กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1910
ชื่อเรื่อง: รูปแบบการดูแลสุขภาพและความปลอดภัยในการประกอบอาชีพของแรงงานสูงอายุนอกระบบในชุมชนชายทะเลเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Model of health and safety care among elderly workers living in seashore community for quality of life promotion
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ฉันทนา จันทวงศ์
นันทพร ภัทรพุทธ
วรรณภา ลือกิตินันท์
กัญจนวลัย นนทแก้ว แฟร์รี่
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะการจัดการและการท่องเที่ยว
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
คำสำคัญ: การดูแลสุขภาพ
ผู้สูงอายุ
แรงงานสูงอายุ
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: แรงงานสูงอายุเป็นกลุ่มที่เสี่ยงสูงต่อการเกิดการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บจากการทำงานเมื่อเปรียบเทียบกับแรงงานกลุ่มอื่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) อาชีวอนามัย ความปลอดภัย และคุณภาพชีวิตของแรงงานสูงอายุนอกระบบ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบในการดูแลสุขภาพ ความปลอดภัย ของแรงงานสูงอายุในชุมชนชายทะเล 3) ศึกษาข้อเสนอแนะและรูปแบบในการจัดบริการอาชีวอนามัยในหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ ให้แก่แรงงานสูงอายุในชุมชนชายทะเลฝั่งตะวันออกของประเทศไทย วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างมี 3 กลุ่มตามประเภทของการเก็บข้อมูล ได้แก่ 1) การใช้แบบสัมภาษณ์แรงงานสูงอายุ อายุ 50 ปีขึ้นไป อาชีพค้าขายแถบชายทะเลบางแสนและอ่างศิลาจำนวน 200 คน การเก็บข้อมูลโดยใช้การสนทนากลุ่มแรงงานสูงอายุ จำนวน 28 คน 2) การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารสถานบริการระดับปฐมภูมิ จำนวน 3 คน และ 3) การสนทนากลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องในการดูแลสุขภาพแรงงานสูงอายุ จานวน 44 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพรรณนาและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า 1) แรงงานสูงอายุ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 85) อายุเฉลี่ย 59.77 ปี มีการสัมผัสความร้อนหรือทำงานกลางแจ้ง (ร้อยละ72.0) บาดเจ็บจากการถูกอาหารทะเลทิ่มมือ มีดบาด (ร้อยละ 44.5 เป็นโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 29.0 มีปัญหาปวดหลัง เอว ขา หัวเข่า จากการยืนนาน นั่งนาน เมื่อเจ็บป่วยรับการรักษาโดยแพทย์แผนปัจจุบัน ร้อยละ 52.0 และไปโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจาตำบล (ร้อยละ 19) มีคุณภาพชีวิตโดยรวมในระดับปานกลาง (ร้อยละ 84) 2) ข้อเสนอแนะแนวทางการจัดบริการอาชีวอนามัยในสถานบริการระดับปฐมภูมิ จากผลการสนทนากลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องในการดูแลสุขภาพแรงงานสูงอายุ ได้เสนอแนะ รูปแบบการจัดบริการอาชีวอนามัยเชิงรุก เชิงรับ ทีมทำงาน และกลไกการทำงาน ผลการวิจัยสามารถเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายให้แก่ กระทรวงสาธารณสุขในการจัดบริการอาชีวอนามัย โดยควรมีหลักสูตรอบรม จัดอบรมความรู้ ทักษะ ให้เจ้าหน้าที่ ควรเพิ่มงบประมาณสาหรับบริการอาชีวอนามัย รูปแบบการจัดบริการอาชีวอนามัยนั้นหน่วยงาน สคร รพศ.เจ้าหน้าที่สุขภาพของเทศบาลร่วมกับเจ้าหน้าที่ของหน่วยบริการปฐมภูมิ ร่วมกันบริหารจัดการการให้บริการ การจัดตั้งเครือข่ายในการทำงานดูแลแรงงานอายุ ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ กับ อสม. ของพื้นที่ชายทะเล ในการให้บริการเชิงรุกและเชิงรับให้แก่แรงงานอายุอาชีพค้าขายชายทะเล Aging workers are at higher risk of illness and injury from working than other groups. This PAR method research aimed to investigate occupational health, safety and quality of life of aging workers in the seashore community, develop model of health and safety care and make suggestions for occupational health service in primary care unit. The research was conducted into 3 parts. The first part interviewed 200 self-employ aging workers aged over 50 years old at Bangsaen and Ang-Sila beach, then focus group discussion with 28 people. The second part, in-depth interview was used to interview 3 directors of primary care unit. The third part, focus group discussion was used with 44 municipal officers and directors of primary care unit. The descriptive statistics such as percentage, mean and standard deviation were used to analyze quantitative data and content analysis was used to analyze qualitative data. The results found that 85% of aging workers were females with 59.77 years of age average. 72.0% of the workers had exposed to heats sources, 44.5% was injured by stucking and cutting, and 29% had hypertension. Most workers had pain at back, waist, leg and knee from too long standing or sitting at work. About 52% of the aging workers seek some treatment from tertiary and secondary health care services, 19% seeking the treatment from primary care unit. Mostly, quality of life of the aging workers was at moderate level (84%). The municipal officers, directors of primary care unit, made some provoke the model of occupational health services in health promoting hospital for self-employed aging worker about outreach services and on site services, guidance for working process and Building team This findings could bu used for Ministry of Public Health to make policy for occupational health service by providing course training for health personnel and support more budget. The model for occupational health service in primary care unit should be evolved between occupational health officers from disease prevention and control office , occupational health work group of tertiary hospital, nurse from municipality office, directors of health promoting hospital, and village health volunteers to provide the outreach and onsite services.
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1910
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2560_093.pdf2.97 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น