสมรรถนะth_TH
dc.subjectเจ้าหน้าที่สาธารณสุขth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.titleสมรรถนะนักสาธารณสุขเพื่อเตรียมรองรับสถานการณ์ประชาชนมีอายุขัยเฉลี่ย 80 ปีth_TH
dc.title.alternativeHealth professionals' competencies for increasing population with the average 80 years life expectancyen
dc.typeบทความวารสารth_TH
dc.issue1
dc.volume8
dc.year2556
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this mixed methods qualitative and quantitative research were to explore the current and future competencies of health professionals prepared for the situation of having populations with the average 80 years life expectancy, and to suggest the proposal for determining the expected competencies of health professionals in dealing with the situation. The focus group discussions were conducted among the 32 elderly samples, public health programs of 8 institutes were examined, the sample size is slightly less than 5 percent and the questionnaire surveyed among 189 health professionals from 4 provinces, including Chon Buri, Chachengsao, Samutprakran, and Nakon nayok. Tools for data collection are question guides for focus group discussion, data record books, and sets of questionnaire were applied. The questionnaire was analyzed for validity and reliability. The Alpha coefficient was between .91 - .98. Data obtained were analyzed and presented by descriptive statistics in forms of average value, percentage, standard deviation, and linear graph and paired t-test. Content analysis was applied to qualitative data. The competencies that the elderly expected health professional to have were physical, psychological, social and spiritual needs of public health services. Health professionals’ evaluation of themselves was accounted for less than 70 percent in all domains except for choosing the right communication method, the use of media communication that related to elderly community, the encouragement to elderly to participate in health activity, the coordination with elderly leader, the compliance with professional ethics and the awareness of economic, social and environment changes. The competency items evaluated, average 75 percent of each need to be improved except the cause analysis of social illness, and development tool which will be used on those subjects that lack of competency (statistically significant p<.05). Some of those lacking competency had been already included in the courses, but was still lack of clarification. Highlighted topics included leadership and systematic thinking ability, community engagement and participation, professional competency, local culture, competency policy development and planning, communication, analyzing and assessing health status, budgeting and administrative competency, in order that they would have knowledge to provide services to improve the quality of life of populations with the average 80 years life expectancy.en
dc.journalวารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา = The Public Health Journal of Burapha University
dc.page104-114.
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
pubh8n1p104-114.pdf156.14 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น