กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1914
ชื่อเรื่อง: | การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานโดยให้ครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วม (ปีที่ 2): การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานโดยใช้กระบวนการที่มีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Family and Community Participatory Health Care in Elderly with Diabetic Mellitus (Phase I): Development model for family and community participatory health care in elderly with diabetic mellitus. |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พิสิษฐ์ พิริยาพรรณ เวธกา กลิ่นวิชิต ผกาพรรณ ดินชูไท สุริยา โปร่งน้ำใจ เพ็ชรงาม ไชยวานิช มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ผู้สูงอายุ โรคเบาหวาน สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้เป็นโครงการย่อยที่ 4 เรื่อง “การดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานโดยให้ครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วม” ในชุดแผนงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาเมืองผู้สูงอายุแสนสุข” ซึ่งในปีที่ 2 มีวัตถุประสงค์พัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้สูงอายุ ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปที่อยู่อาศัยในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี จำนวน 5,797 คน บุคคลในครอบครัว อย่างน้อย 1 คน จากจำนวน 10,253 ครัวเรือน ตัวแทนผู้นำชุมชน ๆ ละ 2 คน จากจำนวน 33 ชุมชน กลุ่มตัวอย่าง เลือกแบบเฉพาะเจาะจง เป็นผู้สูงอายุที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน จำนวน 60 คน ผู้ดูแล/ สมาชิกในครอบครัวของผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน ตัวแทนชุมชน จำนวน 20 คน รวมทั้งสิ้น 120 คน ดำเนินการศึกษาวิจัยตามกระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การค้นหาปัญหา 2) การวางแผนปัญหา 3) การลงมือปฏิบัติ 4) การสะท้อนผลการปฏิบัติและประเมินผล เก็บข้อมูลโดยวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา และสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการพัฒนาศักยภาพแกนนำครอบครัวและชุมชน มี 4 ขั้นตอน คือ 1. การค้นหาปัญหา/ ความต้องการการดูแล 2. การวางแผนร่วมกัน 3. การลงมือปฏิบัติ และ 4. ผลลัพธ์และการสะท้อนผลการปฏิบัติ และมีรายละเอียดแต่ละขั้นตอน ดังนี้ 1. การค้นหาปัญหา/ ความต้องการการดูแล ประกอบด้วย 1.1) การประเมินภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน 1.2) การประเมินความสามารถในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ 1.3 การสนับสนุนของครอบครัวชุมชน 2. การวางแผนร่วมกัน เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน ระหว่างผู้สูงอายุ ครอบครัวและชุมชน 3. การลงมือปฏิบัติตามแนวทางการปฏิบัติได้อย่างถูกต้องเหมาะสมตามบทบาทของตนเอง ได้แก่ 3.1) บทบาทของผู้สูงอายุ ด้านความรู้ในการดูแลตนเอง และด้านพฤติกรรมการดูแลตนเอง เน้น 4 ด้าน คือ 1) ด้านการรับประทานยา 2) ด้านการรับประทานอาหาร 3) ด้านการออกกำลังกาย และ 4) ด้านการจัดการความเครียด 3.2) บทบาทของผู้ดูแล/ ชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน ได้แก่ 1) ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและการดูแล 2) ทักษะในการปฏิบัติการดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน 3) ทัศนคติที่ดีต่อการดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน และทัศนคติที่ดีต่อตนเอง 3.3) บทบาทเชิงวิชาชีพของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ได้แก่ 1) การติดตามและประเมินผล 2) การสะท้อนผลลัพธ์ของการลงมือปฏิบัติ 3) การให้ความสนับสนุนช่วยเหลือให้คำปรึกษาและคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ต่อผู้สูงอายุและผู้ดูแล 4. ผลลัพธ์และสะท้อนผลการปฏิบัติ เพื่อประเมินผลการลงมือปฏิบัติร่วมกัน และพัฒนาปรับปรุงแนวทางการปฏิบัติให้ดีขึ้น มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานและสร้างความเข้มแข็งในชุมชน This research was the second phase of the forth project of “Development family and community health leader for elderly in community” The purpose of this research was to develop a model for family and community participatory health care in elderly with diabetic mellitus in Saensuk municipality, Chon Buri Thailand. The 120 samples which were selected from the 5,797 older people, total care givers in family population of 10,253 households and the health leaders in 33 communities in Saensuk municipality. There were 60 elders, 40 health leaders in the family and 20 health leaders in the community. The participatory research processes were conducted in four stages: 1) Identification needs or seeking problems 2) planning solution 3) practice 4) to reflect the performance and evaluation. Collecting data by using quantitative and qualitative research methods. In-depth interviews, Focus group, participatory observation and questionnaires. Data were analyzed by using content analysis and descriptive statistics. This study showed that an important component of the development model consists of 1) Identified problems and needs 2) Participatory planning 3) Implementation and 4) Results and reflection performance. Detail of each steps were; 1) Identified problems and needs contained of 1.1) to evaluate the health status of older people with diabetes. 1.2) to evaluate the ability of elderly care and 1.3) family and community support 2. Participatory planning with family and community 3. Implementation by the properly guidelines as their roles were; 3.1) The role of the elderly in knowledge, self-care and self-care behaviors on four areas: 1) drug compliance, 2) food 3) exercise and 4) management of stress. 3.2) The role of the care givers and community leaders care for: 1) knowledge about diabetes care and 2) skills of practice to care of older people with diabeters and 3) the good attitude with themselves and the elder care. 4. Results and reflection performance. To evaluate the action together and improve guidelines for the better. The goals were to improve the quality of life of older people with diabetes, and strengthen communities. |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1914 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2560_016.pdf | 5.46 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น