กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1854
ชื่อเรื่อง: ฤทธิ์ต้านแบคทีเรียจากสารสกัดหยาบเปลือกมังคุดและฟักข้าวสำหรับใช้บนผ้าพิมพ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Anti-bacterial activity from mangosteen rind and gac crude extract for printing textile
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ญาณิศา ละอองอุทัย
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: ฟักข้าว -- การวิเคราะห์
เปลือกมังคุด -- การวิเคราะห์
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
สารต้านจุลชีพ
สารต้านแบคทีเรีย
สารสกัดจากพืช -- การใช้ประโยชน์
สารสกัดจากพืช -- การวิเคราะห์
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: สิ่งทอ ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ที่ใช้ในการนุ่งห่ม ยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ ในด้านต่าง ๆ อีกมากมาย รวมไปถึง การนำมาใช้ในทางการแพทย์ เช่น ผ้าพันแผล ชุดผ่าตัด และด้ายเย็บ แผลเป็นต้น ซึ่งเป็นสิ่งทอที่ต้องการให้อยู่ในสภาวะปลอดเชื้อ แต่ในประเทศไทยที่มีอากาศร้อนชื้นทำให้จุลชีพ เจริญเติบโตได้ดี งานวิจัยนี้จึงต้องการศึกษาการประยุกต์ใช้สารต้านจุลชีพในการเคลือบลงบนสิ่งทอที่ผ่าน กระบวนการพิมพ์ด้วยสีจากเปลือกมังคุดและกัม มาทำการเคลือบด้วยสารต้านจุลชีพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลชีพ โดยศึกษาสารต้านจุลชีพ ประกอบด้วย สกัดหยาบที่ได้จากฟักข้าว ที่สกัดด้วยตัวทำละลาย เฮกเซนและเอทานอล ซึ่งนำไปใช้ทดสอบการยับยั้งเชื้อ Staphylococus aureus (TISTR 1466) และ Esherichia coli (T2STR 780) ด้วยวิธี Disc diffusion test ที่ความเข้มข้นของสารสกัดหยาบ 300 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร พบว่าฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรีย S. aureus สารสกัดจากเยื่อหุ้มเมล็ดที่สกัดด้วยเฮกเซนมีฤทธิ์ยับยั้งดีที่สุด รองลงมาคือ รากที่สกัดด้วยเมทานอล ใบที่สกัดด้วยเฮกเซน ลำต้นที่สกัดด้วยเมทานอล ตามลำดับ ส่วนฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย E. coli พบว่าสารสกัดจากเฮกเซนไม่สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวได้ แต่สารสกัดลำต้นและรากที่สกัดด้วยเมทานอล โดยสารสกัดจากลำต้นยับยั้งได้ดีที่สุด เมื่อนำสิ่งทอคือผ้าฝ้ายและผ้าไหมพิมพ์ด้วยสีเปลือกมังคุดและกัมจากมะขามพบว่าสามารถยับยั้งเชื้อจุลชีพได้เฉพาะ S. aureus และเมื่อนำสิ่งทอที่ย้อมสีดังกล่าวมาเคลือบด้วยสารสกัดฟักข้าวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการต้านจุลชีพ ผลของการเคลือบสิ่งทอด้วยสารต้านจุลชีพ พบว่าไม่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการยับยั้งได้ นอกจากนี้ยังได้ทำการแยกสารที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคจากสารสกัดหยาบฟักข้าวส่วนใบและเยื่อหุ้มเมล็ดซึ่งให้ผลการยับยั้งเชื้อที่สูง โดยใช้เทคนิคเจลฟิลเตรชันโครมาโตรกราฟี พบว่าการแยกสารสกัดลำดับส่วนด้วยเทคนิคเจลฟิลเตรชันโครมาโตกราฟีและการทดสอบฤทธิ์การยับยั้งเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบ สามารถแยกสารสกัดลำดับส่วนของสารสกัดหยาบส่วนใบได้ 16 ลำดับส่วน พบว่าลำดับส่วนที่ 12 สามารถยับยั้งการเติบโตของเชื้อ Escherichia coli ลำดับส่วนที่ 12, 13 และ 14 สามารถยับยั้งการเติบโตของเชื้อ Staphylococcus aureus และแยกสารสกัดลำดับส่วนของสารสกัดหยาบส่วนเยื่อหุ้มเมล็ดได้ 18 ลาดับส่วน พบว่าลำดับส่วนที่ 11, 12 และ 13 สามารถยับยั้งการเติบโตของเชื้อทั้งสองชนิด
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1854
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2560_029.pdf1.98 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น