กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1826
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์ | |
dc.contributor.author | อรวรรณ แก้วบุญชู | |
dc.contributor.author | มริสสา กองสมบัติสุข | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T09:09:51Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T09:09:51Z | |
dc.date.issued | 2558 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1826 | |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง โดยมีการประเมินการรับสัมผัสสารเคมีในกลุ่ม Aromatic Hydrocarbons และรูปแบบการใช้ชีวิต รวมถึงการประเมินระดับไนตริคออกไซด์ของลมหายใจออกของตำรวจจราจรที่ปฏิบัติงานในเขตภาคตะวันออก โดยจำนวนตัวอย่างทั้งหมดในการศึกษามี 366 คน เป็นเพศชายทั้งหมด 100 % แบ่งเป็นกลุ่มศึกษา 186 คนและกลุ่มเปรียบเทียบ 180 คน กลุ่มศึกษามีอายุเฉลี่ย 44.90 ปี และ 34.66 ปี สำหรับกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มศึกษามีสภาพการทำงานในแต่ละวันในหน้าที่หลักอยู่ระหว่าง 11- 12 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 42.5 และทำงาน 6 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 37.1 มีการใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจทุกครั้งเพียงร้อยละ 20.4 โดยส่วนใหญ่มีการใช้ผ้าปิดจมูก ร้อยละ 80.7 และรู้จักอันตรายจากการสัมผัสสารเคมีในกลุ่ม Aromatic Hydrocarbons เพียงร้อยละ 10.8 เท่านั้น รูปแบบการใช้ชีวิตของกลุ่มศึกษา มีการรับประทานอาหารเช้า, ครบ 5 หมู่ และรับประทานผักทุกวัน (ร้อยละ 73.7, 24.2 และ 26.3 ตามลาดับ) มีชั่วโมงการนอนหลับปกติ 6 ชั่วโมง ร้อยละ 36.0 มีความเครียดที่ทำงาน (บ่อย ๆ รวมกับเป็นบางครั้ง) ร้อยละ 64.5 และกลุ่มศึกษารู้สึกมีความสุขเมื่อดูโดยรวม ร้อยละ 86.7 และพบว่าส่วนใหญ่มีคะแนนของรูปแบบการใช้ชีวิต อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 86.0 ในการเก็บตัวอย่างอากาศใช้ Organic Vapor Monitor (3M 3500) ติดตัวบุคคลในระดับการหายใจของกลุ่มศึกษา พบว่า กลุ่มศึกษา (n=181) มีค่าเฉลี่ย ± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของ Toluene 129.43 ± 38.906 ppb, Xylene 282.56 ± 57.536 ppb, Acetone 59.38 ± 21.916 ppb, Hexane 115.38 ± 51.926 ppb, Cyclohexane 150.78 ± 51.828 ppb และ Ethyl benzene 22.23 ± 66.189 ppb และมีการเก็บตัวอย่างปัสสาวะหลังสิ้นสุดการทำงาน พบว่า กลุ่มศึกษา (n=178) มีค่าเฉลี่ย ± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของ Hippuric acid 457.04 ± 625.580 mg/g creatinine และ Methylhippuric acid 2.64 ± 23.524 mg/g creatinine และระดับไนตริคออกไซด์ของลมหายใจออกของกลุ่มศึกษา (n =177) ส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่า (< 25 ppb) ร้อยละ 84.2 มีค่าเฉลี่ย ± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน17.60 ± 9.442 ppb นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของปริมาณระดับความเข้มข้นของสารเคมีในกลุ่ม Aromatic Hydrocarbons ระหว่างกลุ่มศึกษาและกลุ่มเปรียบเทียบ พบว่า สาร Toluene มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p < 0.001) และพบว่าค่าเฉลี่ยปริมาณระดับไนตริคออกไซด์ของลมหายใจออกของกลุ่มศึกษาและกลุ่มเปรียบเทียบ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p =0.003) และเมื่อหาความสัมพันธ์พบว่าปริมาณระดับความเข้มข้นของสารเคมีในกลุ่ม Aromatic Hydrocarbons ในบรรยากาศการทำงานแบบติดตัวบุคคลและ Hippuric acid และ Methylhippuric acid กับปริมาณระดับไนตริคออกไซด์ของลมหายใจออกของกลุ่มศึกษาไม่มีความสัมพันธ์กัน แต่พบว่ารูปแบบการใช้ชีวิตกับปริมาณระดับไนตริคออกไซด์ของลมหายใจออกของกลุ่มศึกษามีความสัมพันธ์กัน (r=-0.149, p=0.048) จากผลการศึกษานี้ทำให้ตระหนักได้ว่า กลุ่มศึกษามีการสัมผัสสารเคมีในกลุ่ม Aromatic Hydrocarbons และปริมาณระดับไนตริคออกไซด์ของลมหายใจออกในขณะทางานและควรจัดให้มีโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพและการอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจถึงอันตรายและวิธีการป้องกันของสารเคมีในกลุ่มดังกล่าวและสารไนตริคออกไซด์ของลมหายใจออกรวมถึงการแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจที่ถูกต้องและเหมาะสมต่อไป | th_TH |
