กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1888
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุครบวงจรแบบบูรณาการ (ปีที่ 3)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of Integrative Aging Care Model (Phase llI)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พิสิษฐ์ พิริยาพรรณ
เวธกา กลิ่นวิชิต
ไพบูลย์ พงษ์แสงพันธ์
เพ็ชรงาม ไชยวานิช
ยุวดี รอดจากภัย
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
คำสำคัญ: ผู้สูงอายุ
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: แผนงานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุ โดยมีวัตถุประสงค์ย่อย ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาสารสนเทศและการจัดการความรู้ด้านสุขภาพผู้สูงอายุ 2) เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออกและและประเมินกระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบและประเมินศักยภาพการดูแลภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุ 4) เพื่อเปรียบเทียบรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น ด้วยวิธี Benchmaeking และ 5) เพื่อพัฒนารูปแบบการเตรียมความพร้อมของผู้สูงอายุและครอบครัวสู่การตายอย่างสงบที่โรงพยาบาล ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้สูงอายุ ผู้ให้บริการ ผู้ดูแลและผู้ที่เกี่ยวข้องในการดูแลผู้สูงอายุในภาคตะวันออกไทย วิธีดำเนินการวิจัย ใช้วิจัยเชิงพัฒนา การวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม การวิจัยเชิงสำรวจ การและวิจัยเชิงคุณภาพ ระยะเวลาในการศึกษา ตั้งแต่ ตุลาคม 2557-กันยายน 2558 ผลการวิจัยในแต่ละโครงการวิจัยย่อย พบว่า 1. กลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มผู้ดูแลในครอบครัวและชุมชน มีค่าเฉลี่ยความรู้ด้านสุขภาพโดยรวมหลังการเรียนรู้จากกระบวนการจัดการความรู้ ด้านสุขภาพมากกว่าก่อนเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อเปรียบเทียบเป็นรายด้าน พบว่า หลังการเรียนรู้ทุกด้าน มีความรู้มากกว่าก่อนการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนพฤติกรรมด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพหลังการเรียนรู้มากกว่าก่อนการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อเปรียบเทียบเป็นรายด้าน พบว่า พฤติกรรมด้านการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การป้องกันโรคและภาวะแทรกซ้อนจากการเจ็บป่วย มีค่าเฉลี่ยมากกว่าก่อนการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 พฤติกรรมรับประทานยา มากกว่าก่อนการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนพฤติกรรมด้านการจัดการอารมณ์ ไม่แตกต่างกัน ในกลุ่มผู้ดูแลในครอบครัวและชุมชน มีแนวปฏิบัติที่ดีในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนนักปฏิบัติ จากการถอดบทเรียน มี 5 ชุมชน นักปฏิบัติ ได้แก่ 1) ชุมชนนักปฏิบัติกลุ่มอาหารสำหรับผู้สูงอายุ 2) ชุมชนนักปฏิบัติกลุ่มการออกกำลังกายในผู้สูงวัย 3) ชุมชนนักปฏิบัติ กลุ่มการจัดการอารมณ์และความเครียดในผู้สูงอายุ 4) ชุมชนนักปฏิบัติ กลุ่มรู้เรื่องยาในผู้สูงอายุ และ 5) ชุมชนนักปฏิบัติ กลุ่มรู้เท่าทันโรคภัยไข้เจ็บในผู้สูงอายุ 2. พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ และแนวทางการดำเนินงานด้านการส่งเสริมสุขภาพในชุมชนโดยใช้การมีส่วนร่วมของชุมชนในภาคตะวันออกของไทย พบว่า การรับรู้ภาวะสุขภาพของตนเอง ส่วนใหญ่รู้สึกว่ามีสุขภาพดี ร้อยละ 46.7 และรู้สึกว่าสุขภาพไม่ดีร้อยละ 18.6 พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ จำแนกรายด้าน ได้ดังนี้ พฤติกรรมที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด คือ การสุขาภิบาลที่อยู่อาศัย ค่าเฉลี่ย 3.64 รองลงมาคือ พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพทางจิตวิญญาณและการปฏิบัติเพ่อความปลอดภัย ค่าเฉลี่ย 3.40 และพฤติกรรมที่ปฏิบัติต่ำที่สุดคือ การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ค่าเฉลี่ย 3.03 ระดับการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ โดยภาพรวมอยู่ในระดับดีและดีมาก การศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน ประกอบด้วย 1) การจัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการวางแผนดำเนินงานอย่างมีส่วนร่วม และกำหนดประเด็นในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน ซึ่งประกอบด้วย การส่งเสริมสุขภาพกาย และสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในชุมชน 2) เจ้าหน้าที่สาธารณาสุข อาสาสมัครสาธารณสุขในชุมชน ผู้สูงอายุและประชาชนในชุมชน เข้าในแนวคิดและกระบวนการส่งเสริมสุขภาพมากขึ้น โดยประยุกต์แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาสุขภาพภาคประชาชน แนวคิดเกี่ยวกับสุขภาพ แนวคิดการสร้างพลังอำนาจ และแนวคิดการทำงานโดยอาศัยภาคีเครือข่าย ซึ่งเป็นกระบวนการที่สำคัญในการส่งเสริมความเข้มแข็งให้ชุมชนพัฒนาศักยภาพด้านการส่งเสริมสุขภาพด้วยตนเอง และเกิดการปฏิบัติด้านพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพที่เหมาะสม 3. ผลจากการใช้โปรแกรมการดูแลภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุ มีผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมกับโครงการวิจัย จำนวน 314 ราย