กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1912
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาแกนนำสุขภาพครอบครัวและชุมชนเพื่อการดูแลผู้สูงอายุเทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี (ปีที่ 2): รูปแบบการพัฒนาศักยภาพของแกนนำครอบครัว และชุมชนเพื่อการดูแลผู้สูงอายุโดยการใช้กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Development family and community health leader for elderly in community: Saensuk municipality Chonburi (Phase I): Assessment of health leader in family and community for elderly care |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เวธกา กลิ่นวิชิต พิสิษฐ์ พิริยาพรรณ สรร กลิ่นวิชิต พวงทอง อินใจ คนึงนิจ อุสิมาศ พลอยพันธุ์ กลิ่นวิชิต มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ผู้สูงอายุ - - การดูแล แกนนำสุขภาพ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
สำนักพิมพ์: | คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้เป็นโครงการย่อยที่ 3 เรื่อง "การพัฒนาแกนนำสุขภาพครอบครัว และชุมชน เพื่อการดูแลผู้สูงอายุ เทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี" ในชุดแผนงานวิจัยเรื่อง "การพัฒนาเมืองผู้สูงอายุแสนสุข ซึ่งในปีที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาแกนนำสุขภาพครอบครัวและชุมชนเพื่อการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนเทศบาลเมืองแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข จำนวน 5,797 คน บุคคลในครอบครัว จำนวน 10,253 ครัวเรือน ตัวแทนผู้นำชุมชน จำนวน 33 ชุมชน กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เป็นผู้สูงอายุ จำนวน 30 คน ผู้ดูแล/ สมาชิกในครอบครัวของผู้สูงอายุ จำนวน 30 คน ตัวแทนชุมชน จำนวน 15 คน รวมทั้งสิ้น 75 คน ดำเนินการศึกษาวิจัยตามกระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การค้นหาปัญหา 2) การวางแผนแก้ปัญหา 3) การลงมือปฏิบัติ 4) การสะท้อนผลการปฏิบัติและประเมินผล เก็บข้อมูลโดยวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา และสถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบที่สำคัญของรูปแบบการพัฒนาผู้ดูแลและแกนนำในครอบครัวและชุมชน ประกอบด้วย 1) การเตรียมความพร้อม ด้านความรู้ ทักษะการปฏิบัติการดูแล และทัศนคติที่ดีในการดูแลผู้สูงอายุ 2) การประเมินศักยภาพในการดูแลอย่างเป็นระบบและมีความต่อเนื่อง 3) การพัฒนาปรับปรุงศักยภาพในการดูแลผู้สูงอายุ และ 4) การสรา้งชุมชนนักปฏิบัติเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบเพื่อช่วยเพื่อน แบบจิตอาสา และแบบวิชาชีพ |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1912 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2560_052.pdf | 3.13 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น