กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1952
ชื่อเรื่อง: ผลของการเสริมกรดไขมันและวิตามินซีลงในแพลงก์ตอนสัตว์ต่ออัตรารอด การเจริญเติบโต และพัฒนาการของลูกปลาแมนดาริน, Synchiropus splendidus (Herre,1927)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of fatty acid and vitamin C enrichment in zooplankton on survival rate, growth and development of the Mandarinfish larvae, Synchiropus splendidus (Herre,1927)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศิริวรรณ ชูศรี
วิไลวรรณ พวงสันเทียะ
เสาวภา สวัสดิ์พีระ
ณัฐวุฒิ เหลืองอ่อน
ศิรประภา ฟ้ากระจ่าง
วรกานต์ เสถียรวงศ์นุษา
สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
คำสำคัญ: กรดไขมัน
ปลาแมนดาริน
แพลงก์ตอน
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลของการอนุบาลลูกปลาแมนดารินด้วยโรติเฟอร์และอาร์ทีเมียที่ เสริมด้วยกรดไขมันและวิตามินซีที่ระดับความเข้มข้นที่แตกต่างกัน ที่มีผลต่ออัตรารอด อัตราการเจริญเติบโต และระยะเวลาในการพัฒนาการของลูกปลาแมนดารินตั้งแต่แรกฟักจนถึงระยะที่มีการเปลี่ยนรูปร่าง (metamorphosis) โดยใช้ความหนาแน่นของลูกปลา 20 ตัวต่อลิตร ปริมาตรน้ำที่ใช้ จํานวน 5 ลิตร ความเค็มน้ำทะเลอยู่ที่ 31-33 ppt แต่ละชุดการทดลองทํา 3 ซ้ำ เมื่อลูกปลาอายุ 1- 20 วัน ให้โรติเฟอร์ที่ความหนาแน่น 20 ตัวต่อมิลลิลิตร และเมื่อลูกปลาอายุ 21 – 45 วัน เปลี่ยนจาก โรติเฟอร์เป็นอาร์ทีเมียที่ความหนาแน่น 3 ตัวต่อมิลลิลิตร ในการทดลองที่ 1 เป็นการศึกษาผลของ การเสริมกรดไขมันสําเร็จรูปให้กับโรติเฟอร์และอาร์ทีเมียที่ระดับความเข้มข้นแตกต่างกันคือ 0, 200, 400, 600 และ 800 มิลลิกรัมต่อลิตร (มก./ล.) ผลการวิจัยพบว่าระดับความเข้มข้นของกรดไขมัน สําเร็จรูปไม่มีผลต่ออัตราการรอดตาย อัตราการเจริญเติบโต และระยะเวลาในการพัฒนาการของลูกปลา (p>0.05) อัตรารอดที่ดีที่สุดอยู่ที่ระดับความเข้มข้น 600 มก./ล. (7.00±5.57%) รองลงมาคือ 400 มก./ล. (6.33±3.51%), 800 มก./ล. (4.33±2.52%), 0 มก./ล. (3.33±2.08%) และ 200 มก./ ล. (2.00±1.00%) ตามลําดับ การเจริญเติบโตด้านความยาวมาตรฐานและความยาวทั้งหมดดีที่สุดอยู่ ที่ระดับความเข้มข้น 200 มก./ล. (0.84±0.58, 1.09±0.75 ซม.) รองลงมาคือ 0 มก./ล. (0.76±1.39, 0.93±1.73 ซม.), 400 มก./ล. (0.66±1.24, 0.85±2.05 ซม.), 600 มก./ล. (0.63±0.89, 0.81±0.19 ซม.) และ 800 มก./ล. (0.58±0.24, 0.73±0.47 ซม.) ตามลําดับ น้ำหนักดีที่สุดอยู่ที่ความเข้มข้น 200 มก./ล. (0.11±0.15 กรัม) ลูกปลาลงพื้นครบทุกตัวทุกชุดการทดลองที่อายุ 26 วัน และลูกปลา แมนดารินเริ่มมีการลงพื้นเร็วที่สุดที่อายุ 