กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1811
ชื่อเรื่อง: | โครงการ การพัฒนารูปแบบการพักเพื่อลดความเมื่อยล้าของพนักงานขับรถขนส่งสารเคมีอันตราย จังหวัดชลบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Development of work-rest model for reducing fatigue among Hazardous chemical transportation drivers, Chonburi |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | นันทพร ภัทรพุทธ ทนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข ปิติ โรจน์วรรณสินธุ์ วัลลภ ใจดี มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ความเมื่อยล้า ความเสี่ยง สารเคมีอันตราย สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
สำนักพิมพ์: | คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความล้า ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความล้าพฤติกรรมเสี่ยงและรูปแบบของเวลาพักที่เหมาะสม สำหรับพนักงานขับรถขนส่งสารเคมีอันตราย เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวางในสถานประกอบกิจการขนาดกลางและเล็กที่ตั้งอยู่ ในจังหวัดชลบุรี จำนวน 3 โรง ได้แก่ (1) โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับสีน้ำมันชักเงา เชลแล็ค แล็กเกอร์ (2) โรงงานผลิตก๊าซ (3) โรงงานบรรจุก๊าซโดยทำการเก็บข้อมูลในพนักงานขับรถขนส่งสารเคมีอันตรายจำนวนทั้งสิ้น 99 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม ความรู้สึกล้าเชิงจิตพิสัย เครื่องวัดความล้าเชิงวัตถุพิสัย (CFF) ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความชุกของความล้าจากเครื่องวัดความล้าเชิงวัตถุพิสัย ร้อยละ 32.32 และจากแบบสอบถามความล้าเชิงจิตพิสัยร้อยละ 16.16 สำหรับปัจจัยที่สัมพันธ์กับความล้า พบว่า การดื่มสุรา แอลกอฮอล์เท่านั้น ที่พบความสัมพันธ์กับค่า CFF ที่ p = 0.006 พฤติกรรมเสี่ยงในการขับรถมีความสัมพันธ์กับความรู้สึกล้าเชิงจิตพิสัยที่ p = 0.002 ผลการวิเคราะห์ด้วยสถิติถดถอยพหุคูณระหว่าง ปัจจัยต่าง ๆ กับความล้า พบว่า เฉพาะปัจจัยด้านการมองเห็นเท่านั้นที่มีผลต่อความล้าเชิงวัตถุพิสัยที่p=0.027 โดยสมการที่ได้มีค่า R2 = 0.123 การคำนวณค่าเวลาพัก โดยใช้แนวทางขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) โดยศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ ความจำเป็นส่วนบุคคล ความล้าพื้นฐาน ปัจจัยในการทำงาน และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ได้ค่าเวลาพักสำหรับการขับรถขนส่งสารเคมีที่มีระยะเวลาขับรถ 8 ชั่วโมงทำงานต่อวัน เท่ากับ 115 นาที Output / Outcome ได้ค่าเวลาพักสำหรับการขับรถที่มีระยะเวลาขับรถ 8 ชั่วโมงต่อวัน เท่ากับ 115 นาที โดยมีรูปแบบการพักรถทุก ๆ 2 ชั่วโมง เพื่อลดความล้าในการขับรถขนส่งสารเคมีอันตราย ขอเสนอแนะสำหรับงานวิจัยครั้งนี้ 1. กำหนดให้มีการตรวจสภาพความพร้อมของรถและคนขับก่อนออกรถทุกครั้ง โดยอาจใช้แบบตรวจสอบ (Checklist) ได้แก่ แบบตรวจสอบสภาพรถ แบบประเมินปริมาณและคุณภาพการนอน 2. กำหนดมาตรการห้ามดื่มแอลกอฮอล์ก่อนและขณะขับรถ โดยใช้เครื่องเป่าแอลกอฮอล์ทั้งก่อนและหลังการขับรถ 3. ควรมีการตรวจวัดสายตาสำหรับพนักงานขับรถอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง พร้อมทั้งมีมาตรการแก้ไขกรณีพบความผิดปกติในการมองเห็น นอกจากนั้นแล้วควรจัดให้มีแว่นกันแดดสำหรับคนขับรถ ในช่วงเวลากลางวัน เพื่อลดความล้าของตาและภาวะสายตาเสื่อมก่อนวัยอันควร 4. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพและความปลอดภัยในการขับรถขนส่งสารเคมีเป็นระยะ ๆ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อเป็นการกระตุ้นพนักงานให้เห็นความสำคัญด้านอาชีวะอนามัยและความปลอดภัย ขอเสนอแนะเพื่อการวิจัยในครั้งต่อไป 1. ทดสอบรูปแบบการพัก เพื่อทราบว่ารูปแบบใดที่จะช่วยฟื้นตัวด้านสรีระวิทยาและลดความล้าได้มากที่สุด 2. ศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมที่จะช่วยลดความล้าในระหว่างการพัก เช่น การงีบพักในช่วงระยะเวลาต่าง ๆ และ/ หรือ การดื่มกาแฟ เป็นต้น |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1811 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2564_125.pdf | 8.16 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น