กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1824
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนากระบอกเก็บตัวอย่างดินที่เหมาะสมสำหรับการเก็บตัวอย่างดินของดินเหนียวกรุงเทพฯ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Development of tube sampler for collecting soil specimen of Bangkok clay |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สยาม ยิ้มศิริ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ดิน -- การสุ่มตัวอย่าง -- เครื่องมือและอุปกรณ์ สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย ดินเหนียว -- ไทย -- กรุงเทพฯ |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การรบกวนต่อตัวอย่างดินระหว่างการเก็บตัวอย่างจากสนามจะทำให้ตัวอย่างดินให้ผลการทดสอบคุณสมบัติทางวิศวกรรมที่ต่ำลง เช่น ค่า strength หรือ modulus ต่ำกว่าความเป็นจริง ซึ่งจะเป็นผลทำให้การออกแบบและการก่อสร้างมีความสิ้นเปลืองมากขึ้น ดังนั้นตัวอย่างดินที่ใช้ทดสอบทางวิศวกรรมในห้องปฏิบัติการจะต้องมีสภาพใกล้เคียงกับในสนามมากที่สุดโดยมีการรบกวนจากการเก็บตัวอย่างน้อยที่สุด Tanaka et al. (1996) ได้มีการแสดงว่าตัวอย่างคงสภาพของดินเหนียวอ่อนที่ได้จากกระบอกเก็บตัวอย่างแบบลูกสูบเป็นการเก็บตัวอย่างแบบกระบอกที่ดีที่สุดทั้งในแง่ของการทำงานและค่าใช้จ่าย แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มี การใช้กระบอกแบบลูกสูบอย่างแพร่หลายในประเทศไทยและไม่มีมาตรฐานในการเก็บตัวอย่างด้วยวิธีนี้ อีกทั้งมาตรฐานของกระบอกแบบลูกสูบในประเทศอื่น (เช่น ASTM, JIS, BS) ก็มีความแตกต่างกัน ฉะนั้นโครงการนี้ จึงทำการออกแบบและผลิตกระบอกเก็บตัวอย่างสำหรับการใช้กับดินเหนียวกรุงเทพฯและขั้นตอนการทำงานเจาะสำรวจดินในประเทศไทยเพื่อเป็นต้นแบบในการพัฒนามาตรฐานของกระบอกเก็บตัวอย่างสำหรับประเทศไทยต่อไป |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1824 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2564_149.pdf | 2.01 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น