กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2005
ชื่อเรื่อง: ความต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์และการเกิดสนิมของเหล็กเสริมใน คอนกรีตผสมเถ้าลอยและผงหินปูนที่เผชิญสิ่งแวดล้อมทะเล
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Chloride penetration resistance and corrosion of reinforcing steel in concrete containing fly ash and limestone powder after exposed to marine environment
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ทวีชัย สำราญวานิช
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: คอนกรีตเสริมเหล็ก
สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
เกลือคลอไรด์
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาความต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์ และการเกิดสนิมของเหล็กเสริมใน คอนกรีตที่เผชิญสิ่งแวดล้อมทะเลเป็นเวลา 3 ปี วัสดุประสานที่ใช้ ได้แก่ ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภทที่ 1 ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 5 ปูนซีเมนต์ปอซโซลาน เถ้าลอย และผงหินปูน ใช้ อัตราส่วนเถ้าลอยต่อวัสดุประสาน 0.20 0.40 และ 0.60 อัตราส่วนผงหินปูนต่อวัสดุประสาน 0.05 0.10 และ 0.15 และอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน 0.40 0.50 และ 0.60 ทําการฝังเหล็กเสริม RB12 ในตัวอย่างคอนกรีตทรงลูกบาศก์ขนาด 20x20x20 ซม3 ที่ระยะหุ้มเหล็กเสริม 1 ซม 2 ซม 5 ซม และ 7.5 ซม แล้วบ่มตัวอย่างคอนกรีตเป็นเวลา 28 วัน ก่อนนําไปเผชิญสิ่งแวดล้อมทะเลบริเวณน้ำขึ้นน้ำลง ที่ตําบลอ่างศิลา อําเภอเมือง จังหวัดชลบุรี เมื่อครบระยะเวลา 3 ปี จึงเก็บตัวอย่างคอนกรีตมา ทดสอบหาปริมาณคลอไรด์ที่ระดับความลึกต่าง ๆ จากผิวหน้าคอนกรีต กําลังอัดคอนกรีต และนํา เหล็กเสริมที่ฝังไว้มาทดสอบหาพื้นที่การเกิดสนิมและการสูญเสียน้ำหนักของเหล็กเสริมเนื่องจาก เกลือคลอไรด์ จากผลการทดลองพบว่า คอนกรีตที่ใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ปอซโซลานมีความต้านทาน การแทรกซึมคลอไรด์ดีที่สุด สําหรับคอนกรีตที่ใช้วัสดุประสาน 2 ชนิด พบว่า คอนกรีตที่ผสมเถ้า ลอยหรือผงหินปูนไม่เกินร้อยละ 5 มีความต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์มากกว่าคอนกรีตที่ใช้ ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภททที่ 1 เพียงอย่างเดียว สําหรับคอนกรีตที่ใช้วัสดุประสาน 3 ชนิด พบว่า การใช้สัดส่วนปริมาณเถ้าลอยสูงและผงหินปูนน้อยแทนที่ปูนซีเมนต์ในคอนกรีตทําให้ความ ต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์สูงขึ้น การเพิ่มขึ้นของกําลังอัดคอนกรีตทําให้ความต้านทานการ แทรกซึมคลอไรด์ของคอนกรีตสูงขึ้น และการสูญเสียน้ำหนักของเหล็กเสริมลดลง
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2005
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2560_015.pdf9.3 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น