11 วัน ในการทดลองที่ 2 เป็นการศึกษาผลของการเสริมกรด ไขมันเตรียมเองให้กับโรติเฟอร์และอาร์ทีเมียที่ระดับความเข้มข้นแตกต่างกันคือ 0, 200, 400, 600 และ 800 มก./ล. ผลการวิจัยพบว่าระดับความเข้มข้นของกรดไขมันเตรียมเองไม่มีผลต่ออัตราการ รอดตาย อัตราการเจริญเติบโต และระยะเวลาในการพัฒนาการของลูกปลา (p>0.05) อัตรารอดที่ดี ที่สุดอยู่ที่ระดับความเข้มข้น 800 มก./ล. (4.33±2.33%) รองลงมาคือ 600 มก./ล. (1.67±0.33%), 400 มก./ล. (1.67±0.33%), 200 มก./ล. (1.67±0.67%) และ 0 มก./ล. (1.00±0.00%) ตามลําดับ การเจริญเติบโตด้านความยาวมาตรฐานและความยาวทั้งหมดดีที่สุดอยู่ที่ระดับความเข้มข้น 400 มก./ล. (0.67±0.51, 0.83±0.50 ซม.) รองลงมาคือ 0 มก./ล. (0.67±0.79, 0.78±0.81 ซม.), 600 มก./ล. (0.59±0.32, 0.74±0.43 ซม.), 800 มก./ล. (0.58±0.53, 0.71±0.45 ซม.) และ 200 มก./ล. (0.51±0.52, 0.63±0.60 ซม.) ตามลําดับ น้ำหนักดีที่สุดอยู่ที่ความเข้มข้น 800 มก./ล. (0.0426±0.02 กรัม) รองลงมาคือ 0 มก./ล. (0.0274±0.01 กรัม), 400 มก./ล. (0.0219±0.00 กรัม), 600 มก./ล. (0.0174±0.00 กรัม) และ 200 มก./ล. (0.0098±0.00 กรัม) ตามลําดับ ลูกปลาลงพื้นครบทุกตัวทุกชุดการทดลองที่อายุ 22 วัน และลูกปลาแมนดารินเริ่มมีการลงพื้นเร็วที่สุดที่อายุ 7 วัน ในการทดลองที่ 3 เป็นการศึกษาผลของการเสริมวิตามินซีที่ระดับความเข้มข้นแตกต่างกันคือ 0, 100, 200 และ 300 มก./ล. ผลการวิจัยพบว่าระดับความเข้มข้นของกรดไขมันเตรียมเองไม่มีผล ต่ออัตราการรอดตาย อัตราการเจริญเติบโต และระยะเวลาในการพัฒนาการของลูกปลา (p>0.05) อัตรารอดที่ดีที่สุดอยู่ที่ระดับความเข้มข้น 0 มก./ล. (8.00±3.60%) รองลงมาคือ 100 มก./ล. (6.00±3.60%), 300 มก./ล. (3.66±2.66%) และ 200 มก./ล. (1.00±1.00%) ตามลําดับ การ เจริญเติบโตด้านความยาวมาตรฐานและความยาวทั้งหมดดีที่สุดอยู่ที่ระดับความเข้มข้น 200 มก./ล. (1.00±1.00, 1.16±3.09 ซม.) รองลงคือ 0 มก./ล. (0.80±3.60, 0.99±1.52 ซม.), 100 มก./ล. (0.60±3.60, 1.06±2.22 ซม.) และ 300 มก./ล. (0.37±2.66, 0.97±1.80 ซม.) ตามลําดับ น้ําหนักดี ที่สุดอยู่ที่ความเข้มข้น 300 มก./ล. (0.053±0.02 กรัม) รองลงมาคือ 200 มก./ล. (0.041±0.02 กรัม), 100 มก./ล. (0.0363±0.002 กรัม) และ 0 มก./ล. (0.0245±0.01 กรัม), และ ตามลําดับ ลูก ปลาลงพื้นครบทุกตัวทุกชุดการทดลองที่อายุ 20 วัน และลูกปลาแมนดารินเริ่มมีการลงพื้นเร็วที่สุดที่ อายุ 11 วัน
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1952
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2560_106.pdf918.33 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น