กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1808
ชื่อเรื่อง: ฟองน้ำทะเล: ดัชนีชี้วัดทางชีวภาพที่เป็นทางเลือกใหม่ในการใช้ตรวจติดตามมลพิษจากโลหะหนักบริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Marine sponges: The new alternative bioindicators to monitor heavy metal pollution in the eastern coast of the gulf of Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: แววตา ทองระอา
ฉลวย มุสิกะ
มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
คำสำคัญ: ฟองน้ำทะเล
มลพิษ
โลหะหนัก
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: แผนงานวิจัยนี้ประกอบด้วย โครงการวิจัยย่อย 2 โครงการ คือ คุณภาพสิ่งแวดล้อมใน ถิ่นอาศัยของฟองน้ำทะเลบริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของไทย และ การติดตามการสะสม ของโลหะหนักในฟองน้ำทะเลบริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของไทย ระยะเวลาทําการศึกษา 2 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2557-2558 มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการใช้ฟองน้ำทะเลเป็นดัชนีชี้วัดทางชีวภาพ ในการตรวจติดตามมลพิษจากโลหะหนักบริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของไทย โดยทําการศึกษา ในพื้นที่ 3 บริเวณ คือ หมู่เกาะมัน และเกาะสะเก็ด จังหวัดระยอง และหมู่เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี รวม 7 สถานี มีการสํารวจและเก็บตัวอย่างน้ำทะเล ดินตะกอน และฟองน้ำทะเลรวมทั้งสิ้น 6 ครั้ง ระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2557 ถึง เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ผลการศึกษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในถิ่นอาศัยของฟองน้ำทะเล พบว่า คุณภาพน้ำทะเลใน บริเวณพื้นที่ศึกษา ส่วนใหญ่มีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลของไทยตามประเภทการใช้ ประโยชน์คุณภาพน้ำทะเลในแต่ละพื้นที่ ดังนี้ คุณภาพน้ำทะเลเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สําหรับพื้นที่หมู่เกาะมัน และคุณภาพน้ำทะเลเพื่อการอุตสาหกรรมและท่าเรือสําหรับพื้นที่เกาะ สะเก็ดและหมู่เกาะสีชัง ดินตะกอนมีสภาพเป็นด่าง โดยมีค่าความเป็นกรด-ด่างอยู่ในช่วง 8.1-9.2 มี ปริมาณสารอินทรีย์ค่อนข้างต่ำอยู่ในช่วง 0.2 - 2.1 % และส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นดินทราย การสํารวจ ประชากรแพลงก์ตอนพืช พบทั้งสิ้น 85 สกุล แพลงก์ตอนพืชที่มีความชุกชุมมากที่สุดทุกสถานีและทุก เดือนที่สํารวจ คือ กลุ่มไดอะตอม บริเวณที่พบความหนาแน่นแพลงก์ตอนพืชสูงสุด คือ เกาะสะเก็ด รองลงมา คือ หมู่เกาะสีชัง และ หมู่เกาะมัน ตามลําดับ ความหลากหลายทางชีวภาพของฟองน้ำทะเล พบทั้งสิ้น 54 ชนิดจาก 41 สกุล 31 วงศ์ 10 อันดับ การสะสมโลหะหนัก 7 ชนิด ได้แก่ Cd, Cu, Fe, Hg. Ni, Pb และ Zn ในฟองน้ำทะเล จํานวน 20 ชนิด รวม 184 ตัวอย่าง พบว่า ฟองน้ำทะเลมีการสะสม Cd, Cu, Hg. Ni และ Zn ไว้ได้มากกว่า ความเข้มข้นของโลหะหนักดังกล่าวที่มีอยู่ในน้ำทะเลและในดินตะกอน ยกเว้น Fe และ Pb ซึ่งพบใน ดินตะกอนมากว่าในฟองน้ำทะเล และยังพบว่าในบริเวณเดียวกัน ฟองน้ำทะเลต่างชนิดกันมีการ สะสมโลหะหนักได้ต่างกันด้วย โดยฟองน้ำทะเลที่อาจจะใช้เป็นดัชนีชี้วัดทางชีวภาพในการตรวจ ติดตามมลพิษจากโลหะหนักได้ดีในบริเวณ หมู่เกาะมัน และ หมู่เกาะสีชัง คือ Petrosia (Petrosia) sp. “vase” และ Clathria (Thalysias) rein wardti และบริเวณเกาะสะเก็ด คือ Paratetilla bacca และ Oceanapia sagittaria เพราะเป็นฟองน้ำชนิดเด่นในพื้นที่ แต่อย่างไรก็ ตามควรได้มีการศึกษาในลักษณะนี้ซ้ำอย่างต่อเนื่องทั้งในบริเวณนี้และบริเวณอื่น ๆ ด้วย เพื่อเป็นการ ยืนยันผลและให้ได้ข้อมูลมากขึ้น เนื่องจากเป็นองค์ความรู้ที่ไม่พบว่ามีการรายงานมาก่อนในประเทศไทย
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1808
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2560_099.pdf21.65 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น