dc.description.sponsorship | โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุเหนุนจากรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 | en |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | ไนตริคออกไซด์ | th_TH |
dc.subject | สารเคมี | th_TH |
dc.subject | สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ | th_TH |
dc.title | การประเมินการรับสัมผัสสาร Aromatic Hydrocarbons และรูปแบบการใช้ชีวิตที่ส่งผลต่อระดับไนตริคออกไซด์ของลมหายใจออกของตำรวจจราจรที่ปฏิบัติงานในเขตภาคตะวันออก | th_TH |
dc.title.alternative | Evaluation of aromatic hydrocarbons exposure and life style to affect exhaled nitric oxide among traffic policemen in eastern region | en |
dc.type | Research | |
dc.author.email | sriratl@hotmail.com | |
dc.author.email | orawan.kae@mahidol.ac.th | |
dc.year | 2558 | |
dc.description.abstractalternative | This research was a cross sectional study. The objectives were to evaluate aromatic hydrocarbons exposure, metabolites, exhaled nitric oxide and life style among traffic policemen in Eastern region. We sampled 366 persons; 186 cases who worked as traffic policemen in Eastern region and 180 as a controllers. Mean of age of the cases was 44.90 years; controller mean age was 34.66 years. Forty two point five percent of the case group worked between 11-12 hours per day, 6 days per week (37.1%), Smoking at present (25.8%) and twenty point four percent always used respiratory protection; however, most of them used only cotton masks (80.7%). Ten point eight percent of the cases knew about the hazardous of aromatic hydrocarbons. The pattern of life style of the study group comprised breakfast, with five groups of essential element and consume vegetable everyday (73.7 %, 24.2 % and 26.3 %, respectively), sleepiness about 6 hours per day (36.0 %) and the stress (often include sometimes) (64.5%). Most of them about life style had moderate level (86.0%). In collecting the air samples a personal “Organic Vapor Monitor (3M 3500)” was attached to the shirt in front of the chest level of the cases. Results of the study group showed average ± SD measures of Toluene 129.43 ± 38.906 ppb, Xylene 282.56 ± 57.536 ppb, Acetone 59.38 ± 21.916 ppb, Hexane 115.38 ± 51.926 ppb, Cyclohexane 150.78 ± 51.828 ppb และ Ethyl benzene 22.23 ± 66.189 ppb Urine samples were collected after the work shift. Results of urine samples showed average + SD of Hippuric acid 457.04 ± 625.580 mg/g creatinine และ Methylhippuric acid 2.64 ± 23.524 mg/g creatinine. Exhaled nitric oxide was low level (<25 ppb) (84.2%) and average ± SD 17.60 ± 9.442 ppb. The average comparison of concentration of Aromatic Hydrocarbons (only Toluene) was significantly different between the study and control groups at level 0.05 (p < 0.001). The exhaled nitric oxide was significantly different between the study and control groups at level 0.05 (p =0.003). However, the relationship between aromatic hydrocarbons, hippuric acid, methylhippuric acid and exhaled nitric oxide of study group were not significant. For relationship between life style and exhaled nitric oxide of study group were significantly at level 0.05 (r=-0.149,p=0.048). The subjects of this study were traffic policemen in Eastern region; nevertheless we should be concerned about their exposure to aromatic hydrocarbons and exhaled nitric oxide while working and there should be health promotion program and organizing the training in order to gain the knowledge and understanding the hazard and the protection. Furthermore, they should be recommended about the use of the correct and suitable respiration protective equipment. | en |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2564_087.pdf | 2.5 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น