กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1957
ชื่อเรื่อง: ผลการใช้เทคนิค classical relaxation ต่อระดับความเครียดของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาแห่งหนึ่ง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of classical relaxation technic on stress level of students in a high education institute
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธนิดา จุลวนิชย์พงษ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
คำสำคัญ: ความเครียด
เทคนิค classical relaxation
สาขาการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการผ่อนคลายด้วยเทคนิค classical relaxation ต่อความเครียดของนักศึกษาสถาบันการศึกษาแห่งหนึ่ง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental research design) กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา ปีการศึกษา 2558 มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี สมัครใจเข้าร่วมการวิจัย มีความเครียดระดับปานกลางขึ้นไป (คะแนนความเครียดตั้งแต่ 24 คะแนนขึ้นไป) ใช้การสุ่มอย่างง่ายจัดกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 26 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบวัดความเครียดสวนปรุง (Suanprung stress test-20) ของกรมสุขภาพจิต ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่า ของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) เท่ากับ 0.86 ปรอทวัดอุณหภูมิปลายนิ้ว บทพูดนำเข้าสู่กระบวนการผ่อนคลายแบบคลาสสิก (classical relaxation technic) (Villar, 1997) ผู้วิจัยใช้แบบวัดความเครียดสวนปรุงทดสอบ และวัดอุณหภูมิปลายนิ้ว ในระยะก่อนการทดลอง และระยะหลังการทดลอง กลุ่มทดลองได้รับการฝึกผ่อนคลายเทคนิค classical relaxation ระยะเวลาฝึกครั้งละ 6 นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์ นาน 8 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมนั่งพักนาน 6 นาที สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล t-test ผลการวิจัยพบว่า 1. ระยะหลังการทดลองคะแนนเฉลี่ยความเครียดของกลุ่มทดลองไม่แตกต่างกับระยะ ก่อนการทดลอง และไม่แตกต่างกับกลุ่มควบคุม 2. ระยะหลังการทดลองอุณหภูมิปลายนิ้วของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การฝึกผ่อนคลายโดยใช้เทคนิค classical relaxation ทาให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลายภายในระยะเวลา 6 นาที จึงเหมาะสำหรับนำไปใช้กับนักกีฬา เพื่อเตรียมความพร้อมของร่างกายในระยะเตรียมสู่สนามแข่ง หรือช่วงพักระหว่างการแข่งขัน จึงควรนำไปใช้ในสถานการณ์การแข่งขันกีฬาจริง
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1957
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2563_078.pdf2.32 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น