ทุก่านได้รับคำแนะนำในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้านการควบคุมภาวะโภชนาการ โดยการให้ความรู้ทางโภชนาการ แก่ผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังต่าง ๆ อยู่ก่อนแล้ว ช่วยให้ผู้สุงอายุรู้จักหลีกเลี่ยงประเภทอาหาร ที่ไม่เหมาะสมกับตนเอง ในผู้สูงอายุที่สามารถอ่านหนังสือได้ และนิยมซื้ออาหารสำเร็จรูป การให้คำแนะนำ เพื่อให้ผู้สูงอายุเรียนรู้คุณค่าของอาหาร จากฉลากโภชนาการ จะให้ประโยชน์ต่อการเลือกซื้ออาหาร ได้เหมาะกับสุขภาพตน และการให้ความรู้ควบคู่กับการออกกำลังกาย และการดูแลตัวเองในวัยผู้สูงอายุ โดยโปรแกรมกังกล่าง สนับสนุนให้ผู้สูงอายุออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อช่วยลดความดันโลหิต ลดไขมันส่วนเกินในร่างกาย เพิ่มระดับเอชดีแอลโคเลสเตอรอลในกระแสเลือด และเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ โดยการเดินวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 5 วัน ทพติดต่อกัน 12 สัปดาห์ ช่วยให้ผู้สูงอายุมีความทนต่อการเดิน (Walk endurance capacity) ดีขึ้น และการเดินมากกว่า 4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ มีความสัมพันธ์กับการลดลงของอัตราตาย และโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้สูงอายุด้วย ผู้สูงอายุที่ไม่เคยและจะเริ่มออกกำลังกายควรได้รับการตรวจจากแพทย์ เพื่อทราบข้อห้ามโดยเฉพาะเป้นโรคหัวใจอยู่ก่อนแล้ว 4. เมื่อเปรียบเทียบรูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สุงอายุในประเทศไทย และประเทศญี่ปุ่น มีความเหมือนกันเป็นส่วนใหญ่ เช่น มีนโยบายการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว การดูแลผู้สูงอายุโดยครอบครัวและชุมชน สวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุ แนวปฏิบัติที่ดี/ สถาปัตยกรรม/ สิ่งประดิษฐ์ สำหรับผู้สูงอายุแต่มีความแตกต่างกันในรายละเอียดบางอย่าง เช่น มาตรการในการดูแลผู้สูงอายุในญี่ปุ่นจะเหมือนกันทั้งภาครัฐและเอกชนการดูแลผู้สูงอายุจะมีบริบททางวัฒนธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยการดูแลผู้สูงอายุโดยครอบครัวและชุมชนในประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นมีการดำเนินการที่จะลดการพึ่งพิงของผู้สูงอายุและพยาบาลให้ผู้สูงอายุได้พึ่งตนเองได้ในขณะเดียวกันจากจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นและผู้สูงอายุที่มีอายุยืนนานขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องมีระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุ ที่ชัดเจนมากขึ้น ดังนี้ 1) ใช้ครอบครัวและชุมชนเป้นฐานในการดูแล มีสังคมของผู้สูงอายุให้ผู้สูงอายุได้ทำการกิจกรรมร่วมกัน 2) มีการดูแลในวิถัชีวิตประจำวัน การดูแลอนามัยพื้นฐาน 3) มีการจัดอบรม อาสาสมัครเพ่อการดูแลผู้สูงอายุ เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจและแรงจูงใจในการดูแลผู้สูงอายุ 4) ธุรกิจการรับจ้างดูแลผู้สูงอายุ และ 5) มีเครือข่ายในการดูแลผู้สูงอายุ 5. รูปแบบการเตรียมความพร้อมของผู้สูงอายุและครอบครัวสู่การตายอย่างสงบที่โรงพยาบาลตามบริบทของภาคตะวันออกของไทย ประกอบด้วย 1) การกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการเตรียมความพร้อม 2) ความมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุและครอบครัวในการออกแบบและเลือกกระบวนการดูแลก่อนการตาย ขณะเข้าสู่การตายและหลังการตายอย่างสงบ 3) การประเมินผลลัพธ์หลังดำเนินการ และ 4) การพัฒนาแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดูแลผู้สูงอายุและครอบครัวสู่การตายอย่างสงบ The purpose of this research project was developing integrated aging care model and sub-objectives were 1) developing and knowledge management of aging health information 2) development health promotion model and evaluation health promotion potential in elderly 3) evaluation nutritional care model and nutritional assessment in elderly 4) to compare the health care model of the elderly in Thailand and Japan Benchmarking 7) development hospital based peaceful dying preparation for elderly at the end of life. The population of this research project was the elderly, the provider and the care giver in eastern region of Thailand. Research methodologies were research and developing, participatory action research, survey and descriptive research and qualitative research. Study time since October 2014 to September 2015. It was found that; 1. the comparison knowledge in elderly between pre-posttest was different with statistically significance at .01 level as overall and all aspects. The comparison health behaviors in elderly between pre-posttest was different with statistically significance at .01 level in overall, and aspects such as; diet, exercise, and prevention. Drug compliance was different with statistically significance at .05 level, but the emotional and stress management was not different. The comparison knowledge in elderly care givers in family and community between pre-posttest was different with statistically significance at .01 level as overall and all aspects. The Good practices in health care to the elderly in the community from lessons learned were 5 Community of Practitioners (CoPs). 