กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1969
ชื่อเรื่อง: การประเมินความเสี่ยงและผลกระทบต่อสุขภาพจากการรับสัมผัสสารกำจัดแมลง: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในแรงงานต่างด้าวในเขตภาคตะวันออก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Assessing of health risk and effect from insecticide exposure: Factors related among migrant workers in eastern region
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อนามัย เทศกะทึก
พรทิพย์ เย็นใจ
พูนศักดิ์ ศรีประพัฒน์
วัลลภ ใจดี
พัชนา ใจดี
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
คำสำคัญ: การประเมินความเสี่ยง
แรงงานต่างด้าว
แมลง
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสุขภาพจากการรับสัมผัสสารกำจัดแมลงในเกษตรกรที่เป็นแรงงานต่างด้าวชาวกัมพูชาที่รับสัมผัสสารกำจัดแมลงในสวนผลไม้ เขตภาคตะวันออก จานวน 891 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ ทำกลุ่มแบบ Focus group และตรวจหาเอนไซม์คลอรีนเอสเตอเรสในเลือด โดยใช้กระดาษทดสอบพิเศษ (Reactive paper) ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 57.7 อายุเฉลี่ย (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) เท่ากับ 30.29 (8.48) ปี ระยะเวลาในการฉีดพ่นสารกำจัดแมลงครั้งละ 4-5 ชั่วโมง ร้อยละ 42.1 ส่วนใหญ่มีระดับพฤติกรรมในการป้องกันตนเอง อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 76.8 การตรวจคัดกรองเพื่อหาระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดของเกษตรกร พบว่า ส่วนใหญ่มีผลการทดสอบอยู่ในกลุ่มที่ไม่ปลอดภัย ร้อยละ 16.6 มีความเสี่ยง ร้อยละ 58.5 ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดจากการรับสัมผัสสารกาจัดแมลงพบว่า เพศชาย มีค่า OR (95% CI) เท่ากับ 1.51 (1.05, 2.19) อายุระหว่าง 40-50 ปี มีค่า OR (95% CI) เท่ากับ 1.74 (0.99, 3.03) เกษตรกรที่ที่ทำพื้นที่ปลูกมากกว่า 100 ไร่ มีค่า OR (95% CI) เท่ากับ 2.41 (1.33, 4.40) การฉีดพ่นสารกำจัดแมลง 3 ครั้งต่อสัปดาห์ มีค่า OR (95% CI) เท่ากับ 3.49 (1.01, 11.99) การฉีดพ่นแบบถังสะพายหลัง มีค่า OR (95% CI) เท่ากับ 1.92 (1.17, 3.15) ปัจจัยที่มีผลกระทบต่ออาการผิดปกติ พบว่า ปัจจัยอายุ 45-50 ปี มีผลกระทบต่อกลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร ค่า OR (95% CI) เท่ากับ 2.51 (1.41, 4.46) ความถี่ในการฉีดพ่นสารกำจัดแมลง 3 ครั้งต่อสัปดาห์มีผลกระทบต่อกลุ่มอาการทางระบบประสาทส่วนกลาง ค่า OR (95% CI) เท่ากับ 2.55 (1.05, 6.16) ระยะเวลาในการฉีดพ่นสารกำจัดแมลง มากกว่า 8 ชั่วโมง มีผลกระทบต่อกลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร มีค่า OR (95% CI) เท่ากับ 2.56 (1.23, 5.32) ปัจจัยการพ่นสารกาจัดแมลงโดยใช้วิธีแบบสะพายหลัง มีผลกระทบต่อกลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร มีค่า OR (95% CI) เท่ากับ 3.74 (2.16, 6.49) และ ปัจจัยระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในระดับไม่ปลอดภัยมีผลกระทบต่อความผิดปกติที่ระบบทางเดินหายใจ OR (95% CI) เท่ากับ 2.75 (1.17, 6.44) ตามลาดับ ผลจากการสนทนากลุ่ม ได้แนวทางในการเฝ้าระวังสุขภาพจากการรับสัมผัสสารกำจัดแมลงในแรงงานต่างด้าว การสื่อสารความเสี่ยงแก่แรงงานต่างด้าว แนวทางในการกระตุ้นนายจ้างในการดูแลสุขภาพแรงงานต่างด้าว และแนวทางในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการดูแลสุขภาพแรงงานต่างด้าว ข้อเสนอแนะจากการศึกษา ควรมีการคัดกรองสุขภาพของเกษตรกรที่เป็นแรงานต่างด้าว โดยเฉพาะเกษตรกรที่มีหน้าที่เป็นผู้ผสมสารกำจัดแมลง มีจำนวนฉีดพ่นสารกำจัดแมลง 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ระยะเวลาในการฉีดพ่นมากกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน พ่นสารกำจัดแมลงโดยใช้วิธีแบบสะพายหลัง เนื่องจากปัจจัยเหล่านี้จะทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการการเจ็บป่วยเนื่องจากการใช้สารกำจัดแมลงมากขึ้น
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1969
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น