กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2048
ชื่อเรื่อง: ความต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์ของคอนกรีตผสมซิลิก้าฟูม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Chloride penetration resistance of concrete containing silica fume
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ทวีชัย สำราญวานิช
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: คลอไรด์
คอนกรีตผสม
สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาความต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์และกำลังอัดของคอนกรีตที่ผสมซิลิก้าฟูม โดยใช้ซิลิก้าฟูมแทนที่วัสดุประสานร้อยละ, 5, 7.5, 10 และ 15 โดยน้ำหนัก และใช้อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.40 และ 0.50 ทำการหล่อตัวอย่างคอนกรีตทรงลูกบาศก์ ขนาด 10×10×10 ซม3 สำหรับทดสอบกำลังอัดคอนกรีตที่อายุ 7, 14, 28, 56 และ 91 วัน และหล่อตัวอย่างคอนกรีตทรงกระบอกขนาด ∅ 10×20 ซม2 สำหรับทดสอบการแทรกซึมคลอไรด์แบบเร่ง ของคอนกรีตที่อายุ 7, 28 และ 91 วัน และการแทรกซึมคลอไรด์ของคอนกรีตที่แช่ในสารละลายโซเดียมคลอไรด์ 5.0 % เป็นเวลา 28, 56 และ 91 วัน ภายหลังการบ่มน้ำ 28 วัน จากผลการทดลองพบว่า การใช้ซิลิก้าฟูมแทนที่ปูนซีเมนต์ในคอนกรีตทำให้กำลังอัดของคอนกรีตสูงขึ้นและความต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์ของคอนกรีตดีขึ้น การใช้ซิลิก้าฟูมแทนที่วัสดุประสานร้อยละ 15 ทำให้คอนกรีตมีกำลังอัดและความต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์ดีที่สุด คอนกรีตที่ผสมซิลิก้าฟูมที่อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานต่ำมีความต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์ ดีกว่าที่อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานสูง จากความสัมพันธ์ระหว่างกำลังอัดและประจุไฟฟ้าที่ไหลผ่านของคอนกรีต และความสัมพันธ์ระหว่างกำลังอัดและสัมประสิทธิ์การแพร่คลอไรด์ของคอนกรีตสามารถหาค่าประจุไฟฟ้าที่ไหลผ่านและสัมประสิทธิ์การแพร่คลอไรด์ของคอนกรีตได้ เมื่อกำหนดค่ากำลังอัดของคอนกรีตที่ผสมซิลิก้าฟูม
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2048
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2562_025.pdf16.76 MBAdobe PDFดู/เปิด
2562_083.pdf17.15 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น