1. Food 2. Exercise 3. Emotions and stress management 4. Drugs compliance in the elderly and 5. Communities of Practice Grooup of disease in the elderly. 2. the participation action research aimed to study health promotion behaviors of the elderly people and community involvement in the community. The samples for the study were 415 elderly people living in the eastern region of Thailand. The data collected included interviews of personal information, health status and health protion behavior. The results revealed that 46.7% of the samples perceived themselves healthy, and 18.6% felt that they had poor health. The health promoting behavior of the participants included; the highest mean score of 3.64 on housing sanitation, followed by the behavioral health and spiritual practices to ensure safety and behavior at the average score of 3.40. The lowest average score of 3.03 was on social interaction and behavior. The health promoting behaviors as a whole was good and very good. The process of community participation in health promotion for the elderly included: 1. Learning exchange meeting and planning operations involved and define the issues in promoting healthy aging which included promoting physical health, and mental health of the elderly in the community. 2. Health offiocials, health volunteers, the elderly and people in the community understood the concepts and processes of health promotion by application of concepts to develop health sector, and ideas about health. The concept of empowerment and concept of working through partnership networks, which was a key process in promoting a strengthen community development and health promotion on their own and to promote proper health practices and behaviors. 3. Results of the nutrition care model in the elderly found that the elderly joined a research project of 314 people, there were advised to promote healthy aging nutritional control. by providing nutritional knowledge. The elderly with chronic diseases already known to help themselves aviod food that does not appropriated with their. In older adults who can read and usually bought instant food have to advise and learn the useful of food from nutrition labeling. It provides benefits to buy food appropriately and fit of their health. Health education with exercise can help the elderly self-care with this nutrition care model were encoraged to exercise regularly to decreasing blood pressure, reduce abscess fat in the body, increased levels of HDL-cholesterol in the bloodstream, and increase muscle strength by walking 30 minutes a day, five days a week for consecutive weeks. It was helping older people has walk endurance capacity. And if they walk more than four hours per week it was associated to decrease the mortality rate and cardiovascular disease in the elderly. The elderly who have never and will begin workouts should be physical examined by a doctor to receive prohibit exercise, especially those with a history of heart disease. 4. The comparative health care in elderly between Japan and Thailand found similar in long term care policy, community and family based, welfare and innovative universal architected designs for elderly and different in some details such as; in Japan protocol for the elderly in public and private sectors were the same protocol but in Thailand was different, cultural of the country. The important issues for improving health care pattern for elderly in Thailand were 1) Community and family based help for setting elderly society and created more activities together. 2) Daily care with basic hygiene care for elderly 3) Volunteer training for elderly health care 4) Elderly care business and 5) the elderly care worker network. 4. The model of preparing of death and dying peaceful hospital-based for the eastern elderly and their family consists of 1) the purpose and goals of preparedness. 2) The involvement of the elderly and their families in the design. Planning and selection process of care before death. As to the death and after death peacefully 3) implementation and 4) to reflect and evaluate the implementation and 4) developing best practices to serve as guidelines for the care of the elderly and their families to die peacefully.
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1888
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2560_012.pdf4.56 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น