กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2064
ชื่อเรื่อง: การบริหารจัดการนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: World heritage management in historical city of Ayutthaya
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วชิรวิชญ์ สิรชัยพงศ์กุล
วรอนงค์ โกวิทเสถียรชัย
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะการจัดการและการท่องเที่ยว
คำสำคัญ: พระนครศรีอยุธยา - - ประวัติศาสตร์
มรดกโลก - - ไทย - - พระนครศรีอยุธยา
สาขาเศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2556
บทคัดย่อ: นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาเป็นสมบัติล้ำค่าทางวัฒนธรรม ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่ง สหประชาชาติหรือยูเนสโก(UNESCO) จากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ณ กรุงคาร์เธจ ประเทศตูนิเซีย เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2534 ตามหลักเกณฑ์มาตรฐานมรดกทางวัฒนธรรม โดยมีคุณสมบัติตรงกับข้อ 3 ที่ว่า "เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฎให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว" ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญที่สร้างรายได้ให้กับประเทศอย่างงดงาม จำเป็นอย่างยิ่งที่ประชาชน หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ควรให้ความสนใจ เนื่องจากปัจจุบันกำลังตกอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะถูกองค์การยูเนสโกถอดออกจากมรดกโลก ด้วยสภาพความเสื่อมโทรมของโบราณสถาน บทความนี้เป็นบทความทางวิชาการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับแนวคิดด้านบริหารจัดการมรดกโลก ความเป็นมาของการบริหารจัดการนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และในส่วนท้ายได้เสนอแนวทางการบริหารจัดการนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา จากการนำประเด็นปัญหาที่ประสบอยู่ในขณะนี้มาเป็นประเด็นในการพิจารณา จำแนกออกเป็น1) ภูมิทัศน์และผังเมือง 2) การกลายเป็นเมือง 3) ตัวโบราณสถาน 4) ความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 5) ขยะมูลฝอย 6) หาบเร่แผงลอย พร้อมทั้งได้เสนอแนวทางการแก้ปัญหาดังกล่าวเพื่อการบริหารจัดการนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาอย่างยั่งยืน
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2064
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
bbs2n2p64-79.pdf1.1 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น