กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1812
ชื่อเรื่อง: การดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังตามแนวทฤษฎีโปรแกรมภาษาประสาทสัมผัส ปืที่ 3: ผลการให้คำปรึกษาทฤษฎีโปรแกรมภาษาประสาทสัมผัสต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Neuro-linguistic programming on mental health care of elderly with chronic illness; Saensuk Municipality,Chon Buri, Thailand Phase 3:The Effects of Neuro-Linguistic Programming Counseling on Depression of the Elderly with Chronic illness
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สรร กลิ่นวิชิต
เวธกา กลิ่นวิชิต
พวงทอง อินใจ
พลอยพันธุ์ กลิ่นวิชิต
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
คำสำคัญ: การดูแลผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุ
ภาวะซึมเศร้า
โปรแกรมประสาทสัมผัส
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Quasi Experimental research) เพื่อศึกษาผลการให้คำปรึกษาทฤษฎีโปรแกรมภาษาประสาทสัมผัสต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง เป็นการวิจัยเชิงทดลองประเภทสองตัวประกอบแบบวัดซ้ำหนึ่งตัวประกอบ (Two-factors Experiment with Repeated Measure on One factor)กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุ ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่เป็นโรคเรื้อรัง ที่อยู่อาศัยในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี ที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา และได้รับการประเมินระดับภาวะซึมเศร้าแล้วมีคะแนนซึมเศร้าในระดับปานกลางขึ้นไป - รุนแรง จำนวน 39 คน และสมัครใจเข้าร่วมการวิจัย ได้กลุ่มตัวอย่าง 32 คน แล้วนำมาสุ่มอย่างง่ายเข้ากลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 16 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบประเมินภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย (Thai Geriatric Depression Scale : TGDS) และโปรแกรมภาษาประสาทสัมผัสด้วยเทคนิครัศมีพลังแห่งตนกลุ่มตัวอย่างได้รับ การให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล จำนวน 1 ครั้ง 45 นาที และตอบแบบประเมินภาวะซึมเศร้า 3 ระยะ คือ ระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล ซึ่งห่างจากระยะหลังการทดลอง 2 สัปดาห์ นำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยวิธีการวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม และทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มโดยวิธีการทดสอบรายคู่แบบ LSD ผลการวิจัย พบว่า ผลการให้คำปรึกษาแก่ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังโดยใช้เทคนิครัศมีพลังแห่งตนตามทฤษฎีโปรแกรมภาษาประสาทสัมผัสต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ พบว่า มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองกับระยะเวลาของการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังและมีภาวะซึมเศร้ากลุ่มทดลองที่ได้รับการให้คำปรึกษาด้วยเทคนิครัศมีพลังแห่งตนมีระดับภาวะซึมเศร้าในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลต่ำกว่าผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มควบคุมที่ได้รับการให้คำปรึกษาด้วยวิธีปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้สูงอายุกลุ่มทดลองมีระดับภาวะซึมเศร้าในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลต่ำกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1812
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2564_139.pdf2.1 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น