กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1920
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | ณิษา สิรนนท์ธนา | |
dc.contributor.author | จารุนันท์ ประทุมยศ | |
dc.contributor.author | จันทร์จรัส วัฒนะโชติ | |
dc.contributor.author | สมรัฐ ทวีเดช | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T09:09:57Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T09:09:57Z | |
dc.date.issued | 2559 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1920 | |
dc.description.abstract | การศึกษาศักยภาพของจุลินทรีย์ทะเลในครั้งนี้ มุ่งเน้นการหากรดไขมันชนิดจำเป็นจากตัวอย่างยีสต์ ตัวอย่างแอคติโนมัยซีท เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของกรดไขมันชนิดจำเป็น และได้มีการทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียกกลุ่มวิบริโอที่ก่อโรคในสัตว์น้ำ ของสารสกัดจากเซลล์และน้ำเลี้ยงของแอคติโนมัยซีท เพื่อให้ได้ข้อมูลในการพัฒนาศักยภาพของจุลินทรีย์ทะเลในด้านอื่น ๆ ด้วย โดยทำการศึกษาชนิดและปริมาณกรดไขมันในตัวอย่างยีสต์ทะเล 6 ตัวอย่าง ที่คัดแยกจากน้ำทะเลบริเวณชายหาดบางแสน จังหวัดชลบุรีในปี 2556 พบว่ายีสต์ทุกชนิดที่เลี้ยงด้วยอาหาร YM มีการผลิตกรดไขมันอิ่มตัวและไม่อิ่มตัว โดยคุณลักษณะกรดไขมันส่วนใหญ่จะเป็นชนิดไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (MUFAs) ผลการศึกษาพบว่ายีสต์ BS1-2, BS6-2 มีการผลิตกรดไขมันจำเป็น Linoleic acid (C18:2n6) และ α - Linolenic acid (C18:3n3) สูงกว่าตัวอย่างอื่นๆ แต่ BS6-2 มีการเจริญที่ดีกว่า BS1-2 จึงเลือกตัวอย่างยีสต์ BS6-2 โดยพบว่าการเลี้ยงด้วยอาหารกากชานอ้อย ที่ความเค็ม 25 พีพีที เป็นเวลา 72 ชั่วโมง ได้ปริมาณกรดไขมันจำเป็นชนิด C18:2n6 สูงสุด (22.58 ± 1.24%) และจากการศึกษาชนิดและปริมาณกรดไขมันในเซลล์แอคทีโนมัยซีทคัดแยกจากดินป่าชายเลนและฟองน้ำทะเล จังหวัดจันทบุรี ระยอง ชลบุรี ชุมพร และ จังหวัดนครศรีธรรมราช (2556-2558) จำนวน 63 ตัวอย่าง ทำการเลี้ยงในอาหารเลี้ยงเชื้อ ISP 2 เป็นระยะเวลา 3-14 วัน อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียล ความเค็ม 20 ppt. เขย่า 100 rpm. ผลการศึกษาพบว่าตัวอย่างแอคทีโนมัยซีท NS 2-2 ที่คัดแยกจากดินตะกอนป่าชายเลนจังหวัดนครศรีธรรมราช มีปริมาณกรดไขมันโดยรวมสูงสุดคิดเป็นปริมาณร้อยละ 96.28 โดยพบกรดไขมันจำเป็น C18:2n6 ในปริมาณ 37.38 ±0.27 %TFA และพบกรดไขมัน C18:3n3 4.07±0.09 %TFA รองลงมาเป็นตัวอย่าง NS 4-6 ที่คัดแยกจากดินตะกอนป่าชายเลนจังหวัดนครศรีธรรมราชเช่นกัน พบกรดไขมันโดยรวมในปริมาณร้อยละ 87.94 โดยกรดไขมันชนิดจำเป็น C18:2n6 พบในปริมาณ 36.26±0.88 % TFA และ C18:3n3 พบปริมาณ2.75±0.14 %TFA และแอคทีโนมัยซีท WN POR 02-1 ที่คัดแยกจากฟองน้ำทะเลพบกรดไขมันโดยรวมปริมาณร้อยละ 84.33 โดยพบกรดไขมัน C18:2n6 ปริมาณ 28.61±0.17 % และพบ C18:3n3 ปริมาณ 2.02±0.32 % แต่จากการศึกษาครั้งนี้พบว่าปริมาณกรดไขมัน C18:3n3 พบในปริมาณที่ต่ำ ดังนั้นเพื่อให้ได้ปริมาณ C18:3n3 ที่มากขึ้นควรมีการหาสภาวะที่เหมาะสมในการเลี้ยงต่อไป จากการทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียกลุ่มวิบริโอ V. parahaemolyticus, V. alginolyticus และ V. vulnificus ที่ก่อโรคในปลาของสารสกัดจากเซลล์และในส่วนของน้ำเลี้ยง แอคติโนมัยซีทจำนวน 39 ไอโซเลต ด้วยเทคนิด disc diffusion ในปี 2556-2558 ผลการศึกษาพบว่าสารสกัดจำนวน 14 ไอโซเลต แสดงฤทธิ์ต้านเชื้อ โดยที่ไอโซเลต NS3-10, CP 58 5-2 แสดงฤทธิ์ต้านเชื้อสูงสุดโดยมีขอบเขตการยับยั้งอยู่ระหว่าง 19-22 mm. | th_TH |
dc.description.sponsorship | โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 | en |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | กรดไขมัน | th_TH |
dc.subject | จุลินทรีย์ทะเล | th_TH |
dc.subject | สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา | th_TH |
dc.title | ศักยภาพของจุลินทรีย์ทะเล: แหล่งกรดไขมันชนิดจำเป็น | th_TH |
