กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1941
ชื่อเรื่อง: | คุณภาพสิ่งแวดล้อมในถิ่นอาศัยของฟองน้ำทะเลบริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของไทย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Environmental quality in marine sponge habitats in the eastern coast of the gulf of Thailand |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อาวุธ หมั่นหาผล สุเมตต์ ปุจฉาการ สุพัตรา ตะเหล็บ วันชัย วงสุดาวรรณ ฉลวย มุสิกะ แววตา ทองระอา มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล |
คำสำคัญ: | คุณภาพสิ่งแวดล้อม ฟองน้าทะเล ภาคตะวันออกของไทย สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา แพลงก์ตอนพืช |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การศึกษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในถิ่นอาศัยของฟองน้ำทะเลบริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของไทย จำนวนทั้งสิ้น 7 สถานี (5 เกาะ) โดยเก็บตัวอย่าง 6 ครั้ง คือ เดือนมกราคม ตุลาคม และเดือนธันวาคม พ.ศ.2557 และเดือนกุมภาพันธ์ พฤษภาคม และพฤศจิกายน พ.ศ.2558 เพื่อตรวจวัดคุณภาพน้ำทางด้านกายภาพและเคมี เก็บตัวอย่างฟองน้ำทะเลและแพลงก์ตอนพืช ผลการศึกษา พบว่า คุณภาพสิ่งแวดล้อมทางทะเลในบริเวณดังกล่าว มีค่าพิสัยของพารามิเตอร์ต่าง ๆ ดังนี้ อุณหภูมิ 24.9-32.0 °C ความเค็ม 28-32 ppt ความเป็นกรด- ด่าง 8.2-8.6 ออกซิเจนละลาย 5.7-8.2 mg/L ความโปร่งแสง 1.0-9.3 m สารแขวนลอย 8.6-35.8 mg/L แอมโมเนียทั้งหมด 2.4-34.3 μg-N/L แอมโมเนียรูปที่ไม่มีอิออน 0.5-8.5 μg-N/L ไนไตรท์ ND-14.3 μg-N/L ไนเตรท 1.3-55.4 μg-N/L ฟอสเฟต ND-20.0 μg-P/L และซิลิเกต 42.5-370.0 μg-Si/L ซึ่งความแปรปรวนของทุกพารามิเตอร์ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเวลาและสถานี เมื่อเปรียบเทียบค่าพารามิเตอร์คุณภาพน้ำกับค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งเพื่อเพื่อการอุตสาหกรรมและท่าเรือ และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน แต่อย่างไรก็ตาม ควรจะมีการตรวจติดตามเฝ้าระวังต่อไป เพื่อป้องกันไม่ให้คุณภาพน้ำทะเลเสื่อมโทรมลง ฟองน้ำที่พบจากการสำรวจทั้งหมด 54 ชนิดจาก 41 สกุล 31 วงศ์ 10 อันดับ จากฟองน้ำที่ทำการสำรวจทั้งหมด พบว่า ฟองน้ำทะเลมีความหลากหลายมากที่สุด พบ 38 ชนิด บริเวณเขตอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ หมู่เกาะมัน จังหวัดระยอง รองลงมา พบ 28 ชนิด คือ บริเวณเขตอุตสาหกรรมและท่าเรือหมู่เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี และบริเวณเขตอุตสาหกรรมและท่าเรือ เกาะสะเก็ด จังหวัดระยอง พบ 15 ชนิด และพบว่าฟองน้ำที่อาจจะสามารถมาใช้เป็นดัชนีชี้วัดถึงสภาพแวดล้อมทางทะเลได้ คือ Tedania (Tedania) aff. maeandrica Thiele เป็นฟองน้ำที่พบในบริเวณที่มีการตกตะกอนสูงและได้รับอิทธิพลของน้ำจืดไหลลงสู่ทะเล และ O. sagittaria (Sollas) มีรูปทรงการเจริญที่เรียกว่า “Fistule” ซึ่งฟองน้ำจะสร้างท่อยืดยาวขึ้นจากลำตัวฟองน้ำ (Boury-Esnault and Rützler, 1997) และมักพบฝังตัวในบริเวณพื้นท้องทะเลที่อ่อนนุ่มจากการตกตะกอนซึ่งถ้าเราพบฟองน้ำเหล่านี้สร้างท่อขึ้นไปสูงมากขึ้นเท่าใดอาจจะสามารถคาดคะเนได้ว่าบริเวณนั้นอาจจะมีการตกตะกอนสูงมาก แพลงก์ตอนพืชจากการสำรวจ พบ 3 ดิวิชัน (Division) ได้แก่ Cyanophyta , Chlorophytaและ Chromophyta พบทั้งสิ้น 85 สกุล แบ่งเป็น Class Cyanophyceae 4 สกุล Class Chlorophyceae 1 สกุล Class Euglenophyceae 1 สกุล Class Bacillariophyceae 65 สกุล Class Dictyochophyceae 1 สกุล และ Class Dinophyceae 13 สกุล โดยพบแพลงก์ตอนพืช Class Bacillariophyceae (ไดอะตอม) เป็นกลุ่มเด่น สกุลเด่นที่พบ ได้แก่ Skeletonema, Chaetoceros, Pseudonitzschia, Thalassionema, Guinardia, Bacteriastrum, Hemiaulus, Navicula, Nitzschia, Pleurosigma และ Rhizosolenia พบว่าแพลงก์ตอนพืชมีความหนาแน่นสูงสุดในเดือนมกราคม 2557 คือ 1.97x106 หน่วยต่อลิตร และต่ำสุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 เท่ากับ 1.89x105 หน่วยต่อลิตร และยังพบการเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วของ Skeletonema sp. ในเดือนมกราคม 2557 บริเวณเกาะสะเก็ดทิศใต้ มีความหนาแน่นเท่ากับ 1.13x106 หน่วยต่อลิตร ค่าดรรชนีความหลากหลายมีค่า 0.07-2.82 ดรรชนีความสม่าเสมอมีค่า 0.02-0.82 |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1941 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2560_078.pdf | 24.57 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น