กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1789
ชื่อเรื่อง: โครงการ การศึกษาอิทธิพลของปริมาณน้ำและปูนซีเมนต์ต่อค่าหน่วยแรงกดทับสูงสูดในอดีตของดินเหนียวผสมซีเมนต์ที่ปริมาณน้ำสูงและการทำนายพฤติกรรมการทรุดตัวโดยแบบจำลองทาง
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปิยะฉัตร ฉัตรตันใจ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: แบบจำลองทางคณิตศาสตร์
เสาเข็มดินซีเมนต์
สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: เสาเข็มดินซีเมนต์เป็นหนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพและใช้กันอย่างกว้างขวางในการปรับปรุงคุณภาพดินเหนียวออ่นเพื่อเพิ่มกำลังแบกทานและลดการทรุดตัว ในกรณีที่พื้นที่ก่อสร้างมีขนาดใหบ่และมีดินเหนียวอ่อนเพื่อเพิ่มกำลังแบกและลดการทรุดตัว ในกรณีที่พื้นที่ก่อสร้างมีขนาดใหญ่และมีแรงกระท สม่ำเสมอ ค่าการทรุดตัวในแนวราบจะน้อยมากเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับค่าการทรุดตัวในแนวดิ่งดังนั้นจึงสามารถประเมินได้ว่าเสาเข็มดินซีเมนต์จะมีพฤติกรรมการทรุดตัวในหนึ่งมิติเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เสาเข็มดินซีเมนต์เกิดการเสียรูปถาวรซึ่งจะเกิดขึ้นในกรณีที่เสาเข็มดินซีเมนต์รับน้ำหนักมากกว่าความเค้นอัดสูงสุดในอดีต ผู้ออกแบบควรจะคำนึงถึงค่าความเค้นอัดสูงสุดในอดีตของดินซีเมนต์นอกเหนือจากค่าความสามารถในการรับแรงอัดและพฤติกรรมความล้าของสัสดุ โครงการนี้จะมุ้งเน้นการศึกษาในด้านการทรุดตัวในหนึ่งมิติและค่าความเค้นอัดสูงสุดในอดีตของดินกรุงเทพผสมซัเมนต์ที่ปริมาณน้ำสูงที่มีความสัมพันธ์กับปริมาณน้ำและซีเมนต์ ตัสอย่าง อัตราส่วนผสมที่แตกต่างกันซึ่งอัตราส่วนของปริมาณซีเมนต์เพื่อคำนวณหาค่าความคเน้อัดสูงสุดในอดีตของดินเหนียวอ่อกรุงเทพผสมซีเมนต์ที่มีความแม่นยำจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อทำนายพฤติกรรมการทรุดตัวในหนึ่งมิติอีกด้วย
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1789
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น