กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1772
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาผลกระทบของสารไดออกซินในสิ่งแวดล้อมที่มีต่อสุขภาพของประชาชนที่อยู่บริเวณรอบ ๆ วัด ในเขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด จังหวัดระยอง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The health inpact of dioxin in the environment of villagers who lives near temple area in Mabtapud municipality, Rayong province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | จิตรพรรณ ภูษาภักดีภพ ชมภูศักดิ์ พูลเกษ สิริประภา กลั่นกลิ่น เอมอร ประจวบมอญ ดวงใจ มาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มาบตาพุด สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ สารไดอออกซิน สิ่งแวดล้อม |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
สำนักพิมพ์: | คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของสารไดออกซินในสิ่งแวดล้อมที่มีต่อสุขภาพของประชาชนที่อยู่บริเวณรอบ ๆ วัด ในเขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด จังหวัดระยอง กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณรอบ ๆ วัดในเขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด 4 แห่ง 4 ชุมชน จำนวน 316 คน คณะผู้วิจัยได้ทำการเก็บตัวอย่างอากาศจากเตาเผาศพของวัดในชุมชนทั้ง 4 แห่ง ในการเก็บตัวอย่างและวิเคราะห์ปริมาณสารไดออกซินใช้มาตรฐานแนะนำจากประเทศเยอรมัน คือ USEPA Method#23 และ DIN 1948 และทำการเก็บข้อมูลด้านการเจ็บป่วยและพฤติกรรมการบริโภคอาหารด้วยแบบสัมภาษณ์ ซึ่งมีการตรวจสอบความตรงในเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ทดสอบความเที่ยงโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยง 0.64 วิเคราะห์ข้อมูล โดยการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่บงเบนมาตรฐาน และค่า Chi-square test ผลการวิจัยพบว่า ปริมาณสารไดออกซินในอากาศจากเตาเผาศพของวัดในชุมชนที่ 1, 2, 3 และ 4 เท่ากับ 5.96, 25.44, 21.11 และ 0.88 ng TEQ/nM3 ที่ O2 7% ตามลำดับ ซึ่งเกินมาตรฐานตามประกาศของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีค่ากำหนดไว้ที่ .05 ng TEQ/ Nm3 กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารในระดับสูง 85.7% พฤติกรรมการบริโภคอาหารดกี่ยวกับล้างมือก่อนรับประทานอาหารเป้นบางครั้ง 47.8% การซื้อผักปลอดสารพิษมาบริโภคเป็นบางครั้ง 71.7% การล้างผักผลไม้ที่นำมาบริโภคทุกครั้ง 68.4% ความถี่ในการบริโภคอาหารสูงในประเภทเนื้อหมู 85.0% ไข่แดง 68.8% อาหารทะเล 49.0% นม 61.8% อาหารผัด/ทอด 51.6% เนย 13.7% กลุ่มตัวอย่างมีอาการเจ็บป่วยเกี่ยวกับระบบผิวหนัง ได้แก่ อาการคันตามร่างกาย 32.2% มีผื่นแดงตามร่างกาย 23.9% ระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ อาการระคายเคืองคอ/ แสบจมูก 25.2% แสบคอ 23.6% คัดจมูก 3% มีน้ำมูก 33.8% ไอ 26.4% หวัด 23.2% ระบบหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ อาการเหนื่อยง่าย 29.3% ระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ อาการปวดท้อง 26.1% ท้องอืด 23.2% ระบบประสาท ได้แก่ ปวดศรีษะ 47.1% เวียนศรีษะ 45.9% อาการทางตา ได้แก่ แสบคันตา 31.5% มองเห็นไม่ค่อยชัด 32.2% ลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ สถานที่ทำงาน การใช้น้ำอุปโภค/บริโภค และพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ได้แก่การล้างมือก่อนรับประทานอาหาร ความถี่ในการบริโภคอาหาร เนื้อหมู ไข่อดง อาหารทะเล นม อาหารผัด/ทอด เนย มีความสัมพันธ์กับอาการเจ็บป่วยเกี่ยวกับระบบผิวหนัง ทางเดินหายใจ หัวใจและหลอดเลือด ทางเดินอาหาร ประสาท และอาการทางตาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <.05) ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าผลกระทบของไดออกซินในสิ่งแวดล้อมที่มีต่อสุขภาพของประชาชนยังไม่ชัดเจน อย่างไรก็ตามภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้คำปรึกษาและการสนับสนุนแก่วัดและสาธารณชน ในการป้องกันและควบคุมอันตรายจากสารไดออกซินซึ่งเป็นมลพิษทางอาการจากเตาเผาศพ The research aimed to determine the impact of environmental dioxin on the health of people who live near temple area in Mabtapud municipality of Rayong province. The sample in this study were taken from four communities near a temple area, with a total of 316 cases selectedby using systemic random sampling. The researchers performed air sampling in the four communities. The air samples were collected and analyzed for dioxin concentration according to German standards; the US EPA method#23 and DIN 1948. Illness records and food consumption data were collected Through face-to-face interviews. Content validity was verified by 3 experts. Reliability was tested using Cronbach’s Alpha coefficient, yielding a value of 0.64. Data were Analyzed by using frequency, distribution, mean scores, standard deviation and the Chi-squares test. The Findings showed that the concentrations of dioxins in air taken from the vicinity of crematoriums in community no. 1, 2, 3 and 4 were 5.96, 25.44, 21.11 and 0.88 ng TEQ/nm3 at o2 7% respectively, which are higher than the standard level issued by the Ministry of Natural resources and environment, Thailand (0.5 ngTEQ/ Nm3). The food consumption knowledge of subjects was high (85.7%). The percentage of subjects who sometimes washed their hands before Eating and bough vegetable believed to be free from hazardons substances was 47.8% and 71.7%, Respectively. Around sixty eight percent of subjects always washed vegetable and fruit before eating. The frequency of consumption of pork, egg yolk, seafood, milk, stir-fried/ deep-friedfood and cheese/butter was 85.0%, 68.8%, 49.0%, 61.8%, 61.8%, 51.6% and 13.7%, respectively. 39.2% and 23.9% of participants respectively, reported skin itchiness and rashes. Accounts of Respiratory illness include a nose burning sensation, sore throat, sniffles, stuffed nose, coughing and common cold, which were reported by 25.2%, 23.6%, 33.8%, 3%, 26.4%, and 23.3% of subjects, respectively. For circulatory illness, 29.3% of subjects said that they felttired. Digestive illness, 26.1% and 23.3% reported abdominal pain and flatulence. For nervour illness, 47.1% of subjects suffered from headache and 45.9% had episode of vertigo. Eye burning sensations/ irritation and poor vision were reported 31.5% and 32.2% of subjects, respectively, Sex, ages, education, occupation, location of work places, source of household water, food consumption behavior such as hand washing before eating and frequency of dietary intake (pork, yolk, seafood, milk, fried food, cheese/ butter) were significantly related to skin, respiratory, circulatory, digestive, nervous and eyes illness (p-value < .05 In conclusion, our study revealed that the impact of environmental dioxin on the health of people was not clear. However, the government and related organizations should tale action by consulting and supporting the temple and the public in order to prevent and control dioxin release from crematoriums. |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1772 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น