dc.title.alternative | Potential of marine microbes: As the source of essential fatty acids | th_TH |
dc.type | Research | th_TH |
dc.author.email | piyawan@buu.ac.th | |
dc.author.email | jarunan@buu.ac.th | |
dc.author.email | janjarus@buu.ac.th | |
dc.author.email | somrat@buu.ac.th | |
dc.year | 2559 | |
dc.description.abstractalternative | Marine yeasts and Actinomyces grow rapidly in cultured media; both are sources of nutrients and are capable of producing a wide range of bioactive secondary compounds. The present study set out to determine the essential fatty acid (EFA) profiles of six samples of marine yeast and of 63 samples of Actinomyces. The marine yeasts were isolated from seawater collected at Bangsaen beach, Chonburi in 2014, whilst the Actinomyces were isolated from coastal mangrove soils and from marine sponges harvested within Chanthaburi, Rayong, Chonburi, Chumpon and Nakhornsrithammarat Provinces between 2013 to 2015. Each isolated marine yeast was cultured in yeast extract medium (YM) at 30 oC 30 ppt for a period of 120 hours, whilst Actinomyces isolate was cultured in the IPS2 medium on an orbital shaker at 20 ppt and 30oC for a period of 3-14 days. Thereafter, the fatty acid composition of each sample was determined. The results showed that both marine yeasts and Actinomyces produce both saturated and unsaturated FAs. For the marine yeasts, most of the FA content was represented by monounsaturated FAs (MUFAs). Among the yeast isolates, samples “BS1-2” and “BS6-2”, cultured in YM at 30 ppt for a period of 120 hours, yielded the highest quantities of the essential n-3 PUFA (polyunsaturated FA) α-linolenic acid (C18:3n-3) and the n-6 PUFA linoleic acid (C18:2n-6) when compared to the other four yeast isolates. Isolate “BS6-2 was choose to study due to better growth than Isolate “BS1-2”, the result showed the highest concentration of C18:2n6 (22.58 ± 1.24%) within the total fatty acid (TFA) when cultured in sugarcane bagasse medium at 25 ppt for a period of 72 hours. The Actinomyces samples obtained from mangrove sediments were found to contain higher levels of the n-3 and n-6 PUFA families when compared to those derived from sponges. Isolates “NS2-2” and “NS4-6” obtained from soils collected within Nakhornsrithmmarat Province, had the highest amounts of C18:2n-6 (37.38 ± 0.27 %TFA) and 36.26 ± 0.88 %TFA, but low quantities of C18:3n-3 (4.07 ± 0.09 %TFA) and (2.75 ± 0.14 %TFA) respectively. From the samples isolated from sponges, “WN-POR-2-1” contained C18:2n-6 28.61 ± 0.17 %TFA and C18:3n-3 2.02 ± 0.32 %TFA. The level of C18:3n-3 in all samples was found to be low suggesting that the conditions for the culture of these isolates within the laboratory requires further investigation. In 2013-2015, the compounds produced by 39 isolates (includes the products that were extracted from the cells that were grown and then harvested from the media and also from the residual culture media) were tested against Vibrio parahaemolyticus, V. alginolyticus and V. vulnificus using a disc diffusion technique. Of the compounds tested, 14 inhibited the growth of the bacterial species. Products derived from isolated “NS3-10” and “CP58-5-2” appeared to be the most efficacious in limiting growth with the largest clear zones around discs | en |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2560_056.pdf | 9.74 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น