กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1926
ชื่อเรื่อง: การพยากรณ์ปริมาณน้ำท่ารายวันที่ส่งผลต่อน้ำท่วมฉับพลันในลุ่มแม่น้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Daily runoff forecasting effect to flash flood in eastern coast gulf river basin
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภัทราพร ทองนิ่ม
ภควัต ลำจวน
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์
คำสำคัญ: น้ำท่วม
ปริมาณน้ำท่า
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี
บทคัดย่อ: ปริมาณน้ำท่าและปริมาณน้ำฝนเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ทั้งการเกษตรกรรมและอุสาหกรรม ทั้งนี้จึงมีการศึกษาปริมาณน้ำท่าและปริมาณน้ำฝนในอดีตเพื่อพยากรณ์ปริมาณน้ำฝนในอนาคตโดยใช้เทคนิคการพยากรณ์เชิงสถิติ เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนการตัดสินใจ รวมไปถึงการกำหนดนโยบายหาทางป้องกันน้ำท่วมฉับพลันในเขตลุ่มแม่น้ำชายฝั่งตะวันออก ดังนั้นวัตถุประสงค์ของงานวิจัยครั้งนี้คือ เพื่อศึกษาปริมาณน้ำท่าและปริมาณน้ำฝนที่ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันในเขตลุ่ มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออกและเพื่อพยากรณ์ปริมาณน้ำฝนในเขตลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออกในอีก 2 ปีข้างหน้า ซึ่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยเป็นปริมาณน้ำท่าและปริมาณน้ำฝนรายเดือน จากกรมชลประทานและกรมอุตุนิยมวิทยา ผู้วิจัยแบ่งข้อมูลออกเป็น 2 ชุด ชุดที่ 1 วิเคราะห์ด้านอุทกชลศาสตร์ตั้งแต ปี 2547 ถึง 2556 และชุดที่ 2 วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติตั้งแต่ ปี 2543 ถึง 2558 ผลสรุปของการวิจัยมีดังนี้ จังหวัดชลบุรีมีปริมาณน้ำท่าที่ส งผลต่อน้ำท่วมฉับพลันได้มากที่สุดรองลงมาคือ ระยอง จันทบุรี และตราด ตามลำดับ การพยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อปริมาณน้ำฝนโดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลถดถอยเชิงเส้นการทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปรต้นและตัวแปรตามด้วยเทคนิคการวิเคราะห์แบบการถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ จากการวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลัง 144 เดือน โดยการหาปัจจัยที่ส่งผลมากที่สุดคือ ความเร็วลม อุณหภูมิตุุ้มแห้ง และความชื้นสัมพัทธ์ ตามลำดับ การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณเมื่อตัวแปรต้นเป็ นข้อมูลเชิงคุณภาพ ข้อมูลอนุกรมเวลาที่ตัวแปรตาม คือ ปริมาณน้ำฝน และตัวแปรตัน คือ ฤดูกาลในที่นี้คือ 12 ฤดูกาล 1 เดือนเท่ ากับ 1 ฤดูกาล และสร้างตัวแปรเทียมได้ 11 ตัวแปร โดยตัวแปรเทียมแต่ ละตัวมีได้ 2 ค ่า เท่านั้น คือ 0 กับ 1 เท่านั้น จะได้สมการถดถอยเชิงเส้นพหุคูณได้ค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจเท่ากับ 0.811084 ได้ทำการพยากรณ์ข้อมูลอนุกรมเวลาของปริมาณน้ำฝนในเขตลุ่มแม่น้ำตะวันออกโดยใช้ข้อมูลรายเดือนตั้งแต่เดือนมกราคม 2543 ถึง เดือนธันวาคม 2558 รวมทั้งสิ้น 192 เดือน และได้ค่าพยากรณ์ปริมาณน้ำฝนในอีก 2 ปี ข้างหน้ามีแนวโน้มของปริมาณน้ำฝนลดลงจากปีก่อน
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1926
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย(Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2560_113.pdf2.73 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น